เทศบาลเมืองคูคต
เทศบาลเมืองคูคต | |
---|---|
พิกัด: 13°56′33.0″N 100°39′03.6″E / 13.942500°N 100.651000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ปทุมธานี |
อำเภอ | ลำลูกกา |
จัดตั้ง | • 28 เมษายน 2526 (สุขาภิบาลคูคต) • 5 พฤษภาคม 2539 (ทม.คูคต) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | สุภารมย์ โลทะกะ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.48 ตร.กม. (4.82 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 43,941 คน |
• ความหนาแน่น | 3,520.91 คน/ตร.กม. (9,119.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04130601 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 999 หมู่ที่ 18 ซอยลำลูกกา 21 ถนนลำลูกกา ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี 12130 |
เว็บไซต์ | khukhot |
เทศบาลเมืองคูคต เป็นเทศบาลเมืองซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4–5, 8–11, 13–18 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6, 7, 12 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เดิมมีฐานะเป็น "สุขาภิบาลคูคต" แล้วจึงยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองใน พ.ศ. 2539[2] ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 ได้เปิดใช้งานอาคารสำนักงานเทศบาลแห่งใหม่[3] ปัจจุบันเทศบาลเมืองคูคตมีประชากร 43,941 คน[1]
เทศบาลเมืองคูคตอยู่ห่างจากตัวอำเภอลำลูกกาไปประมาณ 16 กิโลเมตร การขนส่งมีถนนสายหลักอย่างถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต ซึ่งถนนทั้งสองสายมาบรรจบกันที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวซึ่งมาสิ้นสุดที่สถานีคูคตในเขตเทศบาล และมีโครงการส่วนต่อขยายไปยังถนนกาญจนาภิเษก[4] การไฟฟ้าอยู่ภายใต้การดูแลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาครังสิต ส่วนการประปาอยู่ภายใต้การควบคุมของการประปาส่วนภูมิภาครังสิต เขตเทศบาลเป็นพื้นที่ชานเมืองหรือปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร มีศูนย์กลางรับส่งสินค้าเกษตร นั่นคือ ตลาดสี่มุมเมือง และมีห้างสรรพสินค้า คือ เซียร์ รังสิต[5]
ประชากรในเขตเทศบาลส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีโรงเรียน 11 แห่ง และมีโรงพยาบาลหนึ่งแห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน[5] เขตเทศบาลแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างอนุสรณ์สถานแห่งชาติซึ่งปรากฏในตราสัญลักษณ์ของเทศบาล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองคูคต". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (5 ก): 4–6. 6 มีนาคม 2539. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
- ↑ "ประวัติเทศบาลเมืองคูคต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-03. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
- ↑ ส่องทำเลสายอนาคต รถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงคูคต-ลำลูกกา
- ↑ 5.0 5.1 "ข้อมูลทั่วไปเทศบาลเมืองคูคต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-06. สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์เทศบาลเมืองคูคต เก็บถาวร 2021-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน