ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครสมุทรสาคร

พิกัด: 13°32′55.6″N 100°16′38.9″E / 13.548778°N 100.277472°E / 13.548778; 100.277472
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครสมุทรสาคร
ย่านตลาดมหาชัย
ย่านตลาดมหาชัย
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครสมุทรสาคร
ตรา
สมญา: 
เมืองมหาชัย
ทน.สมุทรสาครตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร
ทน.สมุทรสาคร
ทน.สมุทรสาคร
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลนครสมุทรสาคร
ทน.สมุทรสาครตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.สมุทรสาคร
ทน.สมุทรสาคร
ทน.สมุทรสาคร (ประเทศไทย)
พิกัด: 13°32′55.6″N 100°16′38.9″E / 13.548778°N 100.277472°E / 13.548778; 100.277472
ประเทศ ไทย
จังหวัดสมุทรสาคร
อำเภอเมืองสมุทรสาคร
จัดตั้ง • 2448 (สุขาภิบาลท่าฉลอม)
 • 10 ธันวาคม 2478 (ทม.สมุทรสาคร)
 • 11 พฤศจิกายน 2542 (ทน.สมุทรสาคร)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีชุมพล จันทร์จรัสวัฒนา
พื้นที่
 • ทั้งหมด10.33 ตร.กม. (3.99 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2563)[1]
 • ทั้งหมด65,409 คน
 • ความหนาแน่น6,331.95 คน/ตร.กม. (16,399.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03740102
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 920/186 ถนนสุคนธวิท ตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร 74000
เว็บไซต์www.sakhoncity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครสมุทรสาคร เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัด[2] เคยเป็นสุขาภิบาลแห่งที่สองของประเทศไทย ที่มีชื่อว่า สุขาภิบาลท่าฉลอม และเป็นที่ตั้งของตลาดมหาชัย มีพื้นที่ 10.33 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกรากทั้งตำบล มีประชากรในปี พ.ศ. 2563 จำนวน 65,409 คน[1]

ชื่อ

[แก้]

สมุทรสาครในอดีตเคยถูกเรียกว่า ท่าจีน เพราะเคยเป็นท่าเรือที่สำคัญสำหรับเรือสำเภาจีนจำนวนมาก ในปี 2091 เมืองสาครบุรีถูกตั้งขึ้นที่ปากแม่น้ำท่าจีนในช่วงต้นรัชสมัยของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เป็นศูนย์กลางการเกณฑ์ทหารจากหัวเมืองชายทะเลต่าง ๆ ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเมืองจากสาครบุรีเป็นมหาชัย เมื่อคลองมหาชัยถูกขุดขึ้นในปี 2247 ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดีหรือสมเด็จพระเจ้าเสือเพื่อเชื่อมแม่น้ำท่าจีนกับตัวเมือง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามเมืองมหาชัยเสียใหม่เป็น สมุทรสาคร ดังในปัจจุบัน แต่ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมเรียกว่า มหาชัย[2]

การขนส่ง

[แก้]

รถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในพื้นที่เทศบาลนครสมุทรสาคร ได้แก่ สาย 7 เอกชัย–หัวลำโพง, สาย 68 สมุทรสาคร–บางลำภู, สาย 120 สมุทรสาคร–แยกบ้านแขก, และสาย 4-18 (105 เดิม) สมุทรสาคร-BTS กรุงธนบุรี นอกจากนี้ ยังมีรถสองแถวสีส้ม ปิ่นทอง–มหาชัย, รถสองแถวสีเหลือง เคหะชุมชนธนบุรี–มหาชัย, รถเมล์สีส้ม สาย 402 นครปฐมกระทุ่มแบน–มหาชัย, และรถเมล์สีแดง 481 สมุทรสงคราม–สมุทรสาคร ส่วนการขนส่งทางรางมีทางรถไฟสายแม่กลอง เริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร สิ้นสุดที่สถานีรถไฟมหาชัย และเริ่มต้นอีกช่วงหนึ่งที่สถานีรถไฟบ้านแหลม ต่อไปยังจังหวัดสมุทรสงคราม

รถไฟ

[แก้]

ทางหลวง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2563 ท้องถิ่นเทศบาลนครสมุทรสาคร". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง.
  2. 2.0 2.1 "Samut Sakhon". Tourist Authority of Thailand (TAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2015. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]