เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี | |
---|---|
ซ้ายไปขวา บนลงล่าง: ทิวทัศน์นครสุราษฎร์ธานี, ศาลหลักเมืองสุราษฎร์ธานี, สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี, แม่น้ำตาปีไหลผ่านเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี | |
สมญา: เมืองตาปี | |
คำขวัญ: สร้างสุราษฎร์ธานี เมืองคนดี ที่น่าอยู่ | |
พิกัด: 9°8′23″N 99°19′50″E / 9.13972°N 99.33056°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | เมืองสุราษฎร์ธานี |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ประเสริฐ บุญประสพ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 68.97 ตร.กม. (26.63 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 129,484 คน |
• ความหนาแน่น | 1,877.39 คน/ตร.กม. (4,862.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03840102 |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 18 ถนนภักดีอนุสรณ์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 |
โทรศัพท์ | 0 7727 2513 |
โทรสาร | 0 7728 8919 |
เว็บไซต์ | suratcity |
สุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด มีประชากรใน พ.ศ. 2560 ประมาณ 129,000 คน ทำให้เป็นเทศบาลนครที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 2 ในภาคใต้ รองจากเทศบาลนครหาดใหญ่ และเป็นเมืองใหญ่อันดับที่ 8 ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้อีกด้วย
ประวัติ
[แก้]เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เดิมเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จัดรูปแบบการปกครองแบบสุขาภิบาล ต่อมาใน พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงได้มีการตรากฎหมายเกี่ยวกับเทศบาลฉบับแรกขึ้น คือ พระราชบัญญัติระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 ซึ่งมีผลทำให้สุขาภิบาลเมืองสุราษฎร์ธานีได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ 2.67 ตารางกิโลเมตร เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2501 ได้ขยายเทศบาลทำให้มีพื้นที่ 6.95 ตารางกิโลเมตร ต่อมาท้องถิ่นมีความเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดชุมชนและย่านการค้าทั้งภายในเขตและนอกเขตเทศบาล ซึ่งติดกับเขตเทศบาล มีสภาพคล้ายคลึงกัน อีกทั้งเป็นที่ตั้งของการปกครองระดับจังหวัด ในขณะเดียวกันพื้นที่ตำบลใกล้เคียงก็มีความเจริญต่อเนื่องเป็นชุมชนเดียวกันกับเทศบาล จึงได้ขยายเขตตามพระราชกฤษฎีกาการเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ที่ 111 ตอนที่ 59 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2537 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ครอบคลุมพื้นที่ 68.97 ตารางกิโลเมตร
วันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้ลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2550 เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป
ในปัจจุบันเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ทั้งสิ้น 6 ตำบล โดยเป็นทั้งตำบล 2 ตำบล คือ ตำบลตลาดและตำบลบางกุ้ง และพื้นที่บางส่วนอีก 4 ตำบล คือ ตำบลมะขามเตี้ย บางใบไม้ บางชนะ และคลองฉนาก
ดวงตราเทศบาล
[แก้]สำหรับดวงตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เป็นรูปโล่ห์มีปีกสมอเทิดรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีความหมายว่า เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีเป็นเมืองท่า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำและทะเล ภายใต้การปกครองแบบประชาธิปไตย
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิประเทศ
[แก้]เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ริมบริเวณที่ราบแม่น้ำตาปี และเป็นที่บรรจบของลำน้ำหลายสาย ได้แก่ คลองท่ากูบ และคลองมะขามเตี้ย ที่ไหลลงมาบรรจบกับแม่น้ำตาปีบริเวณเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ซึ่งบริเวณนี้แม่น้ำตาปี ยังได้แยกออกเป็น 2 สายไหลลงสู่ทะเล คือ แม่น้ำตาปี และคลองฉนาก
พื้นที่และอาณาเขต
[แก้]เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ 68.97 ตารางกิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำตาปีไหลผ่านภายในเขตเทศบาล โดยมีอาณาเขตดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบางชนะ ตำบลคลองฉนาก และตำบลท่าทองใหม่
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลวัดประดู่ และตำบลขุนทะเล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติเขาท่าเพชร และอำเภอกาญจนดิษฐ์
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลบางชนะ ตำบลบางใบไม้ และตำบลวัดประดู่
มี 3 เทศบาศตำบลล้อมรอบ ได้แก่
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลขุนทะเล
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลท่าทองใหม่
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลวัดประดู่
ภูมิอากาศ
[แก้]เนื่องจากทำเลที่ตั้งรวมถึงภูมิประเทศ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย รวมทั้งมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย ดังนั้น จึงทำให้นครสุราษฎร์ธานีมีช่วงฤดูฝนยาวนานมาก โดยกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 34.0 (93.2) |
36.5 (97.7) |
37.4 (99.3) |
39.1 (102.4) |
37.8 (100) |
37.4 (99.3) |
36.6 (97.9) |
37.7 (99.9) |
35.8 (96.4) |
35.2 (95.4) |
34.4 (93.9) |
35.0 (95) |
39.1 (102.4) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.3 (86.5) |
32.2 (90) |
33.7 (92.7) |
34.6 (94.3) |
33.7 (92.7) |
32.9 (91.2) |
32.6 (90.7) |
32.3 (90.1) |
32.1 (89.8) |
31.1 (88) |
29.6 (85.3) |
29.2 (84.6) |
32.03 (89.65) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 25.0 (77) |
25.8 (78.4) |
27.0 (80.6) |
27.9 (82.2) |
27.4 (81.3) |
27.1 (80.8) |
26.8 (80.2) |
26.7 (80.1) |
26.4 (79.5) |
26.1 (79) |
25.5 (77.9) |
25.2 (77.4) |
26.41 (79.54) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 20.3 (68.5) |
20.0 (68) |
20.9 (69.6) |
22.6 (72.7) |
23.5 (74.3) |
23.5 (74.3) |
23.2 (73.8) |
23.2 (73.8) |
23.0 (73.4) |
22.8 (73) |
22.5 (72.5) |
21.7 (71.1) |
22.27 (72.08) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 14.3 (57.7) |
14.2 (57.6) |
15.6 (60.1) |
18.1 (64.6) |
18.9 (66) |
19.5 (67.1) |
19.7 (67.5) |
18.3 (64.9) |
19.7 (67.5) |
20.3 (68.5) |
17.2 (63) |
16.6 (61.9) |
14.2 (57.6) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 50 (1.97) |
10 (0.39) |
20 (0.79) |
56 (2.2) |
175 (6.89) |
135 (5.31) |
145 (5.71) |
141 (5.55) |
193 (7.6) |
249 (9.8) |
331 (13.03) |
131 (5.16) |
1,636 (64.41) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 4 | 1 | 2 | 5 | 14 | 13 | 14 | 14 | 16 | 16 | 17 | 10 | 126 |
แหล่งที่มา: NOAA (1961-1990)[1] |
ประชากร
[แก้]เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี มีประชากรประมาณ 127,753 คน เป็นชาย 60,812 คน หญิง 66,684 คน[2] เนื้อที่ 68.97 ตารางกิโลเมตร เดิมพื้นที่นี้เคยเป็นอู่ต่อเรือรบ ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย
การขนส่ง
[แก้]ระยะทางจากเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีไปยังจังหวัดใกล้เคียง โดยประมาณ คือ
- จังหวัดชุมพร 192 กิโลเมตร
- จังหวัดระนอง 219 กิโลเมตร
- จังหวัดนครศรีธรรมราช 139 กิโลเมตร
- จังหวัดพังงา 196 กิโลเมตร
- สถานีขนส่งหลักที่สำคัญ
- สถานีขนส่งสุราษฎร์ธานี
- ท่าเทียบเรือนอน ไปเกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า
- ท่าเทียบเรือนอนเฟอร์รี่ ไปเกาะเต่า
- สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
- ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Climate Normals for Surat Thani". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
- ↑ "รายงานสถิติประชากร ประจำปี 2551 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2009-02-11.