ข้ามไปเนื้อหา

วัดใหม่อมตรส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดใหม่อมตรส
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 132 ซอยสามเสน 8 ถนนสามเสน แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูวิบูลอนุกิจ (จอย เขมาภิรโต)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดใหม่อมตรส
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005571
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดใหม่อมตรส [ไหฺม่-อะ-มะ-ตะ-รด] หรือ วัดบางขุนพรหม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา

วัดสร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี ประมาณ พ.ศ. 2321 ไม่ปรากฎนามผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2321 เดิมทีนั้นวัดมีชื่อว่า วัดวรามะตาราม แต่ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดอำมาตยรส หรือ วัดอมฤตยรส ในปี พ.ศ. 2460 ในปี พ.ศ. 2411–2413 ได้ทำการก่อสร้างปฎิสังขรณ์วัดใหม่เริ่มดำเนินการโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างถนนผ่านกลางวัด จึงกลายเป็น 2 วัด คือวัดบางขุนพรหมนอก (วัดใหม่อมตรส) และวัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร) โดยใช้ชื่อว่าวัดใหม่อมตรสในปี พ.ศ. 2460 และได้ทำการผูกพันธสีมาใหม่ ระหว่างวันที่ 4–10 มกราคม พ.ศ. 2509[1]

วัดใหม่อมตรสมีชื่อเสียงในด้านวัตถุมงคล คือ พระสมเด็จกรุบางขุนพรหม[2] โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม รับเป็นประธานในการจัดสร้าง พระพิมพ์สมเด็จ (พระเครื่อง) ที่สร้างจากผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห และมหาราช ตามที่เสมียนตราด้วง ต้นตระกูล ธนโกเศต ได้ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น เพื่อบรรจุในองค์เจดีย์ เมื่อ พ.ศ. 2413–2415 เจ้าประคุณสมเด็จได้เมตตาโขลกตำผง ผสมผงวิเศษ และอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยตัวท่านเอง[3]

รายนามเจ้าอาวาส

[แก้]
  1. พระอธิการอ่อน
  2. พระอธิการอยู่
  3. พระอธิการเทศ
  4. พระอธิการแถม
  5. พระครูอมรคณาจารย์ (เส็ง) พ.ศ. 2446 — 2512
  6. พระครูบริหารคุณวัตร (ชม สิรินฺธโร) พ.ศ. 2515 — 2551
  7. พระครูพิพัฒนานุกูล (เทียม นนฺทโก) พ.ศ. 2551 — 2562
  8. พระครูวิบูลอนุกิจ (จอย เขมาภิรโต) พ.ศ. 2563 — ปัจจุบัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "วัดใหม่อมตรส". กองการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-29. สืบค้นเมื่อ 2020-07-29.
  2. โคมคำ (6 สิงหาคม 2560). "พระสมเด็จหลวงปู่ลำภู พระกรุบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส กทม". มติชนสุดสัปดาห์.
  3. บุญนำพา (2 สิงหาคม 2554). "วัดใหม่อมตรสจัดสร้างพระสมเด็จ(โต) ย้อนยุค". คมชัดลึก.