ข้ามไปเนื้อหา

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี

พิกัด: 13°17′31.2″N 99°18′39.4″E / 13.292000°N 99.310944°E / 13.292000; 99.310944
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
ไอยูซีเอ็นกลุ่ม 4 (เขตบริหารสิ่งแวดล้อม)
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
แผนที่แสดงที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี
ที่ตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
แม่น้ำภาชีในประเทศไทย
ที่ตั้งอำเภอบ้านคาและอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี  ไทย
พิกัด13°17′31.2″N 99°18′39.4″E / 13.292000°N 99.310944°E / 13.292000; 99.310944
พื้นที่502.55 ตารางกิโลเมตร (314,092.96 ไร่)[1]
จัดตั้ง2 สิงหาคม 2521[2]
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าแก่งกระจาน
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณา(x)
อ้างอิง1461
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2564 (คณะกรรมการสมัยที่ 44)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี มีเนื้อที่ทั้งหมด 489.31 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 305,820 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านบึง ตำบลบ้านคา อำเภอบ้านคา และตำบลท่าเคย ตำบลสวนผึ้ง ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มป่าแก่งกระจานซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกจากยูเนสโกเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 อีกด้วย

สภาพภูมิประเทศ

[แก้]

ภูมิประเทศประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อนมียอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาพุน้ำร้อน สูงประมาณ 1,062 เมตร รองลงมาคือยอดเขาใหญ่ สูงประมาณ 1,055 เมตร เขาจมูก สูงประมาณ 955 เมตร มีพื้นที่ราบน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแคบ ๆ ตามลำห้วยใหญ่เป็นพื้นที่ป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ และให้คุณค่าทางระบบนิเวศ เป็นแหล่งกำเนิดแม่น้ำภาชี มีห้วยต้องกินเจ้า ห้วยพุระกำ และห้วยจะเอว แม่น้ำภาชีทางด้านตะวันออกของพื้นที่ยังเป็นแหล่งกำเนิดห้วยน้ำพุร้อน ห้วยสวนพลู ห้วยจารุณีย์ ห้วยลำบัวทอง ห้วยน้ำใส ไหลลงห้วยท่าเคย ในท้องที่ตำบลบ้านบึง ตำบลบ้านคา ตำบลท่าเคย ไหลลงรวมแม่น้ำภาชีที่ตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง แล้วไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย ที่อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี รวมเป็นแม่น้ำแม่กลอง แล้วไหลย้อนมาผ่านตัวเมืองจังหวัดราชบุรีและจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ

ทรัพยากรป่าไม้

[แก้]

ทรัพยากรสัตว์ป่า

[แก้]

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีทั้งสิ้น 21 วงศ์ 43 ชนิด เป็นสัตว์บกทั้งหมด ส่วนมากเป็นชนิดที่มีขนาดเล็ก และรองลงมาเป็นขนาดตัวปานกลาง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพวกค้างคาวมีจำนวนทั้งสิ้น 9 ชนิด รองลงมาคือกลุ่มแมวป่า และเสือ จำนวน 7 ชนิด เช่น สมเสร็จ เสือโคร่ง เสือดาว เก้งหม้อ กระทิง วัวแดง เลียงผา แมวลายหินอ่อน แมวป่า นกเงือก

อ้างอิง

[แก้]
  1. ส่วนภูมิสารสนเทศ. สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "รายงานสรุปพื้นที่ป่าอนุรักษ์ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พื้นที่รวม 72.046 ล้านไร่ (คำนวณในระบบ GIS)." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www2.dnp.go.th/gis/รูปอัพเว็บ/สรุปพื้นที่ป่า.pdf 2557. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2564.
  2. "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าแม่น้ำภาชี ในท้องที่ตำบลสวนผึ้ง ตำบลป่าหวาย และตำบลบ้านบึง กิ่งอำเภอสวนผึ้ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๒๑" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (76): 448–450. 1 สิงหาคม 2521.