เทศบาลเมืองพระพุทธบาท

พิกัด: 14°43′17″N 100°48′17″E / 14.72139°N 100.80472°E / 14.72139; 100.80472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลเมืองพระพุทธบาท
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Mueang Praphutthabat
วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
ทม.พระพุทธบาทตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี
ทม.พระพุทธบาท
ทม.พระพุทธบาท
ที่ตั้งของเทศบาลเมืองพระพุทธบาท
พิกัด: 14°43′17″N 100°48′17″E / 14.72139°N 100.80472°E / 14.72139; 100.80472
ประเทศ ไทย
จังหวัดสระบุรี
อำเภอพระพุทธบาท
พื้นที่
 • ทั้งหมด29.6 ตร.กม. (11.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2561)[1]
 • ทั้งหมด34,009 คน
 • ความหนาแน่น1,148.95 คน/ตร.กม. (2,975.8 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.04190901
ที่อยู่
สำนักงาน
159 หมู่ที่ 9 ถนนพหลโยธิน ตำบลขุนโขลน อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120
เว็บไซต์www.praphutthabat.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เมืองพระพุทธบาท เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดสระบุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพระพุทธบาทและตำบลขุนโขลนทั้งตำบล รวมทั้งบางส่วนของตำบลธารเกษมและตำบลพุคำจาน

ประวัติ[แก้]

เทศบาลเมืองพระพุทธบาท ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งเป็นเทศบาล โดยยกฐานะจากสุขาภิบาลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ขึ้นเป็นเทศบาลตำบลพระพุทธบาท มีชื่อว่า "เทศบาลตำบลพระพุทธบาท" และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 104 ตอนที่ 224 ลงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2530 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2530 เป็นเทศบาลลำดับที่ 130 (ไม่รวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ ประกาศเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ขึ้นเป็นเทศบาลเมืองพระพุทธบาท ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2549 จนถึงปัจจุบัน[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลเมืองพระพุทธบาท ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดสระบุรี ระยะทางห่างจากศาลากลางจังหวัดสระบุรีประมาณ 28 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 136 กิโลเมตร มีพื้นที่ 29.6 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล 32 หมู่บ้าน ของอำเภอพระพุทธบาท คือ

  • ตำบลขุนโขลน หมู่ที่ 1–11
  • ตำบลพระพุทธบาท ไม่มีการแบ่งหมู่บ้าน
  • ตำบลธารเกษม หมู่ที่ 1, 7, 8, 9, 10 และ 12
  • ตำบลพุคำจาน หมู่ที่ 7 และ 9

มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลตำบลธารเกษม และองค์การบริหารส่วนตำบลพุคำจาน อำเภอพระพุทธบาท
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลเขาวง เทศบาลตำบลพุกร่าง และเทศบาลตำบลหนองแก อำเภอพระพุทธบาท
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท

ชุมชน[แก้]

เทศบาลเมืองพระพุทธบาทแบ่งออกเป็น 30 ชุมชน

  1. ชุมชนร่วมใจพัฒนา
  2. ชุมชนนันทปัญญา
  3. ชุมชนท้ายพิกุล 1
  4. ชุมชนท้ายพิกุล 2
  5. ชุมชนประชาบำรุง
  6. ชุมชนศรีรักษา
  7. ชุมชนอินทร์พิทักษ์
  8. ชุมชนภัณฑคีรี
  9. ชุมชนกุมกัณฑ์ทดน้ำ
  10. ชุมชนอินทรักษาสามัคคี
  11. ชุมชนขุนโขลนพัฒนา
  12. ชุมชนเมืองทอง
  13. ชุมชนหมู่ 3 ขุนโขลน
  14. ชุมชนเขาเงิน
  15. ชุมชนศรีสุขพัฒนา  
  16. ชุมชนหลังโรงพยาบาล
  17. ชุมชนธารทองแดง
  18. ชุมชนซับชะอม
  19. ชุมชนอาสาพัฒนา
  20. ชุมชนราชพฤกษ์
  21. ชุมชนยุคลธร
  22. ชุมชนขุนโขลนสามัคคี (หมู่ 5,6)
  23. ชุมชนป.การ์เด้นท์
  24. ชุมชน หมู่ 5 พระพุทธบาท
  25. ชุมชนธารเกษมพัฒนา
  26. ชุมชนตลาดนิคมพระพุทธบาทพัฒนา
  27. ชุมชนปทุมกรสุขสำราญร่วมใจ
  28. ชุมชนถ้ำกระบอก
  29. ชุมชนเปรมประชาคม
  30. ชุมชนบ้านคุ้งพัฒนา

การขนส่ง[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินที่ผ่านเทศบาลเมืองพระพุทธบาทมีดังนี้

สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 m้องถิ่นเทศบาลเมืองพระพุทธบาท". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นเทศบาลเมืองพระพุทธบาท" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 123 (พิเศษ 5 ง): 2. 12 มกราคม 2549.