ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร

พิกัด: 18°17′45″N 99°29′32″E / 18.29583°N 99.49222°E / 18.29583; 99.49222
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองเขลางค์นคร
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร
ตรา
คำขวัญ: 
เขลางค์นครเมืองน่าอยู่ เมืองแห่งการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมสวยงาม ธรรมาภิบาลดีเด่น มุ่งเน้นปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาบริการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
ทม.เขลางค์นครตั้งอยู่ในจังหวัดลำปาง
ทม.เขลางค์นคร
ทม.เขลางค์นคร
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองเขลางค์นครในจังหวัดลำปาง
พิกัด: 18°17′45″N 99°29′32″E / 18.29583°N 99.49222°E / 18.29583; 99.49222
ประเทศ ไทย
จังหวัดลำปาง
อำเภอเมืองลำปาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายไพฑูรย์ โพธิ์ทอง
พื้นที่
 • ทั้งหมด195.49 ตร.กม. (75.48 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด60,100 คน
 • ความหนาแน่น307.43 คน/ตร.กม. (796.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04520103
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองเขลางค์นคร เลขที่ 72 ถนนบุญโยง ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
โทรศัพท์0 5422 5967
โทรสาร0 5422 5967
เว็บไซต์www.kelangnakorn.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 195.49 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลปงแสนทอง ตำบลชมพู ตำบลพระบาท และตำบลกล้วยแพะ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 60,446 คน[1] นอกจากนี้เทศบาลเขลางค์นครยังเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดลำปาง

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ได้รับการยกฐานะจาก เทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมืองเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547[2] เนื่องจาก เทศบาลตำบลชมพู มีขนาดพื้นที่รับผิดชอบกว้างขวาง จำนวนประชากรหนาแน่น การเจริญเติบโตของชุมชน รวมถึงมีรายได้เพียงพอตามที่กระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ จึงยกฐานะจาก เทศบาลตำบลชมพู เป็น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2547 พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อและตราสัญลักษณ์ของเทศบาลใหม่อีกด้วย

อาณาเขต

[แก้]

ประชากรและเขตการปกครอง

[แก้]

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 63 ชุมชน จำนวนประชากรทั้งหมด 60,446 คน แยกตามลักษณะการปกครองดังนี้[3]

  • ตำบลชมพู จำนวน 20 ชุมชน ประชากร 20,518 คน ชาย : 9,741 คน หญิง : 10,777 คน
  • ตำบลปงแสนทอง จำนวน 21 ชุมชน ประชากร 17,491 คน ชาย : 8,361 คน หญิง : 9,130 คน
  • ตำบลกล้วยแพะ จำนวน 6 ชุมชน ประชากร 9,125 คน ชาย : 4,419 คน หญิง : 4,706 คน
  • ตำบลพระบาท จำนวน 16 ชุมชน ประชากร 12,992 คน ชาย : 6,227 คน หญิง : 6,765 คน

รวม 63 ชุมชน ประชากร 60,446 คน ชาย : 29,051 คน หญิง : 31,395 คน

จำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 51,183 คน จำนวนครัวเรือน 24,562 หลังคาเรือน[4]

เศรษฐกิจ

[แก้]

จากสภาพทำเลที่ตั้งของเทศบาลมืองเขลางค์นคร และมีทางหลวงแผ่นดินเชื่อมระหว่างจังหวัดตัดผ่านหลายสาย สภาพเศรษฐกิจท้องถิ่นสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท กล่าวคือ

  • เกษตรกรม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะทำการเพาะปลูกข้าว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และแตงโม โดยพื้นที่ทำการเกษตรจะกระจายอยู่ทุกตำบล
  • อุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ประกอบอุตสาหกรรมผลิตเซรามิค เครื่องปั้นดินเผา และอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมผลิตอาหารกระป๋อง, อุตสาหกรรมกลึงและแกะสลักไม้, อุตสาหกรรมทำเส้นก๋วยเตี๋ยว เป็นต้น โดยมีจำนวนโรงงานในเขตพื้นที่ของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร รวมทั้งสิ้น 231 แห่ง
  • พาณิชยกรรม ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร และประชาชนต่างจังหวัดที่เดินทางท่องเที่ยว แวะพักมีจำนวนสูง จึงทำให้เกิดการประกอบพาณิชยกรรมประเภทร้านอาหาร จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นอย่างหนาแน่น ทั้งในบริเวณตำบลพระบาท, ตำบลชมพู และตำบลปงแสนทอง โดยอัตราเฉลี่ยการประกอบพาณิชยกรรมประมาณ 30% ของประชากรทั้งหมด

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การขนส่ง

[แก้]
  • ทางรถไฟ มีทางรถไฟเส้นทางระหว่างกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ผ่านอำเภอเมืองลำปาง 1 สาย
  • ทางรถยนต์ มีเส้นทางหลวงแผ่นดินที่เชื่อมระหว่างจังหวัดลำปาง กับจังหวัดตาก, ลำพูน, แพร่, พะเยา และเชื่อมระหว่างอำเภอ ตำบล หมู่บ้านต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง ประชาชนสามารถเดินทางไปมาได้สะดวกทุกฤดูกาล
  • ทางอากาศ มีท่าอากาศยานพาณิชย์ 1 แห่ง ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 5 ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง มีเครื่องบินพาณิชย์ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์บริการเป็นประจำทุกวัน

การศึกษา

[แก้]

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ไม่มีสถานศึกษาในสังกัด แต่ได้ให้การสนับสนุนสถานศึกษาที่ตั้งอยู่เขตเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ดังนี้

  • โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขคพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 จำนวน 11 แห่ง
  • โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 1 แห่ง
  • โรงเรียนสังกัดกรมอาชีวศึกษา จำนวน 1 แห่ง
  • โรงเรียนพาณิชยการเอกชน จำนวน 1 แห่ง
  • มหาวิทยาลัยระดับอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 1 แห่ง
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง จำนวน 1 แห่ง

นอกจากนี้เทศบาลมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความรับผิดชอบอยู่จำนวน 11 แห่ง ดังนี้

  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไร่นาน้อย หมู่ที่ 5 ตำบลปงแสนทอง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านกาด หมู่ที่ 7 ตำบลปงแสนทอง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 4 ตำบลปงแสนทอง
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านฟ่อน หมู่ที่ 2 ตำบลชมพู
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านศรีหมวดเกล้า หมู่ที่ 4 ตำบลชมพู
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโทกหัวช้าง หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบุญเกิด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองห้า หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านวัดม่อนจำศีล หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาลาด หมู่ที่ 4 ตำบลพระบาท
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดกล้วยหลวง หมู่ที่ 4 ตำบลกล้วยแพะ

สาธารณสุข

[แก้]

เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ไม่มีสถานบริการสาธารณสุขในความดูแล แต่มีกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุข จำนวน 7 คน ที่รับผิดชอบดูแลงานด้านป้องกันโรค งานสุขาภิบาล งานสัตวแพทย์ ซึ่งจะประสานงานการปฏิบัติและสนับสนุนงบประมาณกับสถานีอนามัย สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ จำนวน 7 แห่ง มีเจ้าหน้าที่ อสม, จำนวน 1,451 คน ให้การดูแลรักษาพยาบาลและดูแลการเผ้าระวังแก่ประชาชน โดยเทศบาลได้ให้การอุดหนุนงบประมาณให้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ยังได้ดูแลควบคุมเกี่ยวกับการประกอบกิจกราอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเป็นเทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองเขลางค์นคร)
  3. งานทะเบียนราษฎร สำนักปลัดเทศบาล ณ กันยายน 2560
  4. สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ณ กันยายน 2560

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]