เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี

พิกัด: 15°39′27.7″N 101°07′30.4″E / 15.657694°N 101.125111°E / 15.657694; 101.125111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี
คำขวัญ: 
รำโจ๋งพื้นบ้าน ศาลสมเด็จพระนเรศวรรวมใจ งามล้ำพระนอนองค์ใหญ่ ลือเลื่องทั่วไทยไก่ย่างวิเชียรบุรี
ทม.วิเชียรบุรีตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์
ทม.วิเชียรบุรี
ทม.วิเชียรบุรี
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี
พิกัด: 15°39′27.7″N 101°07′30.4″E / 15.657694°N 101.125111°E / 15.657694; 101.125111
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบูรณ์
อำเภอวิเชียรบุรี
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวัฒนพงษ์ เกิดพูล
พื้นที่
 • ทั้งหมด26.54 ตร.กม. (10.25 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด22,827 คน
 • ความหนาแน่น860.10 คน/ตร.กม. (2,227.6 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04670501
เว็บไซต์www.wichainburee.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

วิเชียรบุรี เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ 26.54 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 2 ตำบล คือ ตำบลท่าโรง และตำบลสระประดู่ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 22,827 คน[1] เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดเพชรบูรณ์

ประวัติ[แก้]

วิเชียรบุรี เป็นชุมชนเก่าแก่ร่วมสมัยกับเมืองศรีเทพ สันนิษฐานว่าเป็นเมืองลูกหรือเมืองท่าของเมืองศรีเทพ เนื่องจากอยู่ชิดกับแม่น้ำป่าสัก ต่อเนื่องยาวนานมาจนถึงสมัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีความสำคัญคือเป็นเมืองของขุนพลเอกคู่ใจสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระศรีถมอรัตน์ หรือ พระยาศรีไสยณรงค์ จากคำบอกเล่าปากต่อปากของคนเฒ่าคนแก่ที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเมื่อครั้งเป็นพระมหาอุปราชา เสด็จปราบเขมรที่เมืองไชยบาดาลเสร็จแล้ว จึงเสด็จมายั้งทัพที่บริเวณหน้าสถานีตำรวจภูธรวิเชียรบุรีในปัจจจุบัน เพื่อเยี่ยมเยียนราษฎรเมืองศรีเทพในขณะนั้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองวิเชียรบุรีจึงถูกยุบลงเป็นอำเภอวิเชียรบุรี เป็นอำเภอที่อยู่ในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์

แต่เดิมเป็นสุขาภิบาลวิเชียรบุรี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรือง การจัดตั้งสุขาภิบาลวิเชียรบุรี ลงวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 เปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบลวิเชียรบุรี ตามราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 และได้รับการยกฐานะจากเทศบาลตำบลวิเชียรบุรี เป็นเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[2]

ภูมิศาสตร์[แก้]

อาณาเขตติดต่อ[แก้]

  • ทิศเหนือ จดหมู่ที่ 8 ตำบลท่าโรง (องค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง)
  • ทิศใต้ จดหมู่ที่ 5 ตำบลท่าโรง และตำบลสระประดู่ (ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง และองค์การบริหารส่วนตำบลสระประดู่)
  • ทิศตะวันออก จดหมู่ที่ 17 ตำบลท่าโรงและตำบลน้ำร้อน (ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าโรง และองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำร้อน)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสระประดู่

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

เทศบาลเมืองวิเชียรบุรีอยู่ห่างจากถนนสระบุรี–หล่มสัก หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 เป็นระยะทาง 7 กิโลเมตรมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ และยังมีแม่น้ำป่าสักไหลผ่าน ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชทุกชนิด

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของเทศบาล เมืองวิเชียรบุรี มี ลักษณะภูมิอากาศ แบบมรสุม เมืองร้อน เนื่องจากได้รับอิทธิพลของมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือจากอ่าว ไทยและทะเลจีนใต้ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมรสุมอินเดีย ทำให้มี 3 ฤดูกาล คือ

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไป ถึงเดือนพฤษภาคม
  • ฤดูฝน ตั้งแต่ ปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายนถึง เดือนมกราคมของทุกปี

ประชากร[แก้]

ในปี พ.ศ. 2560 เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 22,827 คน ประกอบด้วย ชาย 10,893 คน คิดเป็นร้อยละ 47.72 และหญิง 11,934 คน คิดเป็นร้อยละ 52.28 มีจำนวนครัวเรือน 8,339 ครัวเรือน มีความหนาแน่นเฉลี่ย 860.10 คนต่อตารางกิโลเมตร

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]