รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศพม่า
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศพม่าทั้งสิ้น 2 แหล่ง[1]
ที่ตั้ง[แก้]
สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก[แก้]
- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
กลุ่มเมืองโบราณ อาณาจักรปยู |
![]() |
ภาคมัณฑะเลย์ มะกเว และพะโค ![]() 22°28′12″N 95°49′7″E / 22.47000°N 95.81861°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii), (iv) |
5,809; พื้นที่กันชน 6,790 | 2557/2014 | 1444[2] | |
พุกาม | ![]() |
ภาคมัณฑะเลย์ ![]() 21°8′56″N 94°53′4″E / 21.14889°N 94.88444°E |
วัฒนธรรม: (iii), (iv), (vi) |
5,005.49; พื้นที่กันชน 18,146.83 | 2562/2019 | 1588[3] |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น[แก้]
ปัจจุบัน ประเทศพม่ามีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 15 แห่ง ดังนี้[1]
- ปี พ.ศ./ค.ศ. ในวงเล็บ หมายถึงปีที่สถานที่นั้น ๆ ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
- อารามไม้สมัยโก้นบอง: Ohn Don, Sala, ปะค่านจี้, ปะค่านแง, Legaing, Sagu, ชเวจ้อง (มัณฑะเลย์) (2539/1996)
- ถ้ำบะดะลี่นและถ้ำที่เกี่ยวข้อง (2539/1996)
- นครโบราณแห่งพม่าตอนบน : อังวะ, อมรปุระ, ซะไกง์, มี่นกู้น, มัณฑะเลย์ (2539/1996)
- พื้นที่โบราณคดีและโบราณสถานมเยาะอู้ (2539/1996)
- ทะเลสาบอี้นเล่ (2539/1996)
- นครมอญ : พะโค, หงสาวดี (2539/1996)
- ฉนวนแม่น้ำอิรวดี (2557/2014)
- ภูมิทัศน์คากาโบราซี (2557/2014)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทะเลสาบอี้นดอจี้ (2557/2014)
- อุทยานแห่งชาตินะมะดอง (2557/2014)
- กลุ่มเกาะมะริด (2557/2014)
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหุบเขาฮูก้อง (2557/2014)
- ฉนวนป่าตะนาวศรี (2557/2014)
- แหล่งบรรพชีวินวิทยาไพรเมตแอนโทรพอยด์แห่งโปนดอง (2561/2018)
- เจดีย์ชเวดากองบนเนินเขาสิงคุตระ (2561/2018)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Myanmar". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2019.
- ↑ "Pyu Ancient Cities". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2014.
- ↑ "Bagan". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2019.