ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม

พิกัด: 13°24′34″N 100°00′06″E / 13.40944°N 100.00167°E / 13.40944; 100.00167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
ตลาดร่มหุบริมทางรถไฟสายแม่กลอง
ตลาดร่มหุบริมทางรถไฟสายแม่กลอง
ทม.สมุทรสงครามตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม
ทม.สมุทรสงคราม
ทม.สมุทรสงคราม
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม
ทม.สมุทรสงครามตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทม.สมุทรสงคราม
ทม.สมุทรสงคราม
ทม.สมุทรสงคราม (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°24′34″N 100°00′06″E / 13.40944°N 100.00167°E / 13.40944; 100.00167
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสงคราม
อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมชาย ตันประเสริฐ
พื้นที่
 • ทั้งหมด8 ตร.กม. (3 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด28,088 คน
 • ความหนาแน่น3,511 คน/ตร.กม. (9,090 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04750102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 541/1 ถนนสมุทรสงคราม-บางแพ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
เว็บไซต์www.smsk-city.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลแม่กลองทั้งตำบล

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เมืองสมุทรสงครามอยู่ในพื้นที่ของตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่บริเวณใกล้กับปากแม่น้ำแม่กลองที่ไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย เป็นเมืองหนึ่งในภาคกลางตอนล่างที่เป็นเส้นทางผ่านในการลงสู่ภาคใต้ โดยอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทางประมาณ 63 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนธนบุรี–ปากท่อ หรือถนนพระราม 2 มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลท้ายหาด ตำบลบ้านปรก และตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลบางแก้ว และตำบลบางจะเกร็ง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลบางจะเกร็ง และตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแหลมใหญ่ และตำบลท้ายหาด อำเภอเมืองสมุทรสงคราม

ประวัติ

[แก้]

เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2479 เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พุทธศักราช 2479[2] โดยมีพื้นที่เริ่มการจัดตั้งประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาลใหม่ โดยพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. 2508 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน 2508[3] ทำให้มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 8 ตารางกิโลเมตร จนกระทั่งปัจจุบัน

ชุมชน

[แก้]

ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงครามมีทั้งหมด 14 ชุมชน ดังต่อไปนี้

  • ชุมชนซอยชุมสายโทรศัพท์
  • ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน
  • ชุมชนตลาด
  • ชุมชนบางจะเกร็ง 1
  • ชุมชนบางจะเกร็ง 2
  • ชุมชนบางจะเกร็ง 3,4
  • ชุมชนวัดป้อมแก้ว
  • ชุมชนวัดธรรมนิมิต
  • ชุมชนวัดประทุมคณาวาส
  • ชุมชนวัดเพชรสมุทรวรวิหาร
  • ชุมชนวัดใหญ่
  • ชุมชนสะพาน 4 – วัดพวงมาลัย
  • ชุมชนแหลมใหญ่
  • ชุมชนเอกชัย

การศึกษา

[แก้]

สาธารณสุข

[แก้]

เทศบาลเมืองสมุทรสงครามมีสถานบริการด้านสาธารณสุข 1 แห่ง นอกเหนือจากศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาลแล้ว ในเขตเทศบาลยังมีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนที่ให้บริการทางด้านสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า และโรงพยาบาลแม่กลอง 2

ศาสนสถาน

[แก้]

วัดในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม มีทั้งหมด 6 วัดคือ

  • วัดใหญ่
  • วัดเพชรสมุทรวรวิหาร
  • วัดป้อมแก้ว
  • วัดธรรมนิมิต
  • วัดประทุมคณาวาส
  • วัดพวงมาลัย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พุทธศักราช ๒๔๗๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53: 837–841. 29 พฤศจิกายน 2479.
  3. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82: 1054–1060. 9 พฤศจิกายน 2508.