สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
Royal Graveyard of Wat Ratchabopit (2).jpg
ทางเข้าสุสานหลวง
รายละเอียด
ก่อตั้งพ.ศ. 2440
ที่ตั้ง
ประเทศประเทศไทย
ชนิดสุสานหลวง
จำนวนหลุมศพ13 อนุสาวรีย์
จำนวนร่างที่ฝัง9 พระองค์
จำนวนร่างที่เผา212 พระองค์
ขึ้นเมื่อ22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
เป็นส่วนหนึ่งของวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
เลขอ้างอิง0000007
สุสานหลวงวัดราชบพิธ (อนุสรณ์สถานเจดีย์ทอง 4 องค์)
แผนผังสุสานหลวง แสดงที่ตั้งของอนุสาวรีย์ต่างๆ

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก (ราชวรมหาวิหาร) ประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งมิเพียงคงความวิจิตรงดงามในเชิงสถาปัตยกรรมไทยแบบพระราชนิยมแห่งหนึ่งในกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พระอารามนี้ยังประกอบด้วยเขตสุสานหลวงจุฬาลงกรณ์ราชสันตติวงศ์ อันเป็นบริเวณเฉพาะที่นับเนื่องด้วยราชสกุลและสายสัมพันธ์แห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารเป็นสุสานที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ผู้ที่มีความรักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดคือ พระมเหสี เจ้าจอมมารดา และพระราชโอรส พระราชธิดา ได้อยู่รวมกันหลังจากที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ในทั่วไปจะเป็นการสร้างอนุสาวรีย์ของพระมเหสีและเจ้าจอมมารดา เพื่อให้ลูกได้อยู่รวมกับแม่หรืออย่างน้อยในบ้านของแม่ เว้นแต่ในกรณีที่พระราชโอรสหรือพระราชธิดาสิ้นพระชนม์ก่อนพระมารดาก็สร้างอนุสาวรีย์ของพระเจ้าลูกเธอพระองค์นั้นไปก่อน

ประวัติสุสานหลวง[แก้]

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เป็นแม่กองก่อสร้างสุสานหลวงขึ้นในที่อุปจารชานกำแพงวัดด้านทิศตะวันตก (ติดกับถนนอัษฎางค์ ริมคลองคูเมืองเดิม นอกเขตกำแพงมหาสีมาธรรมจักรของวัด) ต่อมาเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2440 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้านิลวรรณ เป็นแม่กองจัดทำสืบต่อมา อนุสาวรีย์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ (กระดูก) และพระสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ไว้นั้นเพื่อเป็นพระบรมราชูทิศพระราชกุศลแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระองค์ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ กันทั้งพระเจดีย์ พระปรางค์ วิหารแบบไทย แบบขอม (ศิลปะปรางค์ลพบุรี) และแบบโกธิค โดยตั้งอยู่ในสวนซึ่งมีต้นลั่นทมและพุ่มพรรณไม้ต่าง ๆ ปลูกไว้อย่างสวยงาม อนุสาวรีย์ที่สำคัญคือ เจดีย์สีทอง 4 องค์ เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ซึ่งมีชื่อสอดคล้องกันดังนี้

นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์ที่สำคัญอื่น ๆ ประดิษฐานอยู่ในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามด้วย เช่น พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี (สายราชสกุลยุคล) อนุสาวรีย์เจ้าดารารัศมี พระราชชายา วิหารน้อย (สายเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ และเจ้าจอมมารดาโหมด) เป็นต้น สุสานหลวงในปัจจุบันมีจำนวนอนุสาวรีย์ทั้งหมด 34 องค์ และมีการจัดตั้งกองทุนสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารขึ้นมาดูแลรักษาสุสานหลวงให้มีความงดงามเพื่อชนรุ่นหลังได้เข้าชมต่อไป

อนุสรณ์สถานสำคัญ[แก้]

สุนันทานุสาวรีย์[แก้]

สุนันทานุสาวรีย์
รังษีวัฒนา

เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง แต่ละด้านมีซุ้มเป็นจัตุรมุข ยอดสถูปประดับด้วยโมเสคทอง ประตูทั้งสี่ด้านเป็นไม้ปิดทองฝังลายกระจกสี ภายในบรรจุ

รังษีวัฒนา[แก้]

เป็นอาคารจัตรมุข ยอดสถูป มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน ตรงกลางเป็นสถูปขนาดใหญ่บุด้วยโมเสคสีทอง ส่วนสถูปย่อมกว่าอีก 3 องค์ทาด้วยสีขาว ภายในบรรจุพระอัฐิและพระสรีรางคารของพระราชโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า)[1] รวมทั้งสมาชิกสายราชสกุลมหิดล ได้แก่

เสาวภาประดิษฐาน[แก้]

เสาวภาประดิษฐาน

เป็นอาคารจัตุรมุข ยอดสถูป สถูปองค์กลางมีขนาดใหญ่บุโมเสคสีทอง ส่วนองค์ซ้าย ขวาและหลังมีขนาดย่อมกว่า เป็นปูนเรียบ ตั้งอยู่บนฐานย่อมุมไม้สิบสอง มีมุขกระสันเชื่อมระหว่างกัน ที่องค์กลางมีซุ้มยื่นออกมาเป็นทางเข้า ประตูไม้ปิดทองฝังลายกระจกสีคล้ายสเตนกลาส (Stained glass) ภายในบรรจุพระสรีรางคารพระราชโอรสและพระราชธิดาในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)[2] รวมทั้งสมาชิกบางพระองค์ในสายราชสกุลจักรพงษ์ และสายราชสกุลจุฑาธุช ได้แก่

สุขุมาลนฤมิตร์[แก้]

สุขุมาลนฤมิตร์

เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองเป็นฐาน และมีซุ้มทิศเหมือนจัตุรมุข แต่ยาวไม่เท่ากัน ตอนบนเป็นสถูปบุด้วยโมเสคสีทอง ประตูและหน้าต่างเป็นบานไม้ปิดทองฝังลายกระจกสี ภายในบรรจุพระราชสรีรางคารของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี (สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี) พระประยูรญาติ และพระราชโอรสธิดา รวมทั้งสมาชิกสายราชสกุลบริพัตร ได้แก่

อนุสรณ์สถานอื่น ๆ[แก้]

อนุสาววรีย์เจ้าจอมมารดาแส[แก้]

เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิค โครงก่ออิฐถือปูน พื้นและบันไดปูด้วยหินอ่อน บนฐานตกแต่งด้วยหินเป็นภูเขา บรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา ได้แก่

อนุสาวรีย์เจ้าคุณพระประยุรวงศ์[แก้]

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วิหารน้อย" เป็นอาคารชั้นเดียว มีผนังรอบสี่ด้าน รูปทรงแบบยุโรป หลังคามุงกระเบื้อง ประตูหน้าต่างเป็นบานไม้กรุกระจกสี ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) และพระธิดา พร้อมทั้งเจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 และพระโอรส พระธิดา ตลอดจนสมาชิกสายราชสกุลอาภากร และราชสกุลสุริยง ได้แก่

  • อัฐิ เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ 5) (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2397 - 22 มีนาคม พ.ศ. 2486 อายุ 89 ปี)
  • อัฐิ เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5 (16 มกราคม พ.ศ. 2405 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2475 อายุ 70 ปี)
    • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2466 พระชันษา 42 ปี) (ต้นราชสกุลอาภากร)
      • อังคาร หม่อมช้อย อาภากร ณ อยุธยา (ช้อย วิจิตรานุช; เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2433 - 30 มกราคม พ.ศ. 2517 อายุ 83 ปี)
      • อังคาร หม่อมแฉล้ม อาภากร ณ อยุธยา (27 มีนาคม พ.ศ. 2430 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 อายุ 89 ปี)
      • อังคาร ท่านหญิงจารุพัตรา ศุภชลาศัย ในหม่อมกิม ชุ่นเพียว (หม่อมเจ้าจารุพัตรา อาภากร; 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2447 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 พระชันษา 68 ปี)
      • อังคาร ท่านหญิงศิริมาบังอร เหรียญสุวรรณ ในหม่อมแฉล้ม (หม่อมเจ้าศิริมาบังอร อาภากร; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2447 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 พระชันษา 70 ปี)
      • พระอังคาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2447 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2489 พระชันษา 42 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าสมรบำเทอง อาภากร ในหม่อมเมี้ยน (19 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 - 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 พระชันษา 25 ปี)
      • อังคาร คุณหญิงเริงจิตร์แจรง สุจริตกุล ในหม่อมกิม ชุ่นเพียว (หม่อมเจ้าเริงจิตร์แจรง อาภากร; 7 มิถุนายน พ.ศ. 2448 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2536 พระชันษา 88 ปี)
        • อังคาร หม่อมราชวงศ์เติมแสงไข (รพีพัฒน์) กรรณสูต ในหม่อมเจ้าไขแสงรพี รพีพัฒน์ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2468 - 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 อายุ 29 ปี)
          • อัฐิ นายรุจจน์ กรรณสูต (4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 อายุ 15 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าดำแคงฤทธิ์ อาภากร ในหม่อมแฉล้ม (24 ตุลาคม พ.ศ. 2448 - 9 กันยายน พ.ศ. 2505 พระชันษา 57 ปี)
        • อังคาร หม่อมหลวงปรมาภา อาภากร ในหม่อมราชวงศ์อิทธินันท์ อาภากร กับนางสุภาวดี แพ่งสภา (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2511 - 16 ธันวาคม พ.ศ. 2528 อายุ 17 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ในหม่อมช้อย วิจิตรานุช (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 พระชันษา 60 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ารังษิยากร อาภากร ในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยสัมพันธ์ (11 สิงหาคม พ.ศ. 2449 - 30 ธันวาคม พ.ศ. 2508 พระชันษา 59 ปี)
        • อังคาร หม่อมราชวงศ์ชัยกร อาภากร ในหม่อมราชวงศ์หญิงไพเราะ กฤดากร (23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 อายุ 7 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ารุจยากร อาภากร ในหม่อมแจ่ม (19 เมษายน พ.ศ. 2459 - 30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 พระชันษา 90 ปี)
    • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส (29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2462 พระชันษา 35 ปี) (ต้นราชสกุลสุริยง)
      • อังคาร หม่อมเจ้ารัศมีสุริยัน สุริยง ในหม่อมจง (29 มีนาคม พ.ศ. 2456 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2531 พระชันษา 66 ปี)
      • อังคาร ท่านผู้หญิงสุริยนันทนา สุจริตกุล ในหม่อมเรณี ฟุสโก (หม่อมเจ้าสุริยนันทนา สุริยง; 7 สิงหาคม พ.ศ. 2456 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557 พระชันษา 100 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ากิติสุริโยภาส สุริยง ในหม่อมเรณิ ฟุสโก (21 มิถุนายน พ.ศ. 2459 - 14 มิถุนายน พ.ศ. 2481 พระชันษา 22 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง ในหม่อมเรณิ ฟุสโก (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 พระชันษา 89 ปี)
        • อังคาร หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา (สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต; 19 ตุลาคม พ.ศ. 2463 - 27 กันยายน พ.ศ. 2535 อายุ 72 ปี)
        • อัฐิ หม่อมหลวงอำไพ สุริยง ในหม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง และนางอัมพร ประทีปะเสน (11 สิงหาคม พ.ศ. 2511 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุ 25 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าสุริยทัตรังสรรค์ สุริยง ในหม่อมเรณี ฟุสโก (18 กันยายน พ.ศ. 2460 - 1 เมษายน พ.ศ. 2514 พระชันษา 54 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าสุวรรณกุมารี สุริยง ในหม่อมเรณิ ฟุสโก (2 สิงหาคม พ.ศ. 2461 - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2509 พระชันษา 48 ปี)

อนุสาวรีย์หม่อมราชวงศ์วิบุลเกียรติ วรวรรณ (เมื่อก่อนอยู่เป็นเอกเทศในหมายเลข 3 แต่ปัจจุบันทายาทได้นำมารวมไว้กับเจ้าคุณพระประยูรวงศ์)

  • อัฐิ หม่อมราชวงศ์วิบุลเกียรติ วรวรรณ ในกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์และหม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ กิติยากร (17 มิถุนายน พ.ศ. 2465 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2510 อายุ 55 ปี)

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรองค์อรรคยุพา[แก้]

เป็นรูปทรงปรางค์ ยอดปรางค์ตั้งอยู่บนฐานสูง ทำด้วยหินอ่อนสีเทาขาวล้วน ประกอบกัน 4 ด้าน โดยประกบเข้ามุม ภายในบรรจุพระสรีรางคการของ

เหมอนุสรณ์[แก้]

เป็นรูปทรงคล้ายแท่นจารึก ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยมกว้าง โครงก่ออิฐถือปูน ผิวทำหินล้าง จารึกอักษรบนแผ่นหินอ่อน ฐานประดับด้วยหินใหญ่ ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี[แก้]

อนุสาวรีย์พระปรางค์สามยอดแบบลพบุรี

เป็นศิลปะแบบลพบุรี ตกแต่งลวดลายปูนปั้นตามแบบศิลปะขอม มีบันไดนาค โครงก่ออิฐถือปูนประดับลายบัวและลายปูนปั้น ภายในบรรจุพระสรีรางคารของพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา พระประยูรญาติ และพระโอรสธิดา รวมทั้งสมาชิกสายราชสกุลยุคล ได้แก่

1. องค์พระปรางค์ทิศเหนือ

2. พระปรางค์องค์กลาง

  • พระอังคาร พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ (26 มกราคม พ.ศ. 2397 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2430 พระชันษา 33 ปี)
  • พระสรีรางคาร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร กรมขุนพิจิตรเจษฎ์จันทร์ (15 เมษายน พ.ศ. 2416 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2447 พระชันษา 32 พรรษา)
  • พระอังคาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร (29 เมษายน พ.ศ. 2456 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 พระชันษา 78 ปี)
    • อังคาร หม่อมทองไพ ยุคล ณ อยุธยา (ทองไพ ประยูรโต; 9 ตุลาคม พ.ศ. 2460 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2487 อายุ 27 ปี)
    • อังคาร หม่อมทองแถม ยุคล ณ อยุธยา (ทองแถม ประยูรโต; 19 กันยายน พ.ศ. 2467 - 16 เมษายน พ.ศ. 2543 อายุ 75 ปี)
    • อัฐิ หม่อมเจ้าจามเทพี ยุคล ในหม่อมราชวงศ์กุลปราโมทย์ สวัสดิกุล (23 ธันวาคม พ.ศ. 2476 - 26 มกราคม พ.ศ. 2485 พระชันษา 9 ปี)
    • อังคาร หม่อมเจ้าวิสาขะ ยุคล ในหม่อมทองไพ ประยูรโต (10 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2527 พระชันษา 42 ปี)
    • อังคาร หม่อมบุญล้อม ยุคล ณ อยุธยา ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล (บุญล้อม นาตระกูล; 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 - 19 มกราคม พ.ศ. 2517 อายุ 61 ปี)

3. องค์พระปรางค์ทิศใต้

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาย้อย[แก้]

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย ในรัชกาลที่ 5

ลักษณะคล้ายแจกันทรงจีบกลีบดอกบัว ปักดอกบัว ตั้งบนฐานสูงรูปห้าเหลี่ยม และมีจารึกอักษรบนแผ่นหินอ่อน ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์ย้อย ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์พระราชธิดาองค์ที่ 84[แก้]

เป็นเสากลม ตอนล่างประดับด้วยลวดบัวและลายปูนปั้นเป็นรูปดอกไม้ อยู่บนฐานสี่เหลี่ยม หัวเสาเป็นเหลี่ยมตั้งรูปปั้นคล้ายโถคลุมด้วยผืนผ้า ภายในบรรจุพระศพของพระธิดาองค์ที่ 84 อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์จิ๋ว ในรัชกาลที่ 5

  • พระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า (ยังไม่มีพระนาม) (13 ธันวาคม พ.ศ. 2435 - 25 มกราคม พ.ศ. 2436 พระชันษา 43 วัน)

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์[แก้]

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์

เป็นหอโล่ง 2 ชั้น รูปสี่เหลี่ยม มีลวดบัวตกแต่งแบบยุโรป ที่ฐานส่วนชั้นที่สองมีลายปูนปั้นเฟื่องห้อย หลังคากลมทรงโดม ภายในบรรจุพระอังคารของ

เอี่ยมอนุสรณ์ 2495[แก้]

เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมตัดมุมเป็นแปดเหลี่ยมด้านไม่เท่า ฐานตอนล่างประดับด้วยหินก้อนใหญ่ ตอนกลางทำผิวหินล้างติดแผ่นจารึกหินอ่อน ตอนบนคล้ายใบเสมาหินล้าง ติดลายปูนปั้นเป็นรูปพวงมาลา ภายในบรรจุ

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ[แก้]

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5

เป็นรูปสี่เหลี่ยมเรียงซ้อนเป็นสามชั้น ตรงกลางมีช่องว่างสำหรับบรรจุและตั้งเครื่องสักการะ ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 5 พระโอรสและธิดา รวมทั้งสมาชิกสายราชสกุลรพีพัฒน์

อนุสาวรีย์เจ้าจอมแส[แก้]

เป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุม มีกระจังปูนปั้นตกแต่งทั้งส่วนฐานและตอนบน ส่วนบนสุดปั้นปูนเป็นรูปพานพุ่ม บรรจุ

เอิบอนุสรณ์ 2487[แก้]

รูปทรงแบบเดียวกับเอี่ยมอนุสรณ์ 2495 เป็นทรงสี่เหลี่ยมตัดมุมเป็นแปดเหลี่ยมด้านไม่เท่า ต่างกันที่ส่วนบนซึ่งคล้ายใบเสมาหินล้างที่มีส่วนบนไม่เป็นเหลี่ยม ภายในบรรจุ

อนุสาวรีย์สรีรนิธาน[แก้]

อนุสาวรีย์สรีรนิธาน

เป็นสถาปัตยกรรมโกธิค โครงก่ออิฐถือปูน มีลวดบัวและลายปูนปั้นตกแต่งอย่างสวยงาม ภายในบรรจุอังคารของเจ้าจอมมารดาพร้อม ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลวาดวรองค์[แก้]

เป็นเสาสี่เหลี่ยมประดับลวดลายปูนปั้น ที่ฐานมีลวดบัวปูน ตอนบนเป็นลายปูนปั้นแบบตะวันตก ภายในบรรจุ

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาแข[แก้]

เป็นซุ้มหน้านาง ภายในช่องเสาโล่ง มีแท่นตั้งเครื่องสักการะ ด้านหลังทึบ ยกฐานสูงทำลวดบัวปูนปั้น ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์พระราชชายา เจ้าดารารัศมี[แก้]

เป็นหอสูงโล่ง 2 ชั้น หลังคาเป็นโดมแบบยุโรป โครงก่ออิฐฉาบปูน ทำลวดบัวและลายปูนปั้นตกแต่งงดงาม พื้นชั้นบนใส่ลูกกรงปูนปั้นโดยรอบ ภายในบรรจุพระสรีรางคารของเจ้าดารารัศมี พระราชชายา พระธิดา รวมถึงเจ้านายที่มีเชื้อสายจากเจ้านายฝ่ายเหนือ

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล[แก้]

อนุสาวรีย์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล

เป็นแท่นอนุสาวรีย์หินอ่อนทั้งหมด ตอนบนเป็นแท่งคลุมด้วยผ้าและประดับด้วยมาลัยดอกไม้ศิลปะแบบตะวันตก ฝีมือแกะสลักหินอ่อนงดงามมาก ภายในบรรจุ

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาจันทร์[แก้]

เป็นทรงปรางค์ปราสาท ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง มีซุ้มทิศทั้ง 4 ด้าน หลังคาเป็นปราสาทยอดปรางค์ ตกแต่งปูนปั้นเป็นลวดบัวต่างๆ ตามแบบสถาปัตยกรรมไทย ภายในบรรจุอัฐิของเจ้าจอมมารดาจันทร์ กุสุมลจันทร์ และพระธิดา

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเนื่อง[แก้]

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5

เป็นสถาปัตยกรรมแบบโกธิค ก่ออิฐฉาบปูน ตกแต่งด้วยลวดบัวและลวดลายปูนปั้นงดงาม ภายในบรรจุอังคารของเจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์เนื่อง ในรัชกาลที่ 5 พระโอรสและพระธิดา รวมทั้งสมาชิกสายราชกุลรังสิต ได้แก่

อรอนุสรณ์ 2476[แก้]

อนุสาวรีย์อรอนุสรณ์ 2476

ทำเป็นรูปต้นเทียนแปดเหลี่ยมบุเซรามิคขาว ฐานเท้าสิงห์ ปลายเป็นบัวแวง ส่วนยอดสุดเป็นพุ่มดอกไม้ ทำด้วยโลหะ ฝีมือการปั้นลวดบัวและลวดลายงดงามมาก ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาอ่อน ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาแช่ม[แก้]

เป็นทรงปรางค์ปราสาท ตั้งอยู่บนฐานสูง มีบันไดขึ้นเน้นเป็นด้านหน้า มีซุ้มทิศ 4 ด้าน หลังคาเป็นปราสาทยอดปรางค์ โครงก่ออิฐฉาบปูน ทำลวดบัวและเครื่องยอดส่วนพระสรีรางคาร(อัฐิ)ของเจ้าจอมมารดาแช่ม ในรัชกาลที่ 5 และพระโอรส พร้อมทั้งสมาชิกสายราชสกุลประวิตร อยู่ที่เจดีย์ราชสกุลประวิตร หลังพระอุโบสถฝั่งตะวันออกของวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร

  • อัฐิ เจ้าจอมมารดาแช่ม ในรัชกาลที่ 5 (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2399 - 2 มกราคม พ.ศ. 2452 อายุ 53 ปี)
    • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงปราจิณกิติบดี (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2462 พระชันษา 45 ปี) (ต้นราชสกุลประวิตร)
      • อังคาร หม่อมชื้น ประวิตร ณ อยุธยา (ชื้น กัลยาณมิตร; 5 มิถุนายน พ.ศ. 2428 - 27 กันยายน พ.ศ. 2477 อายุ 49 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าจิตร์ปรีดี ประวิตร (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2451 - 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 พระชันษา 27 ปี)
        • อังคาร หม่อมหลวงเหมือนจันทร์ ประวิตร (ราชสกุลเดิม ดารากร; 30 ธันวาคม พ.ศ. 2453 - 22 กันยายน พ.ศ. 2529 อายุ 66 ปี)
        • อังคาร หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 - 29 มกราคม พ.ศ. 2550 อายุ 72 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าวิกรมสุรสีห์ ประวิตร (15 มิถุนายน พ.ศ. 2454 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 พระชันษา 38 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้ากนิษฐากุมารี ประวิตร (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2462 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 พระชันษา 32 ปี)

ฉัตรชยานุสรณ์ 2480[แก้]

อนุสาวรีย์ฉัตรชยานุสรณ์ 2480

เป็นทรงแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ก่ออิฐถือปูนทำผิวหินล้าง มีลายปั้นเป็นแบบรักร้อยห้องทั้ง 4 ด้าน บนสุดเป็นฉัตรโลหะ 5 ชั้นตามพระนาม ภายในบรรจุพระสรีรางคารของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (ในเจ้าจอมมารดาวาด ในรัชกาลที่ 5) พระชายา พระโอรสและพระธิดา ในสายราชสกุลฉัตรชัย

  • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (23 มกราคม พ.ศ. 2424 - 14 กันยายน พ.ศ. 2479 พระชันษา 55 ปี) (ต้นราชสกุลฉัตรชัย)

อนุสาวรีย์เจ้าจอมอาบ[แก้]

เป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุม ตั้งพานพุ่มที่ทำด้วยปูนปั้น ภายในบรรจุ

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาสุด[แก้]

เป็นทรงปรางค์ปราสาท ด้านหน้ามีชานยื่นและต่อเป็นบันไดทางขึ้น มีซุ้มทางเข้า ส่วนซุ้มอื่นอุดตันเหมือนพื้นจรน้ำ ตกแต่งด้วยลวดบัวปูนปั้น หลังคาเป็นยอดปรางค์ ภายในบรรจุอังคารของเจ้าจอมมารดาสุด ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาแสง[แก้]

เป็นศิลปะแบบอินเดีย สร้างโดยการก่ออิฐฉาบปูนและมีลวดลายปูนปั้นประดับ ภายในบรรจุอัฐิของเจ้าจอมมารดาแสง ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาเรือน[แก้]

เป็นสถาปัตยกรรมไทย โครงก่ออิฐถือปูน หลังคาปูนเป็นเส้นเหมือนเส้นทับกระเบื้อง ภายในบรรจุอังคารของเจ้าจอมมารดาเรือน ในรัชกาลที่ 5 และพระธิดา

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดามรกฎ[แก้]

เป็นปรางค์สามยอดขนาดย่อม ตรงกลางเป็นปรางค์องค์ประธาน มีซุ้มทางเข้า และมีบันไดทางขึ้นด้านหน้า ตกแต่งด้วยลวดบัวปูนปั้น ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดามรกฎ ในรัชกาลที่ 5 พระโอรสและพระธิดา รวมทั้งสมาชิกสายราชสกุลเพ็ญพัฒน์

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาชุ่ม[แก้]

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 5

เป็นทรงปรางค์ปราสาทสามยอดเรียงกัน องค์กลางย่อเก็จเน้นเป็นองค์ประธาน ซุ้มเจาะทะลุเป็นช่อง 3 ช่อง ช่องซุ้มจัดทำเป็นกรอบเช็ดหน้า ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาชุ่ม ไกรฤกษ์ และพระธิดา

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม[แก้]

อนุสาวรีย์เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5

เป็นหินใหญ่ก่อด้วยปูนทรายเป็นสถูป มองภายนอกคล้ายภูเขาสูง มีทางเข้าภายใน และบนยอดภูเขาเป็นเจดีย์ปูน ภายในบรรจุสรีรางคารของเจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 และพระโอรส รวมทั้งสมาชิกสายราชสกุลกิติยากร

  • อัฐิ เจ้าจอมมารดาอ่วม ในรัชกาลที่ 5 (10 เมษายน พ.ศ. 2399 - 26 เมษายน พ.ศ. 2434 อายุ 35 ปี)
    • พระอังคาร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ (8 มิถุนายน พ.ศ. 2417 - 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 พระชันษา 56 ปี) (ต้นราชสกุลกิติยากร)
      • อังคาร หม่อมเจ้าอัปสรสมาน กิติยากร พระชายา (ราชสกุลเดิม เทวกุล; 21 ตุลาคม พ.ศ. 2420 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 พระชันษา 62 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้าเกียรติกำจร กิติยากร (7 กันยายน พ.ศ. 2439 - 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 พระชันษา 6 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าอมรสมานลักษณ์ กิติยากร (18 มกราคม พ.ศ. 2440 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2511 พระชันษา 72 ปี)
      • พระอังคาร พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (หม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร; 4 มกราคม พ.ศ. 2440 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 พระชันษา 56 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ากมลปราโมทย์ กิติยากร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2441 - 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 พระชันษา 66 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ามาโนชมานพ กิติยากร (24 มกราคม พ.ศ. 2443 - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2444 พระชันษา 2 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากร (15 มีนาคม พ.ศ. 2444 - 28 มกราคม พ.ศ. 2510 พระชันษา 66 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าพิบูลย์เบญจางค์ กิติยากร (13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 - 27 เมษายน พ.ศ. 2512 พระชันษา 67 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าพัฒนคณนา กิติยากร ในหม่อมจอน วิชยาภัย (30 กันยายน พ.ศ. 2446 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 พระชันษา 63 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ากัลยางค์สมบัติ กิติยากร (28 มีนาคม พ.ศ. 2447 - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 พระชันษา 38 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าชมชิด กิติยากร ในหม่อมลออง วิชยาภัย (16 ธันวาคม พ.ศ. 2448 - 22 มกราคม พ.ศ. 2491 พระชันษา 43 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าสมาคม กิติยากร ในหม่อมจอน วิชยาภัย (15 กันยายน พ.ศ. 2448 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 พระชันษา 83 ปี)
      • อังคาร ท่านหญิงจิตรบรรจง ลดาวัลย์ (หม่อมเจ้าจิตรบรรจง กิติยากร; 28 มกราคม พ.ศ. 2449 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2487 พระชันษา 38 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าทรงอัปษร กิติยากร (22 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2531 พระชันษา 81 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้าพรพิพัฒน์ กิติยากร ในหม่อมจอน วิชยาภัย (30 สิงหาคม พ.ศ. 2450 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 พระชันษา 17 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้าสรัทจันทร์ กิติยากร (26 ธันวาคม พ.ศ. 2451 - 30 กันยายน พ.ศ. 2466 พระชันษา 15 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้าโกลิต กิติยากร ในหม่อมลออง วิชยาภัย (13 กรกฎาคม พ.ศ. 2453 - 2 มกราคม พ.ศ. 2519 พระชันษา 66 ปี)
      • ศพ หม่อมเจ้าพุฒ กิติยากร (8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 - 26 ธันวาคม พ.ศ. 2454 พระชันษา 1 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้าจีริกา กิติยากร ในหม่อมจั่น อินทุเกตุ (27 เมษายน พ.ศ. 2456 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 พระชันษา 62 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้าจีรินันทน์ กิติยากร ในหม่อมจั่น อินทุเกตุ (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 - 9 เมษายน พ.ศ. 2516 พระชันษา 58 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้ากิติมตี กิติยากร ในหม่อมจอน วิชยาภัย (3 พฤษภาคม พ.ศ. 2458 - 27 มกราคม พ.ศ. 2525 พระชันษา 67 ปี)
      • อัฐิ หม่อมเจ้าสุวินิต กิติยากร ในหม่อมละเมียด เปลี่ยนประยูร (4 มีนาคม พ.ศ. 2458 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2523 พระชันษา 75 ปี)
      • อัฐิหม่อมเจ้าจีริดนัย กิติยากร ในหม่อมจั่น อินทุเกตุ (1 ธันวาคม พ.ศ. 2459 - 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2523 พระชันษา 64 ปี)
      • อังคาร หม่อมเจ้ากิติปปียา กิติยากร ในหม่อมละเมียด เปลี่ยนประยูร (6 ธันวาคม พ.ศ. 2466 - 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 พระชันษา 88 ปี)

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชสรีรางคาร (เถ้ากระดูก) ของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าบรรจุไว้ภายใต้ฐานชุกชีพระสัมพุทธวัฒโนภาส วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร เก็บความจาก ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง เมษายน พุทธศักราช ๒๔๙๙, เล่ม ๗๓, ตอน ๓๓ง, ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๙, หน้า ๑๒๔๒
  2. พระบรมราชสรีรางคารของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงบรรจุอยู่ ณ ชุกชีพระสัมพุทธพรรณี ภายในพระอุโบสถ วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร
  3. "ในการบรรจุพระสรีรางคาร ณ ผนังทางมุขด้านใต้ของเสาวภาประดิษฐาน สุสานหลวง วัดราชบพิธฯ" (Press release). เดลินิวส์. 12 เมษายน 2555. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2555. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]