ข้ามไปเนื้อหา

สะพานวิศุกรรมนฤมาณ

พิกัด: 13°45′59″N 100°30′24″E / 13.766499°N 100.506725°E / 13.766499; 100.506725
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานวิศุกรรมนฤมาณ
เส้นทางถนนนครราชสีมาและถนนประชาธิปไตย
ข้ามคลองผดุงกรุงเกษม
ที่ตั้งแขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ตั้งชื่อตามพระวิศวกรรม
ผู้ดูแลกรุงเทพมหานคร
สถานะเปิดใช้งาน
เหนือน้ำสะพานคนเดิน
ท้ายน้ำสะพานคนเดิน
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานแบบโค้ง
วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก
ทางเดิน2
จำนวนตอม่อ3
ประวัติ
ผู้สร้างพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานวิศุกรรมนฤมาณ
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005607
ที่ตั้ง
แผนที่

สะพานวิศุกรรมนฤมาณ หรือ สะพานวิศสุกรรมนฤมาณ [ชื่อที่สะกดตามป้ายชื่อบนสะพาน] สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร และแขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เป็นสะพานเชื่อมระหว่างถนนนครราชสีมาและถนนประชาธิปไตย สะพานวิศุกรรมนฤมาณเป็นหนึ่งในห้าสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น และได้ชื่อที่คล้องจองกัน คือ สะพานเทเวศรนฤมิตร, สะพานวิศุกรรมนฤมาณ, สะพานมัฆวานรังสรรค์, สะพานเทวกรรมรังรักษ์ และสะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์ โดยพระราชเลขานุการซึ่งเชี่ยวชาญภาษามคธ มีความหมายโดยรวมว่า "สะพานที่เทพยดาทรงสร้าง" ซึ่งในส่วนของสะพานวิศุกรรมนฤมาณนั้นมีความหมายว่า "สะพานที่พระวิสสุกรรมทรงสร้าง"

สะพานวิศุกรรมนฤมาณ เดิมเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ มีราวสะพานเป็นรูปกรงเหล็กหล่อ ต่อมาได้มีการปรับปรุงใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดกว้างกว่าเดิม ลักษณะราวสะพานเป็นรูปกรงคอนกรีตโปร่ง มีโค้งออกด้านข้าง ได้รับการบูรณะในปี พ.ศ. 2510[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""สะพานเทวดานฤมิตร" ปราการป้องกันพระนคร". ศิลปวัฒนธรรม. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′59″N 100°30′24″E / 13.766499°N 100.506725°E / 13.766499; 100.506725

สะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม บริเวณวังลดาวัลย์
สะพานวิศุกรรมนฤมาณ
ท้ายน้ำ
สะพานคนเดินข้ามคลองผดุงกรุงเกษม หน้าวัดมกุฏกษัตริยาราม