ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองบึงกาฬ

พิกัด: 18°22′01.2″N 103°39′18.7″E / 18.367000°N 103.655194°E / 18.367000; 103.655194
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองบึงกาฬ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ขาเข้าเมืองบึงกาฬ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ขาเข้าเมืองบึงกาฬ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองบึงกาฬ
ตรา
ทม.บึงกาฬตั้งอยู่ในจังหวัดบึงกาฬ
ทม.บึงกาฬ
ทม.บึงกาฬ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองบึงกาฬ
พิกัด: 18°22′01.2″N 103°39′18.7″E / 18.367000°N 103.655194°E / 18.367000; 103.655194
ประเทศ ไทย
จังหวัดบึงกาฬ
อำเภอเมืองบึงกาฬ
จัดตั้ง
  • 24 กันยายน 2499 (สุขาภิบาลบึงกาฬ)
  • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.บึงกาฬ)
  • 5 สิงหาคม 2563 (ทม.บึงกาฬ)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีราชันย์ วะนาพรม
พื้นที่
 • ทั้งหมด95.19 ตร.กม. (36.75 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด20,062 คน
 • ความหนาแน่น210.76 คน/ตร.กม. (545.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04380104
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 249 หมู่ที่ 1 ถนนชาญสินธุ์ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ 38000
เว็บไซต์www.buengkhanml.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองบึงกาฬ เป็นเทศบาลเมืองในอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เป็นศูนย์กลางความเจริญและเป็นศูนย์รวมสถานที่ราชการต่าง ๆ ของจังหวัด มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลเมืองบึงกาฬเดิมมีฐานะเป็น สุขาภิบาลบึงกาฬ[2] ได้รับการจัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2499 ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย ในปี พ.ศ. 2531 ทางราชการได้แยกท้องที่ตำบลบึงกาฬจัดตั้งเป็นตำบลวิศิษฐ์[3] ทำให้พื้นที่สุขาภิบาลบึงกาฬครอบคลุมถึงบางส่วนของตำบลวิศิษฐ์ด้วย

ต่อมาสุขาภิบาลบึงกาฬได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เทศบาลตำบลบึงกาฬ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม ปีเดียวกัน[4]

ในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยแยกท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย[5] และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬให้เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ ทำให้เทศบาลตำบลบึงกาฬย้ายมาอยู่ในเขตจังหวัดบึงกาฬ

ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศยุบเลิกเทศบาลตำบลวิศิษฐ์และองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ รวมเข้ากับเทศบาลตำบลบึงกาฬ และเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลบึงกาฬเป็น เทศบาลเมืองบึงกาฬ[6] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม ปีเดียวกัน มีพื้นที่ทั้งหมด 95.19 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่ของเทศบาลตำบลวิศิษฐ์เดิม 68.33 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬเดิม 25.68 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ของเทศบาลตำบลบึงกาฬเดิม 1.18 ตารางกิโลเมตร เป็นเทศบาลเมืองที่มีพื้นที่มากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในขณะนี้

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

ปัจจุบันเทศบาลเมืองบึงกาฬมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงตรงกันข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว เขตเทศบาลเป็นพื้นที่ราบ มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศลาว
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลตำบลโคกก่อง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์และเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโป่งเปือยและเขตเทศบาลตำบลไคสี

การปกครอง

[แก้]

เทศบาลเมืองบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกาฬและตำบลวิศิษฐ์ทั้งตำบล แบ่งออกเป็น 3 เขต 24 หมู่บ้าน ได้แก่

ชุมชนเทศบาลเมืองบึงกาฬ
เขต 1 เขต 2 เขต 3
หมู่ที่ 1 บ้านบึงกาฬกลาง ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 3 บ้านบึงกาฬใต้ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 10 บ้านแสนสำราญ ตำบลบึงกาฬ
หมู่ที่ 2 บ้านศรีโสภณ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 4 บ้านนาโนน ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 3 บ้านหนองแวง ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 1 บ้านบึงกาฬเหนือ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 5 บ้านท่าไคร้ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 4 บ้านนาป่าน ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 2 บ้านพันลำ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 6 บ้านท่าโพธิ์ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 5 บ้านหนองนาแซง ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 7 บ้านวิศิษฐ์ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 7 บ้านดงหมากยาง ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 6 บ้านเหล่าถาวร ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 9 บ้านนาเหนือ ตำบลวิศิษฐ์ หมู่ที่ 8 บ้านบึงสวรรค์ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 8 บ้านห้วยดอกไม้ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 9 บ้านแสนประเสริฐ ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 10 บ้านแสนเจริญ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 11 บ้านแสนสุข ตำบลบึงกาฬ หมู่ที่ 11 บ้านดอนเจริญ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 12 บ้านนาสุขสันต์ ตำบลวิศิษฐ์
หมู่ที่ 13 บ้านจักรทิพย์ ตำบลวิศิษฐ์

การคมนาคม

[แก้]

ในเขตเทศบาลเมืองบึงกาฬมีทางสายบึงกาฬ–กรุงเทพฯ, สายบึงกาฬ–หนองคาย, สายบึงกาฬ–พังโคน–อุดรธานี และสายบึงกาฬ–นครพนม

หมายเหตุและอ้างอิง

[แก้]
  1. รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบึงกาฬ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลบึงกาฬ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 51–52. 15 ตุลาคม 2499. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-27. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (171 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–8. 21 ตุลาคม 2531.
  4. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  5. "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1–5. 22 มีนาคม 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบเลิกเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ รวมองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬกับเทศบาลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และเปลี่ยนแปลงเขตและฐานะเป็นเทศบาลเมืองบึงกาฬ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (พิเศษ 179 ง): 3–4. 5 สิงหาคม 2563. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 2020-08-06.