สถานีรถไฟปอยเปต

พิกัด: 13°39′26″N 102°33′22″E / 13.6573°N 102.5561°E / 13.6573; 102.5561
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปอยเปต

ប៉ោយប៉ែត
สถานีรถไฟปอยเปตเมื่อ พ.ศ. 2555
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้ง5 ปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา
พิกัด13°39′26″N 102°33′22″E / 13.6573°N 102.5561°E / 13.6573; 102.5561
ผู้ให้บริการรอยัลเรลเวย์[1][2]
สายทางรถไฟสายพนมเปญ–ปอยเปต
ชานชาลา1
ราง3
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับพื้น
ที่จอดรถมี
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการพ.ศ. 2473[ต้องการอ้างอิง]
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า รถไฟหลวงกัมพูชา สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง พนมเปญ–ปอยเปต ศรีโสภณ
มุ่งหน้า พนมเปญ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก สายตะวันออก สถานีปลายทาง

สถานีรถไฟปอยเปต เดิมใช้ชื่อว่า สถานีรถไฟเสรีเริงฤทธิ์ คือสถานีรถไฟแห่งหนึ่งในปอยเปต จังหวัดบันทายมีชัย ประเทศกัมพูชา ห่างจากชายแดนไทย 850 เมตร[3] เป็นจุดสิ้นสุดของทางรถไฟสายพนมเปญ–ปอยเปต และเชื่อมต่อกับทางรถไฟสายตะวันออกของการรถไฟแห่งประเทศไทย

ประวัติ[แก้]

สถานีรถไฟปอยเปตถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2473 ในช่วงที่กัมพูชาเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนของฝรั่งเศส[ต้องการอ้างอิง] หลังการรับมอบดินแดนเขมรส่วนในจากจักรวรรดิญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2484 ในราชกิจจานุเบกษา ระบุถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางรถไฟสายอรัญญประเทศ–มงคลบุรี เมื่อ พ.ศ. 2485-2487 ไทยได้ทำการสร้างรางรถไฟเชื่อมต่อกับทางรถไฟเดิมไปจนถึงสถานีรถไฟพระตะบองจนถึงสถานีรถไฟสวายโดนแก้ว ที่แม่น้ำเป็นพรมแดนกั้นไทยกับฝรั่งเศสในขณะนั้น เป็นระยะทาง 17 กิโลเมตร[4] โดยในราชกิจจานุเบกษาได้กำหนดชื่อสถานีรถไฟที่ปอยเปตว่า สถานีรถไฟเสรีเริงฤทธิ์[5][6] กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ฝ่ายไทยได้ส่งมอบดินแดนเขมรส่วนในพร้อมกับทางรถไฟสายตะวันออกนี้คืนแก่ฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2489[4][7]

แต่การเดินรถไฟระหว่างประเทศ มักหยุดเดินรถและรื้อเส้นทางออกหลายครั้งด้วยเหตุผลทางการเมืองของประเทศกัมพูชา[8][9] และไม่มีการเดินรถระหว่างกันนานกว่า 40 ปี[10][11] กระทั่งรัฐบาลกัมพูชาบูรณะเส้นทางรถไฟขึ้นใหม่เพื่อผลประโยชน์ด้านการค้า โดยมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมกับสถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึกของประเทศไทยขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562[12] ทว่าการเดินรถระหว่างประเทศหยุกชะงักอีกครั้งช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 จากการระบาดทั่วของโควิด-19[13]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Royal Railways (Cambodia)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ 2023-08-06.
  2. "Royal Railway (Cambodia) // រ៉ូយ៉ាល់ រេលវេ // Chemins de Fer du Royaume du Cambodge". railtravelstation.com. RailTravelStation.
  3. Cambodian Trains. "Poipet Train Station".
  4. 4.0 4.1 History of Thai railway (ในภาษาไทย)
  5. "พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่อำเพออรัญประเทส จังหวัดปราจีนบุรี อำเพอสรีโสภน จังหวัดพิบูลสงคราม และอำเพอมงคลบุรี อำเพอเมืองพระตะบอง อำเพออธึกเทวเดช จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2485" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 59 (73 ก): 2251. 24 พฤศจิกายน 1942.
  6. "พระราชกริสดีกา กำหนดเขตที่ดินไนบริเวนที่ที่จะเวนคืน ไนท้องที่อำเพออรัญประเทส จังหวัดปราจีนบุรี อำเพอสรีโสภน จังหวัดพิบูลสงคราม และอำเพอมงคลบุรี อำเพอเมืองพระตะบอง อำเพอรนนภากาส จังหวัดพระตะบอง พุทธสักราช 2487" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 61 (72 ก): 1146. 24 พฤศจิกายน 1944.
  7. "พระตะบอง เสียมเรียบ ศรีโสภณ "รอยสยาม" และ "สามจังหวัด"กัมพูชา". สารคดี. 22 ตุลาคม 2553. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ยุทธนา พึ่งน้อย, บ.ก. (22 เมษายน 2019). "ชื่นมื่น นายกไทยฯ -กัมพูชา ร่วมพิธีเปิด สถานีรถไฟ บ้านคลองลึก - สถานีปอยเปต". Thainews Online. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2021.
  9. อาทิตย์ ทรงกลด. เรื่องลับเขมร ที่คนไทยควรรู้. กรุงเทพฯ : สยามบันทึก, 2552, หน้า 140–143 ISBN 9786117180033.
  10. "รื้อสร้างใหม่! สะพานรถไฟประวัติศาสตร์ 120 ปีคลองลึก รับเออีซี". ไทยรัฐออนไลน์. 20 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.
  11. "รื้อสะพานรถไฟสายประวัติศาสตร์เชื่อมไทย-เขมร". ศูนย์ข้อมูลข่าวอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. 23 มกราคม 2015. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2018.[ลิงก์เสีย]
  12. Cambodia and Thailand reconnected by rail after 45 years; The Straits Times, 22 April 2019
  13. "Border checkpoints with Cambodia in Sa Kaeo to close". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 2020-12-19.