เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

พิกัด: 17°37′23″N 100°5′45″E / 17.62306°N 100.09583°E / 17.62306; 100.09583
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
แม่น้ำน่าน ในช่วงฤดูน้ำแดงขณะไหลผ่านเมืองอุตรดิตถ์
แม่น้ำน่าน ในช่วงฤดูน้ำแดงขณะไหลผ่านเมืองอุตรดิตถ์
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ตรา
สมญา: 
บางโพ
คำขวัญ: 
โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สงเคราะห์ประชาชน วางตนเหมาะสม
ทม.อุตรดิตถ์ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์
ทม.อุตรดิตถ์
ทม.อุตรดิตถ์
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์
พิกัด: 17°37′23″N 100°5′45″E / 17.62306°N 100.09583°E / 17.62306; 100.09583
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายชูชาติ อ้นทุ่งยั้ง
พื้นที่
 • ทั้งหมด13.49 ตร.กม. (5.21 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด33,357 คน
 • ความหนาแน่น2,472.72 คน/ตร.กม. (6,404.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04530102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 1 ถนนประชานิมิตร ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
โทรศัพท์0 5541 1212
โทรสาร0 5544 4384, 0 5541 2218
เว็บไซต์www.uttaraditcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อุตรดิตถ์ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย เป็นเมืองศูนย์กลางและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งศาลากลางของจังหวัดอุตรดิตถ์ เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 33,357 คน[1]

ประวัติ[แก้]

อุตรดิตถ์ เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นศูนย์กลางการปกครองในจังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมทีเมืองนี้เป็น ชุมทางการค้าที่สำคัญในเขตลุ่มแม่น้ำน่าน ตั้งแต่สมัยโบราณ ที่รู้จักกันในชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" ต่อมาได้มีพัฒนาการความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จนกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าขายที่สำคัญแห่งหนึ่งในแถบภาคเหนือตอนล่าง

เมืองอุตรดิตถ์ เดิมประกาศเป็น "สุขาภิบาลตำบลตลาดท่าอิฐ" เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาลเมืองอุตรดิตถ์ และได้รับการยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่การปกครองในปัจจุบัน 13.49 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์เป็นพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำน่าน มีย่านความเจริญทางเศรษฐกิจของชุมชนอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีสถานีรถไฟผ่านกลางเมืองอุตรดิตถ์

มีพื้นที่ทั้งสิ้น 13.49 ตารางกิโลเมตร (8,431.25 ไร่) โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลคุ้งตะเภาและองค์การบริหารส่วนตำบลป่าเซ่า อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีแม่น้ำน่านเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และเทศบาลตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 37.1
(98.8)
39.2
(102.6)
41.7
(107.1)
43.0
(109.4)
43.3
(109.9)
39.2
(102.6)
40.2
(104.4)
37.9
(100.2)
37.1
(98.8)
36.4
(97.5)
35.9
(96.6)
36.6
(97.9)
43.3
(109.9)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 31.8
(89.2)
34.5
(94.1)
36.8
(98.2)
38.2
(100.8)
35.8
(96.4)
33.6
(92.5)
32.9
(91.2)
32.5
(90.5)
32.7
(90.9)
32.8
(91)
32.1
(89.8)
31.1
(88)
33.73
(92.72)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 23.7
(74.7)
26.1
(79)
28.9
(84)
31.0
(87.8)
29.9
(85.8)
28.7
(83.7)
28.2
(82.8)
27.9
(82.2)
27.9
(82.2)
27.6
(81.7)
25.9
(78.6)
23.6
(74.5)
27.45
(81.41)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 16.3
(61.3)
18.2
(64.8)
21.0
(69.8)
23.7
(74.7)
24.6
(76.3)
24.4
(75.9)
24.1
(75.4)
23.9
(75)
23.7
(74.7)
22.8
(73)
20.2
(68.4)
17.0
(62.6)
21.66
(70.99)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 5.5
(41.9)
10.0
(50)
13.0
(55.4)
18.5
(65.3)
20.8
(69.4)
20.4
(68.7)
20.3
(68.5)
20.6
(69.1)
16.1
(61)
15.8
(60.4)
10.2
(50.4)
7.5
(45.5)
5.5
(41.9)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 8
(0.31)
10
(0.39)
23
(0.91)
72
(2.83)
225
(8.86)
196
(7.72)
194
(7.64)
260
(10.24)
282
(11.1)
134
(5.28)
24
(0.94)
4
(0.16)
1,432
(56.38)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 1 2 5 12 13 14 17 15 9 2 1 92
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[2]
ทัศนียภาพเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จากโรงแรมฟรายเดย์

สัญลักษณ์[แก้]

สัญลักษณ์ประจำเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์เป็นรูปวิมานพระแท่นศิลาอาสน์รองรับโดยช้างเอราวัณ และบนยอดวิมานมีรัศมีที่ปลายยอด

1. วิมาน พระแท่นศิลาอาสน์ สัญลักษณ์ของเมืองอุตรดิตถ์ เป็นสถานที่ที่เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้าเคยสเด็จมาประทับในสมัยพุทธกาล เป็นที่นับถือของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบัน

2. ช้างเอราวัณ พลังแห่งความยั่งยืนสถาพร ซึ่งรองรับการดำรงอยู่ของพระแท่นศิลาอาสน์ เปรียบเสมือนความยั่งยืนของศรัทธาสามัคคี ในการปกปักรักษาไว้ซึ่งสิ่งอันเป็นที่เคารพเทิดทูน

3. รัศมีที่ปลายยอด การมีชื่อเสียงขจรขจายไปทุกทิศทุกทางประกาศเกียรติคุณความดี

เขตการปกครอง[แก้]

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีจำนวนชุมชนทั้งสิ้น 28 ชุมชน แบ่งเขตพื้นที่ชุมชนออกเป็น 3 เขต (โซน)

ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์
ที่ โซนที่ 1 โซนที่ 2 โซนที่ 3
1 ธรรมกิจจาภิบาล หน้าวิทยาลัยครู เจริญธรรม
2 ตลาดท่าเสา คอวัง บ้านเกาะ
3 ท่าอิฐบน เกษมราษฎร์ เจริญบัณฑิต
4 ธรรมาธิปไตย เจริญราษฎร์ ห้วยไผ่
5 ท่าอิฐล่าง ฤดีเปรม พาดวารี
6 ไผ่สีทอง หนองผา พัฒนศึกษา
7 สำราญฤทัย หลัง รพช. สมานมิตร
8 ศิลาอาสน์ตะวันตก ส่วนราชการ เจษฎาบดินทร์
9 ศิลาอาสน์ตะวันออก เกาะกลาง บรมอาสน์
10 หนองบัว

การศึกษา[แก้]

สาธารณสุข[แก้]

ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์มีหน่วยงานบริการด้านสาธารณสุขประกอบด้วย โรงพยาบาลรัฐบาล จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข และคลินิก

การคมนาคม[แก้]

การคมนาคมในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์สามารถเดินทางด้วยทั้งเส้นทางถนน และเส้นทางรถไฟผ่านบริเวณใจกลางตัวเมืองอุตรดิตถ์ ในตัวเมืองเป็นบริเวณที่มีจุดตัดทางหลวงหลายสายที่เชื่อมต่อไปยังอำเภออื่น ๆ และจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 และ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 การขนส่งทางราง มีสถานีรถไฟภายในเขตเทศบาล 2 แห่ง คือ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และ สถานีรถไฟศิลาอาสน์ นอกจากนี้ยังมีการขนส่งทางอากาศของบริษัทสายการบินนกแอร์ วันละ 1 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินพิษณุโลก และเดินทางจากรถตู้มายังเขตเทศบาล

ทางถนน[แก้]

การเดินทางมายังเมืองอุตรดิตถ์โดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถจำแนกได้ดังนี้

สายที่ 1 จากกรุงเทพฯใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์ แล้วเลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เข้าพิษณุโลก แล้วเดินทางตามเส้นทางสายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์) เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงเขตเทศบาล

สายที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1ผ่านสระบุรี แยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 ผ่านลพบุรี เพชรบูรณ์ จนถึงอำเภอหล่มเก่า เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) 8 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงเขตเทศบาล

สายที่ 3 จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1จนถึงกำแพงเพชร เลี้ยวเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ผ่านสุโขทัย จนถึงอำเภอศรีสัชนาลัย แล้วแยกขวาเข้าสู่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 102 เข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ จนถึงเขตเทศบาล

สำหรับการเดินทางในเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์จะใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชนจะมีรถจักรยานยนต์รับจ้าง รถสองแถวรอบเมือง รถตุ๊กตุ๊ก รถสามล้อรับจ้าง มีสถานีขนส่งภายในตัวจังหวัดเชื่อมต่ออำเภอต่าง ๆ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมทั้งมีรถสองแถว และรถประจำทางในการเดินทางไปยังอำเภออื่น ๆ

ถนนในเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

ทางราง[แก้]

สถานีรถไฟศิลาอาสน์

การคมนาคมทางรถไฟ ปัจจุบันมีรถไฟสายกรุงเทพ–เชียงใหม่ รถไฟสายกรุงเทพ-เด่นชัย โดยผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา–ลพบุรี–นครสวรรค์–พิษณุโลก–อุตรดิตถ์ เปิดการเดินรถเร็ว รถด่วน รถด่วนพิเศษ และรถดีเซลรางปรับอากาศ รวมวันละ 18 ขบวนไป–กลับ รถท้องถิ่นนครสวรรค์–เชียงใหม่ วันละ 2 ขบวนไป–กลับ และรถท้องถิ่นพิษณุโลก-ศิลาอาสน์ วันละ 2 ขบวนไปกลับ มีสถานีรถไฟหลักและเป็นสถานีปลายทางในเมืองอุตรดิตถ์ คือ สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และ สถานีรถไฟศิลาอาสน์

ทางอากาศ[แก้]

เดินทางโดยใช้สายการบินนกแอร์ แบบ Fly'n'Ride กรุงเทพ(ดอนเมือง)-อุตรดิตถ์ วันละ 1 เที่ยวบิน จากสนามบินดอนเมืองถึงสนามบินพิษณุโลก และเดินทางโดยรถตู้ถึงจุดรับส่งผู้โดยสารที่จังหวัดอุตรดิตถ์(โชว์รูมโตโยต้าชัวร์อุตรดิตถ์)

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน[แก้]

หลวงพ่อเพชรวัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี

พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5[แก้]

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ ลานอเนกประสงค์ริมน่าน ถนนมุขศาลา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ พระบรมราชานุสาวรีย์ที่ประชาชนชาวอุตรดิตถ์ได้สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงการเสด็จ พระราชดำเนินเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2444 ปัจจุบันลานอเนกประสงค์ได้ใช้ในการจัดกิจกรรม วันปิยมหาราช ประเพณีของจังหวัด และเป็นสถานที่พักผ่อน ออกกำลังกายของประชาชน

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก[แก้]

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก

อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงเกียรติในเรื่องความ องอาจ กล้าหาญ รักชาติ และเสียสละของท่าน และในบริเวณอนุสาวรีย์ยังมี "พิพิธภัณฑ์ดาบเหล็กน้ำพี้ใหญ่ที่สุดในโลก" และ"พิพิธภัณฑ์พระยาพิชัยดาบหัก" อีกด้วย

หอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์[แก้]

เดิมตั้งอยู่ที่หาดท่าอิด เป็นของขุนพิเนตรจีนภักดี นายภาษีอากรอุตรดิตถ์ เกิดต้องตาต้องใจเมื่อไปยังพระที่นั่งวิมานเมฆ พระราชวังดุสิต ซึ่งเห็นว่าพระที่นั่งสวยงามจึงจ้างช่างชาวจีน ออกแบบก่อสร้างและเลียนแบบพระที่นั่งวิมานเมฆสร้างจนแล้วเสร็จ แต่ต่อมาเกิดคดีเก็บส่วยไม่ครบจึงถูกฟ้อง เมื่อแพ้คดีความบ้านหลังนี้จึงถูกยึด พระยาวโรดมภักดีศรีอุตรดิตถ์นคร (อั้น หงสนันท์) เห็นว่าเป็นบ้านที่ทรงคุณค่าจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่ตั้งปัจจุบันใกล้กับบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดให้ชมเฉพาะบางเวลา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "Climate Normals for Uttaradit East". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 2 February 2013.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]