ข้ามไปเนื้อหา

วัดราชนัดดารามวรวิหาร

พิกัด: 13°45′17″N 100°30′15″E / 13.754835°N 100.504292°E / 13.754835; 100.504292
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดราชนัดดารามวรวิหาร
ทัศนียภาพบริเวณหน้าทางเข้าวัด ซึ่งจะเห็น โลหะปราสาทและอุโบสถ
แผนที่
ที่ตั้งแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเภทพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
นิกายมหานิกาย
เว็บไซต์www.watratchanaddaram.com
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดราชนัดดาราม
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0000039
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดราชนัดดารามวรวิหาร หรือ "วัดราชนัดดา" เป็นวัดตั้งอยู่ที่สี่แยกระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนมหาไชย ในเขตพระนคร แปลว่า “วัดของพระราชนัดดา” วัดนี้สร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3)เพื่อเป็นพระเกียรติแก่สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี พระราชนัดดาในปี 2389[1][2]

ประวัติ

[แก้]

วัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2389 ตรงกับปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บนสวนผลไม้เก่าเนื้อที่ประมาณ 25 ไร่ พระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา คือ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าหญิงโสมนัสวัฒนาวดี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาท แทนการสร้างเจดีย์ นับเป็นโลหะปราสาทแห่งแรกของไทย โดยสร้างเป็นอาคาร 7 ชั้น มียอดปราสาท 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรมในพระพุทธศาสนา 37 ประการ ยอดปราสาทชั้น 7 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ กลางปราสาทเป็นช่องกลวง มีบันไดเวียน 67 ขั้น ให้เดินขึ้นไปดูทิวทัศน์ข้างบนได้

สำหรับสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่ในวัดราชนัดดารามนี้ก็ยังเป็นแบบไทย พระอุโบสถเป็นมีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันลงรักปิดทอง ประดับด้วยกระจกงดงาม ภายในประดิษฐานพระประธานพระนามว่า "พระเสฏฐตมมุนี" ส่วนพระวิหารก็เป็นศิลปะแบบไทยเช่นกัน ภายในมีพระพุทธรูปปางห้ามสมุทรเป็นประธาน พระนามว่า "พระพุทธชุติธรรมนราสพ"

แต่เดิมโลหะปราสาทไม่ได้ตั้งเด่นเป็นสง่าเมื่อผ่านมาทางถนนราชดำเนินเหมือนในปัจจุบัน เพราะมีการก่อสร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย หัวมุมถนนราชดำเนิน ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นโรงภาพยนตร์แห่งแรกของไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทย โดยอ้างว่าตัวอาคารที่บดบังทัศนียภาพของโลหะปราสาท และวัดราชนัดดา ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายในตอนนั้นที่เริ่มทำลายทิ้งมรดกของคณะราษฎร[3] เพราะตัวอาคารเฉลิมไทยนั้นถือได้ว่าเป็นมรดกคณะราษฎรที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งบนถนนราชดำเนิน ทั้งนี่การทำลายมรดกคณะราฎรถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจยิ่งขึ้น เมื่อที่ตั้งของโรงหนังเดิมถูกกลายเป็นลานพลับพลาเจษฎษบดินทร์ สัญลักษณ์ของกลุ่มกษัตริย์นิยมไปแทน

รูปภาพ

[แก้]

ระเบียงภาพโลหะปราสาท

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Datta, Rangan (6 November 2022). "A visit to Loha Prasat in Bangkok will fill you with peace, joy and serenity". No. The Telegraph. My Kolkata. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  2. "Wat Ratchanatdaram Worawihan (Loha Prasat)". Amazing Thailand. Tourism Thailand. สืบค้นเมื่อ 31 August 2023.
  3. "วาทะ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เมื่อทุบ "ศาลาเฉลิมไทย" มอง "สถาปัตยกรรมคณะราษฎร" ต่ำทราม".

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′17″N 100°30′15″E / 13.754835°N 100.504292°E / 13.754835; 100.504292