ห้างไนติงเกล
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ห้างไนติงเกล | |
---|---|
ห้างไนติงเกลในเดือนกันยายน พ.ศ. 2567 | |
ชื่ออื่น | ไนติงเกล-โอลิมปิค |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | เสร็จสมบูรณ์ |
ประเภท | ห้างสรรพสินค้า |
ที่อยู่ | 70 ถนนตรีเพชร แขวงบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ |
เจ้าของ | บริษัท ไนติงเกล โอลิมปิค จำกัด |
การออกแบบและการก่อสร้าง | |
เป็นที่รู้จักจาก | ห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดบริการอยู่ในประเทศไทย |
เว็บไซต์ | |
nightingaleolympic |
ห้างไนติงเกล หรือชื่อเต็ม ไนติงเกล-โอลิมปิค เป็นห้างสรรพสินค้าที่มีอายุยาวนานที่สุด ที่ยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ในประเทศไทย ตัวอาคารมีทั้งหมด 3 คูหา 7 ชั้น ตั้งอยู่ที่บริเวณแยกพาหุรัด แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มเปิดกิจการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 โดยมี นายนัติ นิยมวานิช เป็นผู้ก่อตั้ง จากกิจการร้านค้าเล็ก ๆ เพียงคูหาเดียว ใกล้กับศาลาเฉลิมกรุง ในยุคเริ่มแรกก็ได้ขยับขยายจนเปิดกิจการภายใต้ชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2509
ประวัติ
[แก้]ห้างไนติงเกลใช้การโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อประชาสัมพันธ์ห้างเป็นเจ้าแรก ๆ ในประเทศไทย รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่จัดเพื่อดึงดูดลูกค้าวัยรุ่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายในยุคนั้น มีคำขวัญหรือสโลแกนของห้างว่า “คลังแห่งเครื่องกีฬา ราชาเครื่องดนตรี ราชินีเครื่องสำอาง”
ห้างไนติงเกล ยังเป็นเสมือนฟิตเนสแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อเริ่มแรกทางห้างจะมี จักรยานปั่นออกกำลังกาย, ลู่วิ่ง, ดรัมเบลไว้บริการลูกค้า โดยคิดราคาชั่วโมงละ 100 บาท ส่วนแผนกเครื่องสำอางก็มีโต๊ะเครื่องแป้ง อุปกรณ์แต่งหน้า-ทำผม ซึ่งเป็นเสมือนสถานเสริมความงามเพื่อให้บริการลูกค้าในยุคนั้น[1]
ปัจจุบันห้างดังกล่าวกำลังประสบปัญหาขาดทุน โดยพบว่าระหว่างปี 2554–2560 บริษัทฯ ขาดทุนรวมกว่า 10,000 ล้านบาท โดยมาร์เก็ตเทียร์วิเคราะห์ว่า เนื่องจากยังไม่ปรับตัวเข้ากับยุคสมัยใหม่ได้ดีเท่าที่ควรและลูกค้าประจำซึ่งเป็นผู้สูงอายุเสียชีวิตกันไปมาก[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ย้อนรอยความคลาสิคห้าง ไนติงเกล-โอลิมปิก". โอเคเนชั่น. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-04. สืบค้นเมื่อ 2009-01-14.
- ↑ "ห้างไนติงเกล ขาดทุนเท่าไร ? วิเคราะห์สถานการณ์ห้างไนติงเกล ห้างแรกของไทยที่ใกล้จะหมดลมหายใจอย่างช้าๆ". Marketeer Online. 19 June 2019. สืบค้นเมื่อ 31 July 2022.