อุทยานแห่งชาติปางสีดา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติปางสีดา
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติปางสีดา
แผนที่แสดงที่ตั้งอุทยานแห่งชาติปางสีดา
ที่ตั้งในประเทศไทย
ที่ตั้งอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี อำเภอเมืองสระแก้ว และอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
พิกัด14°05′N 102°16′E / 14.08°N 102.26°E / 14.08; 102.26พิกัดภูมิศาสตร์: 14°05′N 102°16′E / 14.08°N 102.26°E / 14.08; 102.26
พื้นที่844 ตารางกิโลเมตร (528,000 ไร่)
จัดตั้ง22 กุมภาพันธ์ 2525
ผู้เยี่ยมชม58,382 (2562)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ประเภทมรดกทางธรรมชาติ
เกณฑ์ธรรมชาติ: (x)
ขึ้นเมื่อพ.ศ. 2548 (คณะกรรมการสมัยที่ 29)
เลขอ้างอิง590
ภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
ฝูงผีเสื้อในเขตอุทยานแห่งชาติปางสีดา

อุทยานแห่งชาติปางสีดา ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 41 ของประเทศไทย[1] ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอวัฒนานคร อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี รวมครอบคลุมเนื้อที่ 529,375.81 ไร่ หรือประมาณ 847 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเป็นที่ศึกษาเรื่องสัตว์ป่าที่สำคัญ เพราะมีสัตว์ป่าหายากและนกกว่า 300 ชนิด เช่น นกเงือก นกยูง ฯลฯ รวมถึงมีแหล่งจระเข้น้ำจืด ซึ่งเชื่อว่าเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ "กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"[2]

ภูมิประเทศ[แก้]

ประมาณร้อยละ 95 ภูมิประเทศส่วนใหญ่ครอบคลุมไปด้วยพื้นที่ป่า เป็นทิวเขาสูงสลับซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาพนมดงรัก โดยมีความลาดชันจากทิศเหนือไปยังทิศใต้ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 50–878 เมตร มียอดเขาใหญ่เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของลำห้วยลำธารหลายสาย

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

สภาพภูมิอากาศแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล

  • ฤดูร้อน เริ่มต้นแต่เดือนกุมภาพันธ์–เมษายน
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม–ตุลาคม
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน–มกราคม

อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 27.5–28.78 องศา

ลักษณะพืชพรรณและสัตว์ป่า[แก้]

ลักษณะป่ามีทั้งลักษณะของป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ ชนิดของพรรณไม้ที่พบอยู่ทั่วไป ได้แก่ พญาไม้ มะขามป้อมดง สนสามพันปี กำลังเสือโคร่ง ยางกล่อง ยางขน ยางเสี้ยน กระบาก ยางปาย เคี่ยมคะนอง เป็นต้น พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะขามป้อม รกฟ้า เป็นต้น

มีสัตว์ป่าหายากรวมทั้งนกไม่ต่ำกว่า 300 ชนิด อาศัยอยู่ ตัวอย่างสัตว์ป่าที่พบ ได้แก่ ช้าง กระทิง วัวแดง เสือโคร่ง เก้ง กวางป่า กระจง ชะนีมงกุฎ นากเล็กเล็บสั้น เม่นแผงคอใหญ่ นกเงือก นกยูง และปลาชนิดต่าง ๆ

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

แหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติปางสีดา เช่น

  • จุดชมทิวทัศน์ กิโลเมตรที่ 25 ทุ่งหญ้าบุตาปอด
  • น้ำตกแควมะค่า
  • น้ำตกแดงมะค่า
  • น้ำตกสวนมั่นสวนทอง
  • น้ำตกถ้ำค้างคาว
  • น้ำตกทับเทวา
  • น้ำตกท่ากะบาก
  • น้ำตกธารพลับพลึง
  • น้ำตกปางสีดา
  • น้ำตกผาตะเคียน
  • น้ำตกหน้าผาใหญ่
  • ภูเขาเจดีย์

อ้างอิง[แก้]

  1. "ข้อมูลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ที่ประกาศในราชกิจจานุบกษา 133 แห่ง" [National Park Area Information published in the 133 Government Gazettes]. Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation (ภาษาThai). December 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-03. สืบค้นเมื่อ 1 November 2022, no 41{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  2. อุทยานแห่งชาติปางสีดา Pang Sida National Park เก็บถาวร 2012-09-04 ที่ archive.today