เทศบาลเมืองเมืองปัก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เทศบาลเมืองเมืองปัก | |
---|---|
คำขวัญ: เทศบาลเมืองเมืองปักน่าอยู่ ถนนสวย น้ำใส ไร้มลพิษ ประชาร่วมคิดพัฒนา ชาวประชามีสุข | |
พิกัด: 14°43′54″N 102°01′40″E / 14.73167°N 102.02778°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 14°43′54″N 102°01′40″E / 14.73167°N 102.02778°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นครราชสีมา |
อำเภอ | ปักธงชัย |
ตำบล | เมืองปัก (บางส่วน) ธงชัยเหนือ (บางส่วน) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | มงคล ประยูรหงษ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 12.41 ตร.กม. (4.79 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 14,121 คน |
• ความหนาแน่น | 1,137.87 คน/ตร.กม. (2,947.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04301402 |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลเมืองเมืองปัก เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ถนนสืบศิริ ตำบลเมืองปัก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา 30150 |
โทรศัพท์ | 0 4428 4647 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เทศบาลเมืองเมืองปัก เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเมืองปัก และบางส่วนของตำบลธงชัยเหนือ มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 14,121 คน[1]
ประวัติ[แก้]
เทศบาลเมืองเมืองปักเป็นเทศบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอปักธงชัย ในอดีตเป็นสุขาภิบาลที่มีชื่อว่า สุขาภิบาลเมืองปัก และได้มีการยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองปักเป็น เทศบาลตำบลเมืองปัก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะเทศบาลตำบลเมืองปักเป็น เทศบาลเมืองเมืองปัก
เขตการปกครอง[แก้]
เทศบาลเมืองเมืองปักมีพื้นที่ 12.41 ตารางกิโลเมตร (ที่มา: ระบบสารสนเทศ GIS ของสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดนครราชสีมา) ประกอบไปด้วยพื้นที่ 14 ชุมชน 2 ตำบล คือ ตำบลเมืองปัก หมู่ที่ 1, 2, 3, 8, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 17 และบางส่วนของตำบลธงชัยเหนือ
ประชากร[แก้]
ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 เขตเทศบาลเมืองเมืองปักมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 14,322 คน แยกเป็นชาย 6,813 คน หญิง 7,509 คน มีผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 99 มีจำนวนวัด 4 วัด ได้แก่ วัดกลางปักธงชัย วัดโพธิ์เมืองปัก วัดอัมพวัน และวัดโนนขุนชัย ประชากรในเขตเทศบาลเมืองเมืองปักส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประเภทอุตสาหกรรมครัวเรือนและการเกษตร
การศึกษา[แก้]
สถานการศึกษาในเขตเทศบาล ได้แก่
- โรงเรียนปักธงชัยประชานิรมิต
- โรงเรียนปักธงชัยชุณหะวัณวิทยาคาร
- โรงเรียนมารีย์ธงชัย
- โรงเรียนอนุศาสน์วิทยา
- โรงเรียนสายมิตรปักธงชัย 7
การขนส่ง[แก้]
เทศบาลเมืองเมืองปักมีเส้นทางการคมนาคมติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงรวมทั้งกรุงเทพมหานคร ซึ่งทำเลที่ตั้งของเทศบาลเมืองเมืองปักนับได้ว่าเป็นประตูสู่ภาคตะวันออก สามารถสัญจรไปมาได้โดยสะดวก โดยทางรถยนต์คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304
ถนนสายหลักที่ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมสัญจรไปมาภายในเขตเทศบาลเมืองเมืองปัก คือ ถนนสืบศิริ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 เดิม) ถนนศรีพลรัตน์ ถนนเทพธงชัย ถนนนิวาสดำเนิน ถนนนิวาสวัฒนกิจ ถนนประชาอุทิศ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองเมืองปัก ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับเขตการปกครองของประเทศไทยนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |