ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครพิษณุโลก

พิกัด: 16°48′57″N 100°15′49″E / 16.81583°N 100.26361°E / 16.81583; 100.26361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิษณุโลก
เทศบาลนครพิษณุโลก
ถนนสิงหวัฒน์บริเวณสะพานนเรศวร
ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์
หอนาฬิกาเมืองพิษณุโลก
ตราราชการของพิษณุโลก
ตราอาร์ม
ที่มาของชื่อ: พระวิษณุ
สมญา: 
เมืองสองแคว[1]
แผนที่
พิษณุโลกตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก
พิษณุโลก
พิษณุโลก
พิษณุโลกตั้งอยู่ในประเทศไทย
พิษณุโลก
พิษณุโลก
พิกัด: 16°48′57″N 100°15′49″E / 16.81583°N 100.26361°E / 16.81583; 100.26361
ประเทศ ไทย
จังหวัด พิษณุโลก
อำเภอเมืองพิษณุโลก
ก่อตั้งประมาณพุทธศตวรรษที่ 15
สุขาภิบาลพ.ศ. 2458
ยกฐานะ10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 (เทศบาลเมือง)
9 มีนาคม พ.ศ. 2542 (เทศบาลนคร)
ชุมชน4 เขต และ 65 ชุมชน
การปกครอง
 • ประเภทเทศบาลนคร
 • นายกเทศมนตรีเปรมฤดี ชามพูนท
 • ปลัดเทศบาลนครไทย ยวนแห่ว
พื้นที่[2]
 • เทศบาลนคร18.26 ตร.กม. (7.05 ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[3]157.22 ตร.กม. (60.70 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[4]
 • เทศบาลนคร61,643 คน
 • อันดับอันดับที่ 19
 • ความหนาแน่น3,375.85 คน/ตร.กม. (8,743.4 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง[3]139,566 คน
 • ความหนาแน่นเขตเมือง887.71 คน/ตร.กม. (2,299.2 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+7 (ICT)
รหัสไปรษณีย์65000
รหัสพื้นที่055
เว็บไซต์www.phsmun.go.th

พิษณุโลก เป็นเมืองขนาดใหญ่และเมืองศูนย์กลางด้านการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมของจังหวัดพิษณุโลกและภาคเหนือตอนล่าง ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด โดยมีแม่น้ำน่านไหลผ่านกลางเมือง ซึ่งแบ่งตัวเมืองออกเป็นสองฝั่ง มีประชากรประมาณ 62,000 คน (ธันวาคม พ.ศ. 2566) หรือเป็นอันดับที่ 19 ของเทศบาลนครทั้งหมด เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นหนึ่งในเมืองท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของภาคเหนือตอนล่าง โดยสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช

ในอดีตพื้นที่เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นที่ตั้งของเมืองสองแคว อันเป็นเมืองโบราณที่มีบทบาทสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และเคยเป็นราชธานีของอาณาจักรต่าง ๆ อยู่หลายครั้ง เช่น ในช่วงปลายราชวงศ์พระร่วงแห่งสุโขทัย หรือในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่พระองค์เสด็จมาประทับ ณ เมืองแห่งนี้เพื่อตั้งรับข้าศึกจากอาณาจักรล้านนา และพระองค์ได้รวมเมืองสองแควฝั่งตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน พร้อมพระราชทานนามใหม่ว่า "เมืองพระพิษณุโลกสองแคว" พิษณุโลกถูกกองทัพพม่าโจมตีอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากเป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญทางเหนือของอยุธยา จนเมื่อเกิดการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองใน พ.ศ. 2310 เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้ตั้งตนขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินและสถาปนาพิษณุโลกเป็นราชธานีอยู่คราวหนึ่ง ก่อนที่ต่อมาจะเสียเมืองให้แก่เมืองสวางคบุรี และถูกผนวกรวมกับอาณาจักรธนบุรีตามลำดับ พิษณุโลกยังคงมีความสำคัญเรื่อยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

เทศบาลนครพิษณุโลกเป็นหนึ่งในเมืองที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นจุดตัดของทางหลวงสายสำคัญที่เชื่อมโยงสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนมีทางรถไฟสายเหนือพาดผ่าน รวมไปถึงตั้งอยู่ไม่ไกลจากท่าอากาศยานพิษณุโลก ซึ่งเป็นท่าอากาศยานพาณิชย์หลักของภูมิภาค

ประวัติ

[แก้]

พิษณุโลกเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ในประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งมานานกว่า 600 ปี ตั้งอยู่จุดกึ่งกลางระหว่างภาคกลางและภาคเหนือของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่สำคัญในทางยุทธศาสตร์ เดิมทีเมืองนี้เคยเป็นเมืองหน้าด่านของเขมรเล็ก ๆ ที่รู้จักกันในชื่อ สองแคว ก่อนที่แม่น้ำแควน้อยจะเปลี่ยนเส้นทางในเวลาต่อมา[5] นอกจากนี้ พิษณุโลกยังเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอยุธยาเป็นเวลา 25 ปี ในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

เมืองพิษณุโลก เดิมประกาศเป็น "สุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก"[6] เมื่อปีเถาะ พ.ศ. 2458 และได้รับการยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองพิษณุโลก"[7] เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่การปกครอง 5.85 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้ประกาศเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก[8] ขยายเขตจากเดิม 5.85 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้นเป็น 18.26 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีฐานะเป็น "เทศบาลนครพิษณุโลก"[9]ตามพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลเมืองเป็นเทศบาลนคร ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2542

ภูมิศาสตร์

[แก้]
แม่น้ำน่านหน้าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

เทศบาลนครพิษณุโลกตั้งอยู่ในอำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ 18.26 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งตำบล อยู่ในบริเวณตอนบนของภาคกลางของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือประมาณ 377 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลหัวรอ และเทศบาลเมืองอรัญญิก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลเมืองอรัญญิก
  • ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าทอง และองค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าทอง และเทศบาลตำบลบ้านคลอง

พิษณุโลกมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีแม่น้ำน่านไหลผ่านกลางเมืองในแนวเหนือ–ใต้ แบ่งพื้นที่เทศบาลออกเป็นสองฝั่ง ได้แก่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ มีพื้นที่ประมาณ 13 ตารางกิโลเมตร เป็นแหล่งประกอบธุรกิจ การขนส่ง และการติดต่อสื่อสาร ส่วนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ มีพื้นที่ประมาณ 5 ตารางกิโลเมตร เป็นย่านที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ และสถานศึกษา

พิษณุโลกบางครั้งเรียกว่า สองแคว เนื่องจากร้อยปีที่แล้วจุดบรรจบของแม่น้ำน่านและแม่น้ำแควน้อยอยู่ที่บริเวณใกล้กับตัวเมือง ปัจจุบันมีเฉพาะแม่น้ำน่านเท่านั้นที่ไหลผ่านตัวเมือง

สัญลักษณ์

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำเทศบาลนครพิษณุโลกเป็นรูปช้างออกศึกภายในเส้นรอบวงเป็นรูปกษัตริย์ทรงช้าง โดยถือเอาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะพระมหาอุปราชา

เขตการปกครอง

[แก้]

เทศบาลนครพิษณุโลก มีจำนวนชุมชนทั้งสิ้น 64 ชุมชน แบ่งเขตพื้นที่ชุมชนออกเป็น 4 เขต (โซน)

ชุมชนในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก
ที่ โซนที่ 1 โซนที่ 2 โซนที่ 3 โซนที่ 4
1 คลองมหาดไทย วัดหนองบัว พันปี หลังศาล
2 อรัญญิก มหาจักรพรรดิ์ วัดจันทร์ตะวันออก เทพารักษ์
3 ธรรมบูชา วิเศษไชยชาญ พระยาสุวรรณ สระสองห้อง
4 พระองค์ขาว พระองค์ดำ ท่ามะปราง บ้านคลองพัฒนา
5 พญาเสือ ชาญเวชกิจพัฒนา มหานุภาพ วัดจันทร์ตะวันตก
6 ธรรมจักรพัฒนา กัลยาณมิตร ร่วมใจ ประชาอุทิศ
7 เสรีราษฎร์พัฒนา รถไฟสามัคคี บรมไตรโลกนารถ 21 ประตูเมือง
8 เจดีย์ยอดทอง ราเมศวร ดีอินทร์พัฒนา สิงหวัฒน์ ซอย 3
9 สุพรรณกัลยา ราชพฤกษ์ อภิชาตบุตร สิงหวัฒน์ ซอย 5
10 ตาลเดี่ยว พุทธบูชา ร่วมใจไมตรี ไชยานุภาพ
11 วัดน้อยพัฒนา มหาธรรมราชา บึงพระจันทร์ 40 บ้านคลองสามัคคี
12 เรือนแพ เจ้าพระยา สระแก้ว พระร่วง ซอย 2
13 เสือทิม วิสุทธิ์กษัตริย์ ขุนพิเรนทรเทพ พระลือ
14 เกษมรัฐพัฒนา มาลาเบี่ยง ศรีธรรมไตรปิฎก หรรษนันท์ 49
15 ศรีวิสุทธิ์ พระยาสุรสีห์ ประชาพิทักษ์ 99
16 พิชัยสงคราม ราชบูรณะ
17 แสนพลพ่าย ประสงค์ประสาท
18 มิตรภาพ

การขนส่ง

[แก้]
สถานีรถไฟพิษณุโลก
ท่าอากาศยานพิษณุโลก

การเดินทางมายังตัวเมืองพิษณุโลกสามารถเดินทางด้วยทั้งทางถนน ทางรางและทางอากาศ ในตัวเมืองเป็นที่ที่มีจุดตัดทางหลวงหลายสายที่เชื่อมต่อไปยังภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 ซึ่งเป็นถนนวงแหวนรอบเมืองพิษณุโลก ช่วยเลี่ยงการจราจรที่หนาแน่นในตัวเมืองได้ ส่วนการขนส่งทางราง มีสถานีรถไฟภายในเขตเทศบาล 1 แห่ง คือ สถานีรถไฟพิษณุโลก และการขนส่งทางอากาศ มีท่าอากาศยาน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานพิษณุโลก (อยู่ในเขตเทศบาลเมืองอรัญญิก)

การศึกษา

[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อสถานศึกษาภายในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก

โรงเรียนประถม สพฐ.
  • โรงเรียนจ่าการบุญ
  • โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันตกมิตรภาพที่ 73
  • โรงเรียนวัดศรีวิสุทธาราม (วิไลราษฎร์อุปถัมภ์)
  • โรงเรียนวัดอรัญญิก
  • โรงเรียนวัดจันทร์ตะวันออก
โรงเรียนมัธยม สพฐ.
โรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัย (อว.)
โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครพิษณุโลก
  • โรงเรียนอนุบาลเทศบาลนครพิษณุโลก
  • โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดคูหาสวรรค์)
  • โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดท่ามะปราง)
  • โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดธรรมจักร)
  • โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดพันปี)
  • โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครพิษณุโลก
โรงเรียนเอกชน
  • โรงเรียนอนุบาลโรจนวิทย์
  • โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง
  • โรงเรียนเซนต์นิโกลาส
  • โรงเรียนผดุงราษฎร์
  • โรงเรียนสิ่นหมิน
  • โรงเรียนอนุบาลประชาราษฎร์
  • โรงเรียนอนุบาลเซนต์พอล
ระดับอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก
  • วิทยาวิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชยการพิษณุโลก
ระดับอุดมศึกษา

สถานที่สำคัญ

[แก้]
  • วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
  • พระราชวังจันทน์
  • สวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา
  • แม่น้ำน่าน
  • วัดราชบูรณะ
  • วัดนางพญา
  • วัดสระแก้วปทุมทอง
  • พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี
  • สวนชมน่านเฉลิมพระเกียรติ
  • วัดจุฬามณี
  • วัดเจดีย์ยอดทอง
  • วัดอรัญญิก
  • ศาลสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา(วัดจันทร์ตะวันออก)
  • วัดจันทร์ตะวันตก
  • ศูนย์ประวัติศาสตร์พระราชวังจันทน์
  • ศาลหลักเมืองพิษณุโลก
  • กำแพงเมืองคูเมืองพิษณุโลก
  • พิษณุโลกไนท์บาซาร์
  • ถนนคนเดินเมืองพิษณุโลก (ถนนสังฆบูชา)
  • สวนนกไทยศึกษา

อ้างอิง

[แก้]
  1. ปดิวลดา บวรศักดิ์ (29 พฤศจิกายน 2566). "ทำไมต้องเรียก "พิษณุโลก" ว่า "สองแคว" ?". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  2. เทศบาลนครพิษณุโลก. "ข้อมูลพื้นฐาน". สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)[ลิงก์เสีย]
  3. 3.0 3.1 นับรวมตำบลวัดจันทร์ ตำบลหัวรอ ตำบลบ้านคลอง และตำบลอรัญญิก
  4. สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2566." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate/Area/statpop [ม.ป.ป.]. สืบค้น 25 มกราคม 2567.
  5. Thailand, A Short Story, David K. Wyatt, ISBN 0-300-03054-1
  6. ประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมืองพิษณุโลก
  7. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1, 703–1, 707. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  8. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ก): 2, 210–2, 214. 22 มกราคม พ.ศ. 2482. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  9. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (14 ก): 5–10. 8 มีนาคม พ.ศ. 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2018-05-10. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]