ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลเมืองน่าน

พิกัด: 18°47′N 100°47′E / 18.783°N 100.783°E / 18.783; 100.783
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองน่าน
จากบนซ้ายไปล่างขวา: วัดภูมินทร์, เสาพระหลักเมืองน่านในวัดมิ่งเมือง, วัดพระธาตุช้างค้ำ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน, และแม่น้ำน่าน
คำขวัญ: 
เทศบาลเมืองน่าน เมืองแห่งคนอายุยืน
คืนถิ่น เอกลักษณ์เมืองเก่า
เรามุ่งเป็น ชุมชนแห่งปัญญา
ปรารถนา สู่สังคมคุณภาพ
ทม.น่านตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน
ทม.น่าน
ทม.น่าน
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองน่านในจังหวัดน่าน
พิกัด: 18°47′N 100°47′E / 18.783°N 100.783°E / 18.783; 100.783
ประเทศ ไทย
จังหวัดน่าน
อำเภอเมืองน่าน
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสุรพล เธียรสูตร
พื้นที่
 • ทั้งหมด7.6 ตร.กม. (2.9 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด18,494 คน
 • ความหนาแน่น2,433.43 คน/ตร.กม. (6,302.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04550102
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เลขที่ 214/10 ถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 55000
โทรศัพท์0 5471 0234
โทรสาร0 5477 1646
เว็บไซต์www.nancity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลเมืองน่าน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียง (ทั้งตำบล) และตำบลผาสิงห์ (บางส่วน) ภายในเขตเทศบาลเมืองน่านเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการ สถานศึกษา และสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้มีฐานะเป็นศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดน่าน

ประวัติ

[แก้]

 เทศบาลเมืองน่าน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภท เทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียง (ทั้งตำบล) และตำบลผาสิงห์ (บางส่วน) เทศบาลเมืองน่าน เดิมเป็นบริเวณตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน ได้รับการยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองน่าน" ตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน พ.ศ. 2479 ตราไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งแต่งตั้ง หลวงวรวิทย์ วรรณการ เป็นนายกเทศมนตรี โดยมีหลวงธนานุสรณ์ และนายกลิ่น ดวงพิกุล เป็นเทศมนตรีชุดแรก โดยมีลำดับการตั้งสำนักงางานเทศบาลเมืองน่าน ดังนี้

  1. มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่ "ศาลาบาตร" หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน ในปัจจุบัน)
  2. ขอใช้ที่ดินราชพัสดุบริเวณข้างที่ว่าการอำเภอเมืองน่าน (บริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยว-ข่วงเมืองน่าน) สร้างเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน
  3. เมื่อปี พ.ศ. 2510 ใช้สถานีอนามัยชั้นหนึ่งของเทศบาลเป็นที่ทำการสำนักงานเทศบาลแทน เนื่องจากจังหวัดน่านได้ดำเนินการก่อสร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นและต้องการที่ดินคืน ในสมัย ร.ต.ต. ชาญ เวชเจริญ เป็นนายกเทศมนตรี
  4. เมื่อปี พ.ศ. 2515 ได้ทำการก่อสร้างอาคารสำนักงานเทศบาลขึ้นใหม่ ในสมัย พ.ต.ท. อุ่น วุฒิการณ์ เป็นนายกเทศมนตรี
  5. เมื่อปี พ.ศ. 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอความร่วมมือมายังเทศบาลเมืองน่านเพื่อหาสถานที่ที่ใช้เป็นที่ตั้งศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดน่าน ในสมัย นางสิรินทร รามสูตร เป็นนายกเทศมนตรี ได้เห็นชอบใช้พื้นที่บริเวณด้านหลังอาคารสำนักงานเทศบาลเมืองน่านเป็นที่ก่อสร้างศูนย์บริการนักท่องเที่ยวจังหวัดน่านและได้เริ่มก่อสร้างสำนักงานหลังปัจจุบันบนบริเวณที่ดินของเทศบาล เนื้อที่ 23 ไร่ บริเวณถนมหายศ จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2548 โดยพื้นที่สำนักงานเทศบาลเมืองน่านหลังเดิมได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะและจุดพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยวจนถึงปัจจุบัน
  6. เมื่อปี พ.ศ. 2552 ราษฎรจำนวน 3 หมู่บ้าน ของตำบลผาสิงห์ ได้แก่ บ้านสวนหอม หมู่ที่ 3 บ้านดอนสวรรค์ หมู่ที่ 8 และบ้านฟ้าใหม่ หมู่ที่ 9 ได้แสดงเจตจำนงขอรวมพื้นที่เข้ากับเทศบาลเมืองน่าน หลังจากทำการสำรวจเจตนารมณ์แล้วจึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554 ให้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน โดยรับรวมพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสามของตำบลผาสิงห์เข้ากับเทศบาลเมืองน่าน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่านเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการจัดตั้งจนถึงปัจจุบัน[2] ให้เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน โดยนับรวมพื้นที่ของหมู่บ้านทั้งสามเข้ากับเทศบาลเมืองน่าน นับเป็นการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเป็นครั้งแรกตั้งแต่มีการจัดตั้ง

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ที่ตั้ง

[แก้]

ภูมิอากาศ

[แก้]
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองน่าน
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 35.2
(95.4)
38.3
(100.9)
40.8
(105.4)
43.0
(109.4)
42.0
(107.6)
38.7
(101.7)
37.4
(99.3)
38.4
(101.1)
36.3
(97.3)
35.7
(96.3)
34.9
(94.8)
33.8
(92.8)
43.0
(109.4)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 29.8
(85.6)
32.7
(90.9)
35.3
(95.5)
36.5
(97.7)
34.6
(94.3)
32.9
(91.2)
31.9
(89.4)
31.7
(89.1)
32.2
(90)
32.0
(89.6)
30.6
(87.1)
29.0
(84.2)
32.43
(90.38)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 20.8
(69.4)
23.3
(73.9)
26.4
(79.5)
28.9
(84)
28.6
(83.5)
28.1
(82.6)
27.5
(81.5)
27.1
(80.8)
27.0
(80.6)
26.2
(79.2)
23.8
(74.8)
20.7
(69.3)
25.7
(78.26)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 13.4
(56.1)
15.1
(59.2)
18.3
(64.9)
22.0
(71.6)
23.6
(74.5)
24.1
(75.4)
23.8
(74.8)
23.7
(74.7)
23.3
(73.9)
21.8
(71.2)
18.6
(65.5)
14.3
(57.7)
20.17
(68.3)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 3.5
(38.3)
7.0
(44.6)
9.1
(48.4)
16.2
(61.2)
18.5
(65.3)
20.1
(68.2)
19.6
(67.3)
19.4
(66.9)
18.8
(65.8)
12.1
(53.8)
6.2
(43.2)
4.9
(40.8)
3.5
(38.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 8
(0.31)
14
(0.55)
27
(1.06)
103
(4.06)
175
(6.89)
156
(6.14)
207
(8.15)
248
(9.76)
205
(8.07)
95
(3.74)
19
(0.75)
6
(0.24)
1,263
(49.72)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 1 1 2 7 14 13 16 18 14 8 2 1 97
แหล่งที่มา 1: Hong Kong Observatory[3]
แหล่งที่มา 2: NOAA [4]

เขตการปกครอง

[แก้]
ไฟล์:Nan Municipality Map.jpg
แผนที่ชุมชนต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองน่าน

 เทศบาลเมืองน่าน เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน มีพื้นที่ครอบคลุม 2 ตำบล คือ ตำบลในเวียง (ทั้งตำบล) และตำบลผาสิงห์ (บางส่วน) เทศบาลเมืองน่าน มีพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมด 7.6 ตารางกิโลเมตร หรือ 4,750 ไร่ โดยภายในเขตเทศบาลเมืองน่าน แบ่งการปกครองออกเป็น 3 เขต 31 ชุมชน[5] ดังนี้

  • ชุมชนเทศบาลเมืองน่าน เขตเหนือ ประกอบด้วย 10 ชุมชน ได้แก่
    1. ชุมชนบ้านเชียงแข็ง
    2. ชุมชนบ้านสถารส
    3. ชุมชนบ้านช้างเผือก
    4. ชุมชนบ้านมหาโพธิ์
    5. ชุมชนบ้านน้ำล้อม
    6. ชุมชนบ้านท่าช้าง
    7. ชุมชนบ้านเมืองเล็น
    8. ชุมชนบ้านพระเกิด
    9. ชุมชนบ้านพระเนตร
    10. ชุมชนค่ายสุริยพงษ์
  • ชุมชนเทศบาลเมืองน่าน เขตกลาง ประกอบด้วย 11 ชุมชน ได้แก่
    1. ชุมชนบ้านมงคล
    2. ชุมชนบ้านสวนตาล
    3. ชุมชนบ้านสวนหอม
    4. ชุมชนบ้านดอนแก้ว
    5. ชุมชนบ้านดอนศรีเสริม
    6. ชุมชนบ้านอรัญญาวาส
    7. ชุมชนบ้านหัวเวียงใต้
    8. ชุมชนบ้านประตูปล่อง
    9. ชุมชนบ้านสวนหอม หมู่ที่ 3 ตำบลผาสิงห์
    10. ชุมชนบ้านดอนสวรรค์ หมู่ที่ 8 ตำบลผาสิงห์
    11. ชุมชนบ้านฟ้าใหม่ หมู่ที่ 9 ตำบลผาสิงห์
  • ชุมชนเทศบาลเมืองน่าน เขตใต้ ประกอบด้วย 10 ชุมชน ได้แก่
    1. ชุมชนบ้านพวงพยอม
    2. ชุมชนบ้านหัวข่วง
    3. ชุมชนบ้านมณเฑียร
    4. ชุมชนบ้านพญาภู
    5. ชุมชนบ้านช้างค้ำ
    6. ชุมชนบ้านศรีพันต้น
    7. ชุมชนบ้านอภัย
    8. ชุมชนบ้านมิ่งเมือง
    9. ชุมชนบ้านภูมินทร์-ท่าลี่
    10. ชุมชนบ้านไผ่เหลือง

ประชากร

[แก้]

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองน่าน ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวน 18,788 คน แยกเป็นชาย 9,282 คน หญิง 9,506 คน ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 2,472.10 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวนบ้าน 10,978 หลังคาเรือน[1]

การขนส่ง

[แก้]

การคมนาคมทางบกมีถนนสายสำคัญต่างๆ ดังนี้

1. ถนนสุริยพงษ์ ยาว 1,300 เมตร
2. ถนนผากอง ยาว 2,000 เมตร
3. ถนนสุมนเทวราช ยาว 3,000 เมตร
4. ถนนอนันตวรฤทธิเดช ยาว 1,100 เมตร
5. ถนนมหายศ ยาว 3,700 เมตร
6. ถนนมหาวงศ์ ยาว 1,200 เมตร
7. ถนนมหาพรหม ยาว 1,100 เมตร
8. ถนนเจ้าฟ้า ยาว 500 เมตร
9. ถนนข้าหลวง ยาว 1,200 เมตร
10. ถนนหน่อคำ ยาว 550 เมตร
11. ถนนคำยอด ยาว 650 เมตร
12. ถนนวรวิชัย ยาว 1,000 เมตร
13. ถนนเทศบาลดำริห์ ยาว 1,100 เมตร
14. ถนนรอบเมืองทิศเหนือ ยาว 350 เมตร
15. ถนนรอบเมืองทิศใต้ ยาว 700 เมตร
16. ถนนรอบเมืองทิศตะวันตก ยาว 1,100 เมตร
17. ถนนมะโน ยาว 3,000 เมตร
18. ถนนราษฎร์ประสงค์ ยาว 650 เมตร
19. ถนนราชอำนวย ยาว 1,400 เมตร
20. ถนนสวนตาล ยาว 400 เมตร
21. ถนนสายท่าลี่ ยาว 950 เมตร
22. ถนนเปรมประชาราษฎร์ ยาว 650 เมตร
23. ถนนวรนคร ยาว 400 เมตร
24. ถนนอริยวงศ์ ยาว 1,000 เมตร

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

การศึกษา

สถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองน่าน มีดังนี้

การสาธารณสุข

สถานพยาบาลในเขตเทศบาลเมืองน่าน มีดังนี้

  • สถานพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลน่าน
  • ศูนย์บริการสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์บริการสาธารณสุข เทศบาลเมืองน่าน
  • คลินิกเอกชน จำนวน 14 แห่ง

สถานประกอบการ

[แก้]

ในเขตเทศบาลเมืองน่านมีสถานประกอบการในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ธนาคาร 10 แห่ง
    1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    2. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    4. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    5. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
    6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    7. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
    8. ธนาคารออมสิน
    9. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    10. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
  • ตลาดสด 5 แห่ง
    1. ตลาดตั้งจิตนุสรณ์
    2. ตลาดสดชุมชนบ้านพระเนตร
    3. ตลาดตั้งจิตนุสรณ์ 2
    4. กาดศรีคำ
    5. ตลาดสดบ้านเชียงแข็ง
  • ศูนย์การค้า 4 แห่ง
    1. ห้างนราไฮเปอร์มาร์ท
    2. โลตัส สาขาน่าน
    3. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาน่าน
    4. สยามแม็คโคร สาขาน่าน
  • สถานีบริการน้ำมัน 5 แห่ง
  • สถานีขนส่ง 1 แห่ง
  • สถานธนานุบาล 1 แห่ง

ศาสนสถาน

[แก้]

วัดในเขตเทศบาลเมืองน่าน

  1. วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร พระอารามหลวง (หรือวัดหลวงกลางเวียงที่มีหอไตรปิฎกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย)
  2. วัดพญาภู พระอารามหลวง (วัดพระคู่งามปางลีลาค่าควรเมือง)
  3. วัดภูมินทร์ (วัดทรงจัตุรมุขแห่งเดียวในประเทศไทยและภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อ)
  4. วัดมิ่งเมือง (ประดิษฐานเสาหลักเมืองน่าน มิ่งมงคลแห่งชีวิต พระวิหารปูนปั้นสถาปัตยกรรมล้านนาศิลปะเชียงแสน)
  5. วัดกู่คำ (พระเกศาธาตุและผ้าอาบน้ำทองคำของพระพุทธเจ้าและพระพุทธรูปนั่งศิลปะสุโขทัยซึ่งได้รับพระราชทานมาจากพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5)
  6. วัดไผ่เหลือง (พระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า วัดเก่าแก่อายุกว่า 430 ปี))
  7. วัดสวนตาล (พระเจ้าทองทิพย์ ทิพย์แห่งทอง)
  8. วัดหัวข่วง (สถาปัตยกรรมแบบล้านนารูปแบบเอกลักษณ์ช่างสกุลน่าน เช่น หอไตร ประกาศเป็นโบราณสถานแห่งชาติของกรมศิลปากร เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2523)
  9. วัดศรีพันต้น (ภาพวาดในวิหารตำนานเมืองน่าน หน้าบันพระวิหารเป็นปูนปั้นลวดลายนักษัตร 12 ราศี)
  10. วัดพวงพยอม (สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1220 โดยท่านมหาเถรเป็นผู้สร้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 1840 ได้ทำการบูรณะขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อมาได้เป็นวัดร้างอีกครั้ง และได้กลับมาบรณะอีกครั้งเป็นครั้งที่ สองเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2010 โดยไม่ได้บันทึกว่าผู้ใดมาบูรณะ และได้เป็นวัดร้างอีกครั้ง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2498 ไดบูรณะให้เป็นวัดอีกครั้ง ตราบจนถึงปัจจุบัน)
  11. วัดมณเฑียร (วัดเก่าแก่อายุกว่า 250 ปี)
  12. วัดมงคล (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ผู้สร้างคือ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน เพื่ออุทิศถวายเป็นกุศลให้แก่เจ้าพญามงคลวรยศ จึงได้ประทานนามว่า วัดมงคล อายุกว่า 230 ปี)
  13. วัดอภัย (สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2400 วัดเก่าแก่อายุกว่า 160 ปี)
  14. วัดพระเกิด (สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2370 ได้รับประราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2381 ที่ มาของชื่อวัด จากตำนานคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ระบุว่าตอนที่ปรับสถานที่สร้างวัดนี้ได้พบพระแก้วแกะสีขาวใสอยู่ในกล่องไม้ สานวางอยู่บนตอไม้ จึงตั้งชื่อวัดว่า “วัดพระเกิด” ตั้งแต่นั้นมา)
  15. วัดพระเนตร (สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2376 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2379 เขตวิสุคามสีมา กว้าง 9.7 เมตร ยาว 17.5 เมตร
  16. วัดน้อย ศาสนสถานที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ใต้ต้นไทรกลางเมืองน่าน
  17. วัดเชียงแข็ง
  18. วัดน้ำล้อม
  19. วัดหัวเวียงใต้
  20. วัดช้างเผือก
  21. วัดท่าช้าง
  22. วัดมหาโพธิ
  23. วัดอรัญญาวาส
  24. วัดสวนหอม
  25. วัดดอนแก้ว
  26. วัดเมืองเล็น
  27. วัดสถารศ

สวนสาธารณะ

[แก้]

สวนสาธารณะ/ลานกีฬา/สถานที่ออกกำลังกาย ในเขตเทศบาลเมืองน่าน มีดังนี้

  1. สวนสาธารณะ บ้านช้างเผือก
  2. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ กำแพงเมืองเก่า
  3. สวนสาธารณะข่วงเมืองน่าน
  4. สวนสาธารณะศรีเมือง
  5. สวนสาธารณะ บ้านสถารศ
  6. สวนสาธารณะ บ้านท่าช้าง
  7. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ชุมชนบ้านมหาโพธิ
  8. สวนสาธารณะ บ้านดอนแก้ว
  9. สวนสาธารณะเทศบาล (เดิม)
  10. สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาราชินี

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2566 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองน่าน ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองน่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน
  3. "Climatological Information for Nan, Thailand". Hong Kong Observatory. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-26. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.
  4. "NAN/MUANG NAN Climate Normals 1961-1990". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ November 20, 2012.
  5. "ระบบข้อมูลกลางองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-08. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]