ข้ามไปเนื้อหา

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
ถนนสายเอเชีย
แผนที่
Thailand AH1 AH2 Route 32 Ayutthaya.JPG
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว150.545 กิโลเมตร (93.544 ไมล์)
ประวัติ
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2509 (ตามราชกิจจานุเบกษา) และ พ.ศ. 2516–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ ถ.พหลโยธิน / ถ.กาญจนาภิเษก (ตะวันตก) ใน อ.บางปะอิน จ.อยุธยา
 
ปลายทางทิศเหนือ ถ.พหลโยธิน ใน อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 สายบางปะอิน–แยกหลวงพ่อโอ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธาน เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพมหานครสู่จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 150.545 กิโลเมตร ในอนาคตมีโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 5 สายบางปะอิน-นครสวรรค์ โดยใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32

เส้นทาง

[แก้]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 แยกออกจากถนนพหลโยธิน ที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 ในอำเภอบางปะอิน และอำเภอวังน้อย
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บริเวณทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เริ่มต้นบนถนนพหลโยธิน และถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก ที่ทางแยกต่างระดับบางปะอิน 1 ในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มุ่งหน้าขึ้นไปทางเหนือ ผ่านนิคมอุตสาหกรรมไฮ-เทค เข้าสู่อำเภอพระนครศรีอยุธยา ผ่านศูนย์ราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค ผ่านอำเภออุทัย ข้ามแม่น้ำป่าสักในตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง ไปตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 ในอำเภอบางปะหัน (ช่วงนี้มี 12 ช่องจราจร แบ่งเป็นช่องทางหลัก 8 ช่อง และทางคู่ขนาน 4 ช่อง) จากนั้นมุ่งขึ้นไปทางเหนือ เข้าสู่จังหวัดอ่างทอง ผ่านอำเภอเมืองอ่างทอง และอำเภอไชโย เข้าสู่จังหวัดสิงห์บุรี ผ่านอำเภอพรหมบุรี, อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภออินทร์บุรี จากนั้นเข้าสู่จังหวัดชัยนาท ผ่านอำเภอสรรพยา, อำเภอเมืองชัยนาท และบรรจบกับถนนพหลโยธิน ที่แยกหลวงพ่อโอ ในอำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท (ช่วงนี้มี 8 ช่องจราจร)

ประวัติ

[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 เปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในโครงข่ายทางหลวงสายเอเชีย โดยทางหลวงสายนี้เป็นทางหลวงเอเชียสาย 1 (แม่สอด-ตาก-พยุหะคีรี-บางปะอิน-หินกอง-นครนายก-ปราจีนบุรี-อรัญประเทศ) และทางหลวงเอเชียสาย 2 (แม่สาย-เชียงราย-พิษณุโลก-นครสวรรค์-บางปะอิน-กรุงเทพฯ-นครปฐม-เพชรเกษม-หาดใหญ่-สะเดา) ตามลำดับ แต่เดิมเป็นเพียงทางหลวงขนาด 2 ช่องจราจรสวนทาง และมีด่านเก็บค่าผ่านทางที่บางปะอิน บางปะหัน พรหมบุรี และสรรพยา เพื่อนำมาเป็นเงินทุนสำรองค่าธรรมเนียมผ่านทาง สำหรับนำไปชดใช้ดอกเบี้ยเงินกู้ และบูรณะทางหลวง เช่นเดียวกับถนนมิตรภาพ (ช่วงสระบุรี-นครราชสีมา) ถนนบางนา-บางปะกง และถนนพระรามที่ 2 ในสมัยนั้น (คล้ายกับทางหลวงพิเศษ) แต่เมื่อนายจรัส พั้วช่วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในขณะนั้น ประกาศยกเลิกเก็บค่าผ่านทางช่วงปี 2537 ทำให้ด่านต่าง ๆ กลายสภาพเป็นด่านร้างในที่สุด บ้างก็ถูกดัดแปลงเป็นสำนักงานแขวงการทาง, หมวดการทาง และด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุก[1]

ทางหลวงสายนี้ได้ขยายเป็น 4 ช่องจราจรเมื่อปี พ.ศ. 2535 ถึง พ.ศ. 2537 โดยได้มีการสร้างทางแยกต่างระดับตามจุดต่าง ๆ เช่น พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี อินทร์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี และยกเลิกการเก็บค่าผ่านทาง และในปี พ.ศ. 2549 กรมทางหลวงได้ทำการขยายช่องจราจรเป็น 6-8 ช่องจราจรไป-กลับ ปัจจุบันแล้วเสร็จทั้งโครงการ ปัจจุบันทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ได้นับหลักกิโลเมตรที่ 0 จากต่างระดับบางปะอิน แต่เดิมนั้นได้นับหลักกิโลเมตรจากถนนพหลโยธินมา

ทางแยกที่สำคัญ

[แก้]
รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ทิศทาง: บางปะอิน−มโนรมย์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
บางปะอิน−มโนรมย์
พระนครศรีอยุธยา 0+000 ทางแยกต่างระดับบางปะอิน ถนนพหลโยธิน ไป กรุงเทพมหานคร ถนนพหลโยธิน ไป สระบุรี
ถนนกาญจนาภิเษก ไป อ.บางบัวทอง, จ.กรุงเทพ ไม่มี
1+363 ถนนอุดมสรยุทธ์ ไป อ.บางปะอิน ไม่มี
14+543 ทล.356 ไปบรรจบ ทล.347 ไม่มี
18+400 ทางแยกต่างระดับอยุธยา ถนนโรจนะ เข้า จ.อยุธยา ถนนโรจนะ ไป อ.อุทัย อ.วังน้อย
26+858 สะพาน ข้ามแม่น้ำป่าสัก
30+870 สะพาน ข้ามแม่น้ำลพบุรี
35+432 ทางแยกต่างระดับบางปะหัน ทล.347 ไป จ.ปทุมธานี ทล.347 ไป อ.บางปะหัน, อ.ภาชี, จ.ลพบุรี
37+970 ทางแยกนครหลวง ทล.33 ไป อ.ป่าโมก, จ.สุพรรณบุรี ทล.33 ไป อ.ภาชี, จ.สระบุรี
จุดขึ้น-ลงบางปะหัน (2) ทล.พ.53 (โครงการในอนาคต) ไป แจ้งวัฒนะ, ดินแดง, พระราม 9 ไม่มี
อ่างทอง 50+001 ทางแยกต่างระดับอ่างทอง ทล.334 เข้า จ.อ่างทอง ถนนอ่างทอง-ท่าเรือ ไป อ.มหาราช, อ.ท่าเรือ
สิงห์บุรี 84+000 ทางแยกต่างระดับสิงห์บุรีใต้ ทล.311 เข้า จ.สิงห์บุรี ทล.311 ไป จ.ลพบุรี
87+596 ทางแยกต่างระดับสิงห์บุรีเหนือ ทล.335 เข้า จ.สิงห์บุรี ไม่มี
106+500 ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ไม่มี ทล.11 ไป อ.ตากฟ้า
ชัยนาท 131+595 ทางแยกต่างระดับชัยนาท ถนนพหลโยธิน เข้า จ.ชัยนาท ถนนพหลโยธิน ไป อ.ตาคลี
138+800 แยกหางน้ำสาคร ทล.3212 ไป อ.มโนรมย์ ทล.3212 ไป สถานีรถไฟหนองโพ
150+545 แยกหลวงพ่อโอ ถนนพหลโยธิน ไป ชัยนาท ไม่มี
ตรงไป: ถนนพหลโยธิน ไป จ.นครสวรรค์
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]