สี่กั๊กเสาชิงช้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สี่แยก สี่กั๊กเสาชิงช้า
สี่กั๊กเสาชิงช้าในมุมมองที่เห็นธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสี่กั๊กเสาชิงช้า และร้านจำหน่ายใบชา
แผนที่
ชื่ออักษรไทยสี่กั๊กเสาชิงช้า
ชื่ออักษรโรมันSi Kak Sao Chingcha
รหัสทางแยกN092 (ESRI), 177 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนตะนาว
» แยกศาลเจ้าพ่อเสือ
ถนนบำรุงเมือง
» แยกเสาชิงช้า
ถนนเฟื่องนคร
» สี่กั๊กพระยาศรี
ถนนบำรุงเมือง
» แยกสะพานช้างโรงสี

สี่กั๊กเสาชิงช้า เป็นสี่แยกหนึ่งในพื้นที่แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นจุดตัดกันระหว่างถนนตะนาว, ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร โดยเป็นจุดเริ่มของถนนตะนาว และอยู่ใกล้กับแพร่งภูธร ซึ่งบริเวณนี้จะสามารถมองเห็นเสาชิงช้าได้อย่างชัดเจนจากทางด้านถนนบำรุงเมือง

ชื่อ "สี่กั๊ก" นั้นมาจากภาษาแต้จิ๋วจากคำที่ออกเสียงว่า ซี้กั๊ก (อักษรจีน: 四角; จีนกลางออกเสียง ซื่อเจี่ยว) มีความหมายถึง "สี่แยก" โดยเป็นคำเรียกขานของชาวจีนที่ลากรถเจ๊กในอดีต ใช้เรียกสถานที่แห่งนี้เมื่อลากรถผ่าน เช่นเดียวกับสี่กั๊กพระยาศรี ที่อยู่ใกล้เคียงออกไปทางถนนเฟื่องนคร ทางทิศใต้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันทางแยกที่ยังคงเรียกว่า "สี่กั๊ก" เหลือเพียงแค่สองที่นี้เท่านั้น[1] [2]

ในอดีต ที่ยังคงมีพระราชพิธีตรียัมปวาย หรือพิธีโล้ชิงช้า ที่เสาชิงช้า ขบวนของพิธีก็ตั้งต้นขึ้นที่นี่ [1]

อาคารบ้านเรือนของบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้า โดยเฉพาะที่ถนนบำรุงเมืองนั้นจะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ที่มีสถาปัตยกรรมแบบจีน-โปรตุเกส โดยลอกแบบมาจากประเทศสิงคโปร์ ตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงาม และมีจุดเด่นคือ ไม่มีบาทวิถี หรือฟุตบาท เหมือนเช่นถนนอื่น ๆ ส่วนบริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้านั้น จะมีลักษณะเป็นวงเวียน ตัวอาคารที่อยู่ที่นี่จึงถูกออกแบบให้มีความโค้งตามไปด้วยเช่นกัน [1] [3]

ปัจจุบัน บริเวณสี่กั๊กเสาชิงช้าเป็นแหล่งรวมของร้านค้าเครื่องสังฆภัณฑ์ ตลอดจนพระพุทธรูปและเทวรูปต่าง ๆ ซึ่งเปิดกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่ในอดีต และยังมีร้านอาหาร, ตัวแทนจำหน่ายนาฬิกาโรเล็กซ์ และเป็นบริเวณด้านหลังของกระทรวงมหาดไทย รวมถึงร้านจำหน่ายชาที่นำเข้าจากประเทศจีนอีกด้วย[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 LINE กนก (2017-06-06). "Lineกนก 3 แพร่ง 4 มิถุนายน 2560". เนชั่นทีวี.
  2. สงสัย. "สี่กั๊กเสาชิงช้า". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-02. สืบค้นเมื่อ 2018-02-24.
  3. "สามแพร่ง...ทางแยกแห่งทวิภพ". พินิจนคร. 2009-02-23.
  4. "กรุงเทพในอดีต (สี่กั๊กเสาชิงช้า)". MetroTV โทรทัศน์มหานคร. 2015-07-22.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′05″N 100°29′53″E / 13.751469°N 100.498186°E / 13.751469; 100.498186