ข้ามไปเนื้อหา

รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศมองโกเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตำแหน่งของแหล่งมรดกโลกในประเทศมองโกเลียที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโก จุดสีแดงแสดงมรดกทางวัฒนธรรม จุดสีเขียวแสดงมรดกทางธรรมชาติ จุดสีส้มแสดงหินกวาง

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศมองโกเลียทั้งสิ้น 6 แหล่ง[1]

ประเทศมองโกเลียมีสถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 11 แห่ง[1]

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก

[แก้]

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมหุบเขาออร์ค็อง 47°28′41.2″N 102°40′47.0″E / 47.478111°N 102.679722°E / 47.478111; 102.679722 (Orkhon Valley Cultural Landscape) วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (iv)
121,967;
พื้นที่กันชน 61,044
2547/2004 ตั้งแต่คริสต์สหัสวรรษที่ 1 หุบเขาออร์ค็องได้ดึงดูดชนเผ่ามากมายเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ตั้งแต่ชนเผ่าร่อนเร่ที่มีสังคมปศุสัตว์ ชาวฮั่น ชาวเติร์ก ชาวอุยกูร์ ชาวคีตัน และชาวมองโกล จึงพบหลักฐานทางโบราณคดีของแต่ละชนเผ่าที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ได้แก่ จารึกอักษรเติร์กโบราณในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซากเมืองโบราณของชาวอุยกูร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และเมืองคาราคอรม เมืองหลวงจักรวรรดิมองโกลในคริสต์ศตวรรษที่ 13 1081[2]
กลุ่มภาพบนแผ่นหินแห่งเทือกเขาอัลไตในมองโกเลีย 49°20′00.5″N 88°23′42.5″E / 49.333472°N 88.395139°E / 49.333472; 88.395139 (Petroglyphic Complexes of the Mongolian Altai) วัฒนธรรม:
(iii)
11,300;
พื้นที่กันชน 10,700
2554/2011 ภายในอุทยานแห่งชาติอัลไตตาวอนบ็อกด์ มีการค้นพบภาพแกะสลักหินสามแห่งที่สื่อถึงวิถีชีวิตของผู้คนตั้งแต่การล่าสัตว์ การต้อนสัตว์ และการขี่ม้าเร่ร่อนในหุบเขาที่มีอายุระหว่าง 11,000-6,000 ปีก่อนคริสตกาล สะท้อนถึงวัฒนธรรมผู้คนมองโกเลียตั้งแต่ตอนปลายของยุคไพลสโตซีนจนถึงยุคสมัยประวัติศาสตร์ 1382[3]
ภูเขาใหญ่บูร์คันคัลดุนและภูมิทัศน์ศักดิ์สิทธิ์โดยรอบ 48°45′44.4″N 109°00′37.2″E / 48.762333°N 109.010333°E / 48.762333; 109.010333 (Great Burkhan Khaldun Mountain and its surrounding sacred landscape) วัฒนธรรม:
(iv), (vi)
443,739.2;
พื้นที่กันชน 271,651.17
2558/2015 บูร์คันคัลดุนมีความหมายว่า “ภูเขาของพระเจ้า“ ในภาษามองโกเลีย ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มีความเชื่อว่าเจงกีส ข่าน ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิมองโกลในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้กำเนิดและถูกฝังพระบรมศพไว้ที่นี่ จึงมีการเคารพบูชาภูเขาแห่งนี้ตามความเชื่อโบราณที่สืบทอดมายาวนานกว่า 800 ปี ผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาที่เข้ามามีบทบาทในคริสต์ศตวรรษที่ 15 1440[4]
โบราณสถานหินกวางและแหล่งยุคสำริดที่เกี่ยวข้อง 48°10′18.0″N 101°05′34.8″E / 48.171667°N 101.093000°E / 48.171667; 101.093000 (Deer Stone Monuments and Related Bronze Age Sites) วัฒนธรรม:
(i), (iii)
9,768.03 2566/2023 บริเวณภาคเหนือของมองโกเลียมีการขุดค้นพบกลุ่มหินกวางที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอาจเป็นแผ่นป้ายหลุมศพ โดยกลุ่มหินเหล่านี้มีอายุอยู่ในช่วง 1,200-700 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งอยู่ในช่วงยุคสำริด ตัวหินนอกจากมีการแกะสลักเป็นรูปกวางอันเป็นที่มาของชื่อแล้ว ยังประกอบไปด้วยรูปแกะสลักสัตว์ท้องถิ่น รถม้าศึก อาวุธ เครื่องมือ รวมใปถึงใบหน้ามนุษย์อีกด้วย 1621[5]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

[แก้]
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
(เฮกตาร์)
ปีขึ้นทะเบียน
(พ.ศ./ค.ศ.)
หมายเหตุ อ้างอิง
แอ่งน้ำอุฟส์นูร์
(ร่วมกับรัสเซีย)
50°23′23.3″N 92°51′36.5″E / 50.389806°N 92.860139°E / 50.389806; 92.860139 (Uvs Nuur Basin) ธรรมชาติ:
(ix), (x)
898,063.5;
พื้นที่กันชน 170,790
2546/2003 พื้นที่แอ่งน้ำอุฟส์นูร์ถือได้ว่าเป็นแอ่งที่อุดมไปด้วยความสมบูรณ์ของธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลสาบอุฟส์และดินดอนปากแม่น้ำเทสซึ่งตั้งอยู่ระหว่างประเทศมองโกเลียและประเทศรัสเซีย จึงเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่หาได้ยากในยูเรเซีย เช่น เสือดาวหิมะ หนูเจอร์บิลมองโกเลีย แกะภูเขา แพะภูเขาไซบีเรีย เป็นต้น 769[6]
ภูมิทัศน์แห่งดาอูเรีย
(ร่วมกับรัสเซีย)
49°53′57.3″N 115°27′19.3″E / 49.899250°N 115.455361°E / 49.899250; 115.455361 (Landscapes of Dauria) ธรรมชาติ:
(ix), (x)
912,624;
พื้นที่กันชน 307,317
2560/2017 เขตพื้นที่ธรรมชาติประกอบไปด้วยผืนป่าผลัดใบ เขตทุ่งไม้พุ่ม ทุ่งหญ้า และพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณทะเลสาบทอเรย์ ประกอบด้วย 1) เขตอนุรักษ์ธรรมชาติดาอูสกีย์ อันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดและภูมิทัศน์หุบผาใหญ่ของรัสเซีย และ 2) เขตสงวนชีวมณฑลมองโกลแดกืร์ อันเป็นแหล่งขยายพันธุ์ของนกกระเรียนคอขาวที่สำคัญในมองโกเลีย 1448[7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in Mongolia". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2023.
  2. "Orkhon Valley Cultural Landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  3. "Petroglyphic Complexes of the Mongolian Altai". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  4. "Great Burkhan Khaldun Mountain and its surrounding sacred landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  5. "Deer Stone Monuments and Related Bronze Age Sites". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2023.
  6. "Uvs Nuur Basin". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2015.
  7. "Landscapes of Dauria". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2017.