เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์

พิกัด: 14°04′15.7″N 100°52′06.6″E / 14.071028°N 100.868500°E / 14.071028; 100.868500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์
แผนที่
ทม.สนั่นรักษ์ตั้งอยู่ในจังหวัดปทุมธานี
ทม.สนั่นรักษ์
ทม.สนั่นรักษ์
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์
พิกัด: 14°04′15.7″N 100°52′06.6″E / 14.071028°N 100.868500°E / 14.071028; 100.868500
ประเทศ ไทย
จังหวัดปทุมธานี
อำเภอธัญบุรี
จัดตั้ง
 • 24 ธันวาคม 2519 (สุขาภิบาลสนั่นรักษ์)

 • 25 พฤษภาคม 2542 (ทต.สนั่นรักษ์)  • 8 มีนาคม 2547 (ทม.สนั่นรักษ์)

การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสมชาย รังสิวัฒนศักดิ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด38.4 ตร.กม. (14.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด31,855 คน
 • ความหนาแน่น829.56 คน/ตร.กม. (2,148.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04130303
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 888 หมู่ที่ 2 ทางหลวงชนบท ปท.3025 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12110
เว็บไซต์www.snr.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ เป็นเทศบาลเมืองซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงสนั่นและตำบลบึงน้ำรักษ์ หรือพื้นที่ตามแนวคลองเก้าไปจนถึงคลองสิบสี่ ในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดตั้งขึ้นครั้งแรกในฐานะสุขาภิบาลสนั่นรักษ์ใน พ.ศ. 2519 ต่อมาได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลใน พ.ศ. 2542[2] และยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองในอีกห้าปีถัดมา[3] เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์เป็นหนึ่งในสองเทศบาลเมืองของอำเภอธัญบุรี ร่วมกับเทศบาลเมืองบึงยี่โถ ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีประชากร 31,855 คน[1]

เขตเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ในอดีตเป็นพื้นที่ป่ารก เคยมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง แห่งแรกมีน้ำใสมองเห็นเป็นสีดำเหมือนยางของต้นรัก ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บึงน้ำรัก" อีกแห่งหนึ่งมีสัตว์ป่าจำนวนมากลงมากินน้ำจนเกิดเสียงดังอึกทึก ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บึงสนั่น" ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการขุดคลองรังสิต ทำให้บริเวณนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรมากขึ้นและเกิดพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในเวลาต่อมา นั่นคือ ส้มเขียวหวาน เมื่อมีการจัดตั้งสุขาภิบาลแห่งใหม่จึงนำชื่อบึงทั้งสองมารวมกัน เรียกว่า "สนั่นรักษ์" เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ได้รับ Best Practice Model จากศูนย์อนามัยที่ 1 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ใน พ.ศ. 2551[2]

ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลนับถือศาสนาพุทธ มีวัดจำนวน 3 แห่ง และมัสยิดอีก 2 แห่ง การศึกษามีโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษาอย่างละหนึ่งแห่ง และมีสถาบันอุดมศึกษาหนึ่งแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติประจำภาคกลาง วิทยาเขตกรุงเทพ ตั้งอยู่ที่คลองสิบสาม[4] โรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เทศบาล ประกอบด้วยโรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตพลาสติก และโรงงานผลิตไวน์[5] การขนส่งมีถนนรังสิต-นครนายก ส่วนไฟฟ้ารับกระแสไฟฟ้าจากสถานีจ่ายไฟฟ้าย่อยบ้านใหม่ในอำเภอเมืองปทุมธานี[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ประวัติความเป็นมาของเมืองสนั่นรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (พิเศษ 78 ง): 1–2. 19 กรกฎาคม 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
  4. "สภาพสังคมเขตเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
  5. "สภาพเศรษฐกิจเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.
  6. "การบริการพื้นฐานในเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 2020-05-11.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]