สะพานอุบลรัตน์
สะพานอุบลรัตน์ | |
---|---|
เส้นทาง | ถนนอัษฎางค์ และถนนราชินี |
ข้าม | คลองคูเมืองเดิม |
ที่ตั้ง | แขวงพระบรมมหาราชวัง และแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ชื่ออื่น | สะพานหัวตะเฆ่ |
ตั้งชื่อตาม | พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา |
ผู้ดูแล | กรุงเทพมหานคร |
สถานะ | เปิดใช้งาน |
เหนือน้ำ | สะพานมอญ |
ท้ายน้ำ | อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |
ข้อมูลจำเพาะ | |
ประเภท | สะพานแบบโค้ง |
วัสดุ | คอนกรีตเสริมเหล็ก |
ความยาว | 25 เมตร |
ความกว้าง | 10.2 เมตร |
ความสูง | 1.5 เมตร |
ทางเดิน | 2 |
ประวัติ | |
วันเปิด | 27 เมษายน พ.ศ. 2456 |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | สะพานอุบลรัตน์ |
ขึ้นเมื่อ | 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000031 |
ที่ตั้ง | |
สะพานอุบลรัตน์ เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมถนนอัษฎางค์และถนนราชินี ตั้งอยู่ระหว่างแขวงพระบรมมหาราชวังกับแขวงบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2531[1]
เดิมรู้จักในชื่อ สะพานหัวตะเฆ่ หรือ สะพานหัวจรเข้[2] เนื่องจากราวสะพานเดิมทำเป็นรูปจระเข้[3] สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สร้างขึ้นเป็นที่ระลึกแด่พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา พระอรรคชายาเธอในรัชกาลที่ 5 ในโอกาสพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวงในปี ร.ศ. 132 แต่หลังจากได้รับพระราชทานทรัพย์แล้ว ถ้าก่อสร้างสะพานขึ้นใหม่ทั้งหมดจะไม่ทันกำหนดการพระเมรุ จึงเลือกที่จะสร้างแทนสะพานเก่าซึ่งคือ สะพานหัวจระเข้ มีพิธีเปิดสะพานเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2456[4]
ลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีความกว้าง 8.5 เมตร ยาว 25.0 เมตร ทางเท้ากว้างด้านละ 1.7 เมตร ราวสะพานสูง 1.5 เมตร[5] มีผังโค้งเป็นครึ่งวงกลม ลูกกรงปูนปั้นเป็นลูกมะหวดกลม พนักเหนือลูกกรงประดับด้วยลายดาราแบบไทย มีแผ่นจากรึกชื่อสะพานและปีพุทธศักราช 2455[6] อยู่กึ่งกลางราวสะพานทั้งสองข้าง ทั้งด้านนอกและด้านในทั้งสองข้าง มีลายดอกอุบลในกรอบสีเหลี่ยมประดับอยู่ในแผ่นจารึก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน โบราณสถานสะพานอุบลรัตน์ กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 พฤศจิกายน 2531. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สะพานชื่อสัตว์ ๑ (๙ มกราคม ๒๕๕๗)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "แกะร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ใน 12 สะพานข้ามคลองโบราณทั่วเกาะรัตนโกสินทร์". เดอะคลาวด์. 18 ตุลาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สะพานอุบลรัตน์ (The Ubolratana Bridge)". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-06. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สะพานอุบลรัตน์". กลุ่มงานสารสนเทศที่ดิน กองสำรวจและแผนที่ที่ดิน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-25. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "สะพาน อุบลรัตน์". สนุก.คอม. 12 เมษายน 2545. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)
จุดข้ามคลองคูเมืองเดิมในปัจจุบัน | |||
---|---|---|---|
เหนือน้ำ สะพานมอญ |
สะพานอุบลรัตน์ |
ท้ายน้ำ อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล |