เทศบาลเมืองบางมูลนาก
เทศบาลเมืองบางมูลนาก | |
---|---|
![]() ตลาดบางมูลนาก (จากศาลเจ้าพ่อแก้ว) | |
พิกัด: 16°01′36.2″N 100°22′40.9″E / 16.026722°N 100.378028°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 16°01′36.2″N 100°22′40.9″E / 16.026722°N 100.378028°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | พิจิตร |
อำเภอ | บางมูลนาก |
ตำบล | บางมูลนาก |
จัดตั้ง |
|
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นิเวศน์ น้อยอ่ำ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 2.50 ตร.กม. (0.97 ตร.ไมล์) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 8,448 คน |
• ความหนาแน่น | 3,379.20 คน/ตร.กม. (8,752.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04660501 |
ที่อยู่ สำนักงาน | 99 ถนนประเทืองถิ่น ตำบลบางมูลนาก อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร 66120 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
บางมูลนาก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ในอำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร อดีตท้องที่อำเภอบางมูลนากมีตลาดเป็นที่ประชุมชน มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่เป็นปึกแผ่น มีการคมนาคมและการค้าขายเจริญมาก ยังขาดการบำรุงรักษา ทางราชการจึงได้ตั้ง "สุขาภิบาลท้องที่บางมูลนาก"[3] ขึ้น และนับเป็นพื้นที่ 1 ใน 5 สุขาภิบาลท้องที่ในอดีต (โพธาราม, บ้านโป่ง, ชุมแสง, บางมูลนาก และบ้านหมี่) ซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่อดีต เพื่อบำรุงความสุขและความสะดวกของประชาชนให้ยิ่งขึ้น นับว่าเป็นสุขาภิบาลท้องที่เพียงแห่งเดียวของจังหวัด ก่อนที่จะยกขึ้นเป็น "เทศบาลเมืองบางมูลนาก"[4] ในปี พ.ศ. 2478 และนับว่าเป็นเทศบาลเมืองแห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ซึ่งนับได้ว่าเมืองบางมูลนาก เป็นเมืองที่มีความเจริญมากมาตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันเทศบาลมีประชากร 8,448 คน[1]
ชื่อของเทศบาลมีที่มาจากในอดีต คลองบุษบง (เหนือตลาดบางมูลนาก) มีนากชุกชุมและได้ถ่ายมูลไว้เกลื่อนกลาดทั้งบริเวณนั้น จึงเรียกว่า "บางขี้นาก" ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเป็น "บางมูลนาก" พื้นที่ของเทศบาลเป็นที่ราบลุ่มซึ่งมีแม่น้ำน่านไหลผ่าน ทำให้มักประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้ง[5][6] ตัวเทศบาลมีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลหอไกร เทศบาลตำบลเนินมะกอก และองค์การบริหารส่วนตำบลภูมิ[7] นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ กระยาสารท ส้มลิ้ม[8][9][10] และขนมจีบบางมูลนาก ซึ่งขายมานานกว่า 45 ปี[11]
เทศบาลเมืองบางมูลนาก เป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบางมูลนากบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ ซึ่งในปัจจุบันมักมีการบำรุงทางโดยการเสริมหินอยู่บ่อยครั้งเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยที่มาจากแม่น้ำน่าน[5] ตัวสถานีรถไฟมีขบวนรถไฟจอดหลายขบวน ทั้งรถธรรมดา รถเร็ว และรถด่วนพิเศษสปรินเทอร์สายกรุงเทพ–สวรรคโลก–ศิลาอาสน์ เทศบาลยังเป็นที่ตั้งของตลาดบางมูลนาก ซึ่งเปิดทำการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/ [ม.ป.ป.]. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2563.
- ↑ ประชากรในเทศบาลเมืองบางมูลนาก พ.ศ. 2562 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศจัดการศุขาภิบาล อำเภอบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร์ มณฑลพิศณุโลก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 576–578. วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2460
- ↑ "พระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเทศบาลเมืองบางมูลนาค จังหวัดพิจิตร พุทธศักราช ๒๔๗๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 52 (0 ก): 1777–1780. วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2478
- ↑ 5.0 5.1 เสริมหินรางรถไฟระหว่างสถานีบางมูลนาก-วังกร่าง ป้องกันน้ำท่วม
- ↑ น้ำจากเทือกเขาเพชรบูรณ์หลากท่วม อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร
- ↑ ข้อมูลทั่วไปเทศบาลเมืองบางมูลนาก
- ↑ อำเภอบางมูลนากแปรรูปมะม่วงเป็นส้มแผ่นรสเลิศ เพิ่มมูลค่าหารายได้หน้าร้อน
- ↑ เยาวชน จ.พิจิตร รับจ้างทำมะม่วงกวนช่วงปิดเทอม-รายได้ดีมีเงินเก็บ
- ↑ ปิดเทอม นักเรียนออกรับจ้างทำ "ส้มแผ่น" ของฝาก
- ↑ ข่าวช่อง8พิจิตร-ขนมจีบบางมูลนาก (ป้าเชียร) เจ้าเก่าดั้งเดิม
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |