หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน | |
---|---|
เครื่องหมายราชการ | |
ประจำการ | พ.ศ. 2491 |
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองทัพบกไทย |
ขึ้นกับ | กองทัพบกไทย |
กองบัญชาการ | เลขที่ 2 ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 |
เว็บไซต์ | https://www.tdc.mi.th/index.html |
ผู้บังคับบัญชา | |
ผู้บัญชาการปัจจุบัน | พลโท ทวีพูล ริมสาคร[1] |
หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (นรด.) หรือเดิมใช้ชื่อว่า หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง และ กรมการรักษาดินแดน (ร.ด.) ตามลำดับ เป็นหน่วยงานขึ้นในสังกัดกองทัพบก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2491[2] มีภารกิจหลัก คือ เตรียมกำลังสำรองให้แก่กองทัพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกอบรมเยาวชนของชาติ อันได้แก่ นักศึกษาวิชาทหาร (นศท.)[3]
ปัจจุบัน มีที่ทำการตั้งอยู่ ณ เลขที่ 2 ถนนเจริญกรุง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตัวอาคารสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบปัลลาดีโอ[4] มีความสวยงาม ตั้งแต่ พ.ศ. 2466 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในที่ที่เคยเป็นสวนเจ้าเชตุ และวังท้ายหับเผย ถือเป็นอาคารอนุรักษ์แห่งหนึ่ง[3] โดยเมื่อแรกสร้างนั้นใช้เป็นที่ตั้งของ กรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์[5] (ปัจจุบันหน่วยทหารดังกล่าวคือกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์)
ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 พลโท[6] ทวีพูล ริมสาคร[7] ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ส่วนรองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนได้แก่ พลตรี นราวิชญ์ ปรมาธิกุล[8] และ พลตรี ปัญญา ตั้งความเพียร[9]
ประวัติ
[แก้]กิจการรักษาดินแดนมีที่มาจากพระราชบัญญัติจัดระเบียบป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2491 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2490 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้พลเมืองมีส่วนร่วมในการปกป้องท้องที่ของตนเองโดยที่กองทัพเสียงบประมาณน้อยลง และพลเมืองไม่เสียเวลาประกอบอาชีพ ทั้งนี้เกิดขึ้นหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490[10]: 12 ต่อมามีการแก้ไขสิทธิประโยชน์ตอบแทนของนักศึกษาวิชาทหารให้ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร พ.ศ. 2494[10]: 13
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สัญลักษณ์
[แก้]-
เครื่องหมายราชการของกรมการรักษาดินแดน (พ.ศ. 2494-2549)
-
เครื่องหมายราชการของกรมการรักษาดินแดน ซึ่งมีการเพิ่มเติมรูปรัศมีพระมหามงกุฎและช่อชัยพฤกษ์
-
เครื่องหมายราชการของหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง (พ.ศ. 2549-2552)
-
เครื่องหมายราชการของหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา)
หน่วยงานในสังกัด
[แก้]- โรงเรียนการกำลังสำรอง ศูนย์การกำลังสำรอง
- โรงเรียนรักษาดินแดน ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร
- กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน[11]
- ค่ายฝึกนักศึกษาวิชาทหารเขาชนไก่
- ศูนย์การนักศึกษาวิชาทหาร
- ศูนย์การกำลังสำรอง[12]
รายนามผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
[แก้]เจ้ากรมการรักษาดินแดน
[แก้]- พลเอก สุทธิ สุทธิสารณกร (พ.ศ. 2491 - 2491)
- พลโท ขุนศิลป์ศรชัย (พ.ศ. 2491 - 2492), (พ.ศ. 2494 - 2495)
- พลตรี จำรัส จำรัสโรมรัน (พ.ศ. 2492 - 2494)
- พลโท สุรใจ พูลทรัพย์ (พ.ศ. 2495 - 2506)
- พลโท พิศิษฐ์ ฉายเหมือนวงศ์ (พ.ศ. 2506 - 2507)
- พลโท บุญชัย บำรุงพงศ์ (พ.ศ. 2507 - 2508)
- พลโท ยุทธ สมบูรณ์ (พ.ศ. 2508 - 2513)
- พลโท อุทัย ฉายแสงจันทร์ (พ.ศ. 2513 - 2515)
- พลโท พนม โชติพิมาย (พ.ศ. 2515 - 2517)
- พลโท แสวง ขมะสุนทร (พ.ศ. 2517 - 2519)
- พลโท เอื้อม จิระพงศ์ (พ.ศ. 2519 - 2522)
- พลโท ณรงค์ฤทธิ์ มหารักขกะ (พ.ศ. 2522 - 2523)
- พลโท เทียนชัย สิริสัมพันธ์ (พ.ศ. 2523 - 2525)
- พลโท จารุ จาติกานนท์ (พ.ศ. 2525 - 2528)
- พลโท วิจิตร สุขมาก (พ.ศ. 2528 - 2530)
- พลโท วิโรจน์ แสงสนิท (พ.ศ. 2530 - 2531)
- พลโท วชิรพล พลเวียง (พ.ศ. 2531 - 2533)
- พลโท อารียะ อุโฆษกิจ (พ.ศ. 2533 - 2534)
- พลโท อานุภาพ ทรงสุนทร (พ.ศ. 2534 - 2535)
- พลโท ยุทธพันธุ์ มกรมณี (พ.ศ. 2535 - 2536)
- พลโท ประยูร มีเดช (พ.ศ. 2536 - 2538)
- พลโท การุญ ฉายเหมือนวงศ์ (พ.ศ. 2538 - 2540)
- พลโท พนม จีนะวิจารณะ (พ.ศ. 2540 - 2542)
- พลโท หาญ เพไทย (พ.ศ. 2542 - 2543)
- พลโท เกรียงไกร เจริญศิริ (พ.ศ. 2543 - 2544)
- พลโท จำลอง บุญกระพือ (พ.ศ. 2544)
เจ้ากรมการกำลังสำรองทหารบก
[แก้]- พลตรี เหรียญ ดิษฐบรรจง (พ.ศ. 2513 - 2519)
- พลตรี จิตต์กวี เกษะโกมล (พ.ศ. 2519 - 2521)
- พลตรี มานะ รัตนโกเศศ (พ.ศ. 2521 - 2524)
- พลตรี ศิริชัย ลักษณียนาวิน (พ.ศ. 2524 - 2526)
- พลตรี ปัญญา ขวัญอยู่ (พ.ศ. 2526 - 2528)
- พลตรี ปราโมทย์ ระงับภัย (พ.ศ. 2528 - 2531)
- พลตรี อุทัย ชุณหเพสย์ (พ.ศ. 2531 - 2534)
- พลตรี สุพจน์ เกิดชูชื่น (พ.ศ. 2534 - 2537)
- พลตรี บรรจบ จูภาวิง (พ.ศ. 2537 - 2541)
- พลตรี ศักดิ์สิน ทิพย์เกษร (พ.ศ. 2541 - 2544)
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง
[แก้]- พลโท จำลอง บุญกระพือ (พ.ศ. 2544 - 2545)
- พลโท ชาญวิช ศรีธรรมวุฒิ (พ.ศ. 2545 - 2546)
- พลโท ศักดิ์สิน ทิพย์เกษร (พ.ศ. 2546 - 2547)
- พลโท วิชญ ไขรัศมี (พ.ศ. 2547 - 2548)
- พลโท อาทร โลหิตกุล (พ.ศ. 2548 - 2549)
- พลโท มนตรี สังขทรัพย์ (พ.ศ. 2549 - 2549)
- พลโท สมเกียรติ สุทธิไวยกิจ (พ.ศ. 2549 - 2551)
- พลโท สิงห์ศึก สิงห์ไพร (พ.ศ. 2551 - 2552)
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
[แก้]- พลโท สิงห์ศึก สิงห์ไพร (พ.ศ. 2552 - 2552)
- พลโท ธนดล เผ่าจินดา (พ.ศ. 2552 - 2554)
- พลโท ชูเกียรติ เธียรสุนทร (พ.ศ. 2554 - 2555)
- พลโท วิชิต ศรีประเสริฐ (พ.ศ. 2555 - 2556)
- พลโท ยศนันท์ หร่ายเจริญ (พ.ศ. 2556 - 2557)
- พลโท ทลวงรณ วรชาติ (พ.ศ. 2557 - 2558)
- พลโท วีรชัย อินทุโศภณ (พ.ศ. 2558 - 2560)
- พลโท วิโรจน์ วิจิตรโท (พ.ศ. 2560 - 2561)
- พลโท ปราการ ปทะวานิช (พ.ศ. 2561 - 2564)
- พลโท วสุ เจียมสุข (พ.ศ. 2564 - 2566)
- พลโท ทวีพูล ริมสาคร (พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน)
ยศทหารเป็นยศขณะดำรงตำแหน่งและในวงเล็บเป็นระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 21 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ "นรด.จัดงานวันสถาปนา ครบรอบ 71 ปี". ข่าวสด. 4 February 2019. สืบค้นเมื่อ 1 February 2021.
- ↑ 3.0 3.1 "หน่วยบัญชาการกำลังสำรอง : ความสำคัญ". หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ "เจริญกรุง แรกมีความศิวิไลซ์ในสยาม". พินิจนคร. 2009-02-02.
- ↑ "กรมการรักษาดินแดน". ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-10-01. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 6 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 21 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 262 ง 21 กันยายน พ.ศ. 2567
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 25 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
- ↑ 10.0 10.1 เกตวงกต, ธนัย (2560). ประวัติศาสตร์การเกณฑ์ทหารในสังคมไทย (PDF). มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท. สืบค้นเมื่อ 9 December 2022.
- ↑ "กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน". www.facebook.com.
- ↑ "หน้าแรก". ศูนย์การกำลังสำรอง. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-04. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-27. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.