ข้ามไปเนื้อหา

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

พิกัด: 13°45′43″N 100°29′28″E / 13.76194°N 100.49111°E / 13.76194; 100.49111
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ซ้าย-ขวา: สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและรัตนโกสินทร์วิวแมนชัน
เส้นทางถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ตั้งแขวงพระบรมมหาราชวัง และแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร, แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย และแขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
ชื่อทางการสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ตั้งชื่อตามพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ผู้ดูแลกรมทางหลวงชนบท
สถานะเปิดใช้งาน
รหัสส.011
เหนือน้ำสะพานพระราม 8
ท้ายน้ำอุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
ข้อมูลจำเพาะ
ประเภทสะพานชนิดต่อเนื่อง
วัสดุคอนกรีตอัดแรง
ความยาว280.00 เมตร
ความกว้าง26.60 เมตร
ความสูง11.50 เมตร
ทางเดิน2
ช่วงยาวที่สุด110.00 เมตร
จำนวนช่วง3
จำนวนตอม่อ2
ประวัติ
วันเริ่มสร้าง4 สิงหาคม พ.ศ. 2514
วันเปิด24 กันยายน พ.ศ. 2516
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005611
มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (อังกฤษ: Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานพระปิ่นเกล้า หรือ สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท

สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล

ข้อมูลทั่วไป

[แก้]
  • วันที่ทำการก่อสร้าง : พ.ศ. 2514
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท โอบายาชิ-กูมิ จำกัด และ บริษัท สุมิโตโม คอนสตรัคชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 117,631,024.98 บาท
  • แบบของสะพาน : เป็นสะพานชนิดต่อเนื่อง
  • โครงสร้างส่วนบน : คอนกรีตอัดแรง
  • สูงจากระดับน้ำ : 11.50 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
  • จำนวนช่วงสะพานกลางน้ำ : 3 ช่วง (83.00+110.00+83.00)
  • ความยาวของสะพาน : 280.00 เมตร
  • เชิงลาดสะพานฝั่งพระนคร : 176 เมตร
  • เชิงลาดสะพานฝั่งธนบุรี : 206 เมตร
  • รวมความยาวทั้งหมด : 662 เมตร
  • ความกว้างสะพาน : 26.60 เมตร
  • จำนวนช่องทางวิ่ง : 6 ช่องทางจราจร
  • ความกว้างทางเท้าแต่ละด้าน : 2.50 เมตร
  • ความกว้างผิวจราจรสะพาน : 21.00 เมตร
  • ออกแบบรับน้ำหนัก : H-20-44
  • ความกว้างผิวจราจรบนสะพาน : 21.00 เมตร

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′43″N 100°29′28″E / 13.76194°N 100.49111°E / 13.76194; 100.49111

จุดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน
เหนือน้ำ
สะพานพระราม 8
สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ท้ายน้ำ
อุโมงค์รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล