เทศบาลนครนครสวรรค์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เทศบาลนครนครสวรรค์ | |
---|---|
![]() ภาพมุมสูงของเทศบาลนครนครสวรรค์ มองจากเขากบ | |
สมญา: เมืองสี่แคว | |
คำขวัญ: สุขภาพดีถ้วนหน้า การศึกษาได้มาตรฐาน สาธารณูปโภคก้าวไกล ร่วมใจพัฒนา พาเศรษฐกิจรุ่งเรือง | |
พิกัด: 15°42′48″N 100°08′07″E / 15.71333°N 100.13528°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นครสวรรค์ |
อำเภอ | เมืองนครสวรรค์ |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 27.87 ตร.กม. (10.76 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560) | |
• ทั้งหมด | 85,931 คน |
• ความหนาแน่น | 3,083.28 คน/ตร.กม. (7,985.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03600102 |
ทางหลวง | ![]() ![]() |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ 112 ถนนอรรถกวี ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เทศบาลนครนครสวรรค์ เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เดิมเป็นเทศบาลเมืองนครสวรรค์ ต่อมาได้ยกฐานะเป็นเทศบาลนครนครสวรรค์เมื่อปี พ.ศ. 2538 มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลปากน้ำโพทั้งตำบล ตำบลนครสวรรค์ตกเฉพาะหมู่ที่ 1, 4, 5, 9 และ 10 ตำบลนครสวรรค์ออก เฉพาะหมู่ที่ 1, 4, 5, 6 และ 7 ตำบลวัดไทรย์เฉพาะหมู่ที่ 10, 11, 12 และ 13 และตำบลแควใหญ่ เฉพาะหมู่ที่ 4, 7 และ 10 มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 27.78 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของห้างร้านต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งของจังหวัดนครสวรรค์
ประวัติ[แก้]
เทศบาลนครนครสวรรค์เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล โดยพระราชกฤษฎีกายกฐานะเป็นสุขาภิบาล พ.ศ. 2475 เรียกว่า "สุขาภิบาลเมืองนครสวรรค์" ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ปกครองประมาณ 1.47 ตารางกิโลเมตร และได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตปกครอง 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ขยายพื้นที่เป็น 8.85 ตารางกิโลเมตร ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2522 มีพื้นที่ปกครองประมาณ 27.87 ตารางกิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2538 ก็ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานขึ้นเป็น เทศบาลนครนครสวรรค์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา
อาคารสำนักงานเทศบาลนครนครสวรรค์ อาคารปัจจุบันเริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2536 บนเนื้อที่เดิมบริเวณถนนอรรถกวี เชิงเขากบ โดยรื้ออาคารหลังเดิมออก กำหนดการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2542 เพื่อเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยได้รับพระราชทานนามอาคารว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา" ในการนี้เทศบาลนครนครสวรรค์ ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงเปิดอาคาร เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
เศรษฐกิจ[แก้]
ในเขตเทศบาลบริเวณใจกลางเมืองส่วนใหญ่จะเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมและธุรกิจต่างๆ และพื้นที่ที่อยู่ต่อเนื่องจะเป็นบริเวณที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยเดิมโดยมีลักษณะทางด้านเศรษฐกิจ ดังนี้
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนรัฐบาล
- โรงเรียนอนุบาลนครสวรรค์

- โรงเรียนมัธยม สพฐ.
- โรงเรียนนครสวรรค์
- โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม
- โรงเรียนพระบางวิทยา
- โรงเรียนสตรีนครสวรรค์
- โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์
- โรงเรียนเอกชน
- ระดับอุดมศึกษา
การขนส่ง[แก้]
รถไฟ[แก้]
การรถไฟแห่งประเทศไทย – สายเหนือ
- สายหลัก: สถานีรถไฟนครสวรรค์ – สถานีรถไฟปากน้ำโพ – สถานีรถไฟบึงบอระเพ็ด
- สายแยกจากสถานีรถไฟปากน้ำโพไปท่าข้าวกำนันทรง (ยกเลิกการใช้งาน)
ทางหลวง[แก้]
สถานที่สำคัญ[แก้]
- บึงบอระเพ็ด
- วัดจอมคีรีนาคพรต
- อุทยานสวรรค์
- ศาลเจ้าพ่อเทพารักษ์-เจ้าแม่ทับทิม
- วัดวรนาถบรรพต
- วัดนครสวรรค์
- หอวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์
- วัดคีรีวงศ์
- หอชมเมืองนครสวรรค์
- ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา (ปากน้ำโพ)
- พาสาน (อาคารสัญลักษณ์ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา)
ปากน้ำโพ[แก้]
บ้างเล่าว่าที่เรียกว่า ปากน้ำโพ ก็คือว่าเป็นบริเวณที่แม่น้ำปิง และน่านมาบรรจบกัน จึงเรียกว่า "ปากน้ำโผล่" และเพี้ยนมาเป็น "ปากน้ำโพ" แต่ในปัจจุบันนักโบราณคดีระบุว่า พื้นที่บริเวณนี้เป็นปากน้ำของคลองโพ (คือส่วนหนึ่งของแม่น้ำน่านในปัจจุบัน โดยบรรจบกับแม่น้ำน่านก่อนแล้ว จึงไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิงที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา) และชาวจีนพูดคำว่า "ปากน้ำโผล่" ได้ไม่ชัดเจน จึงเรียกว่า ปากน้ำโพ ดังเช่น ปากยม ปากชม ปากลัด และปากน้ำอื่น ๆ