สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ
สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ.jpg
ขบวนรถปูน507 เปรง-หินลับ​ ผ่านสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ​
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านหนองกรุง หมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สายทางรถไฟสายตะวันออก
ชานชาลา1
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน ชานชลาสูง
ระดับชานชาลา2
ที่จอดรถลานจอดรถหลังสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี3122
ประวัติ
เปิดให้บริการ3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (3 ปี)
ชุมทางบ้านไผ่นาบุญ
Ban Phai Na Bun Junction
กิโลเมตรที่ 162.811
ชุมทางหนองบัว
Nong Bua Junction
+4.444 กม.
บุใหญ่
Bu Yai
-13.873 กม.
ชุมทางแก่งคอย
Kaeng Khoi Junction
+5.546 กม.
ดูเพิ่ม : รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก

สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ (อังกฤษ: Ban Phai Na Bun Junction Railway Station) เป็นสถานีรถไฟลำดับที่446 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีขั้นเป็นสถานีรถไฟชั้น 3 เป็นสถานีรถไฟล่าสุดในสารบบของการรถไฟแห่งประเทศไทย สร้างขึ้นพร้อมกับ การสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ ช่วง ชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย และสร้างทาง Chord line ช่วงสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ-สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว เพื่อความอำนวยสะดวกในการเดินทางของรถบรรทุกเชื้อเพลิงไปยังเส้นทางต่างๆได้รวดเร็วขึ้น[1]

ข้อมูลจำเพาะ[2][แก้]

  • ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายตะวันออก โครงการทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย
  • รหัส  : 3122
  • ชื่อภาษาไทย  : ชุมทางบ้านไผ่นาบุญ
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Ban Phai Na Bun Junction
  • ชื่อย่อภาษาไทย : บญ.
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : BPB.
  • ชั้นสถานี  : สถานีรถไฟชั้น 3
  • ระบบอาณัติสัญญาณ : ไฟฟ้า-คอมพิวเตอร์ ไฟสีสามท่า
  • พิกัดที่ตั้ง  : อยู่ท่ามกลางทุ่งนา ไกล้วัดปริยัติธรรม ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร
  • ที่อยู่  : บ้านหนองกรุง หมู่ที่ 4 ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 18000
  • ขบวนรถ/วัน: ประมาณ 6 ขบวน รถสินค้า รถปูน รถน้ำมัน และรถก๊าซ
  • ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : -
  • สถานีก่อนหน้า : สถานีรถไฟบุใหญ่
  • สถานีถัดไป(ทางตรง) : สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย
  • สถานีถัดไป(ทางเลี้ยว) : สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว
  • ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 162.811 กิโลเมตร

ตารางเดินรถสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ[แก้]

*ข้อมูลเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563

*สถานีนี้ไม่มีรถไฟโดยสารผ่าน

เที่ยวไป[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางบ้านไผ่นาบุญ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เที่ยวกลับ[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง ชุมทางบ้านไผ่นาบุญ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

ประวัติการก่อสร้างสถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ[แก้]

สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ ตั้งอยู่ระหว่างสถานีรถไฟบุใหญ่ - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย/สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว บนหลักกม.ที่ 162 เป็นสถานีที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ จากโครงการรถไฟทางคู่ช่วงชุมทางคลองสิบเก้า - ชุมทางแก่งคอย ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ระยะที่ 2 เพื่อรองรับการขยายตัวของท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจากผลการออกแบบรายละเอียดและการศึกษาปริมาณความต้องการด้านการขนส่ง เส้นทางดังกล่าวเมื่อปี 2541 และผลการศึกษาทบทวนโครงการเมื่อปี 2544 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการก่อสร้างทางคู่ ตอนฉะเชิงเทรา – ศรีราชา และต่อขยายเข้าสู่แหลมฉบังเป็นลำดับแรก

เพื่อให้การก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางสายชายฝั่งทะเลตะวันออกเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงมีโครงการที่จะก่อสร้างทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย เพื่อขยายขีดความสามารถของเส้นทางขนส่งหลักที่มีความสำคัญในการเชื่อมโยงการขนส่งระบบราง จากภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไปยังพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ อย่างบูรณาการ รวมทั้งแผนพัฒนาต่างๆ ที่สนับสนุนให้มีการพัฒนาระบบขนส่งระบบราง เพื่อให้เกิดการประหยัดทรัพยากร พลังงานและลดมลพิษ[3]

จุดประสงค์ของการสร้างสถานี คือ ใช้เป็นสถานี chord line แยกเส้นทางขบวนรถสินค้าจากภาคตะวันออก ให้เลี้ยวซ้ายเข้าสถานีหนองบัว หรือขบวนรถสินค้าจากภาคเหนือ ให้เลี้ยวขวาจากสถานีหนองบัวเข้าสถานีไผ่นาบุญ โดยที่ขบวนรถไม่ต้องเสียเวลาเข้าไปทำสับเปลี่ยนที่สถานีชุมทางแก่งคอยเหมือนอดีตอีกต่อไป

ตัวอย่าง ถ้าขบวนรถน้ำมันดิบ หรือ ขบวนรถก๊าซ เช่น ขบวน 635 แหลมฉบัง - บึงพระ หรือ ขบวน 629 มาบตาพุต - บึงพระ หรือ ขบวน 651 บางละมุง - นครสวรรค์ ผ่านสถานีไผ่นาบุญในทิศทางเดียวกับในภาพนี้ ขบวนรถสามารถเลี้ยวซ้ายไปทางสถานีหนองบัว และมุ่งหน้าไปชุมทางบ้านภาชี และผ่าน chord line อีกจุด ขึ้นไปยังปลายทางได้โดยไม่เสียเวลาสับเปลี่ยนกลับทิศทาง[4]

หลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้นจึงได้ทำการเปิดใช้สถานีรถไฟแห่งใหม่(สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ)นี้ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563[1]

ลักษณะ[แก้]

เป็นสถานีชุมทางรถไฟซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของทางรถไฟสายชุมทางคลองสิบเก้า-ชุมทางแก่งคอย รวมทั้งยังเป็น 1 ใน 18 สถานีชุมทางรถไฟในประเทศไทย สถานีรถไฟแห่งนี้มีความสำคัญต่อการเดินรถไฟในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออก [5]

เป็นชุมทางรถไฟที่เป็นสามเหลี่ยมรถไฟ(chord line) โดยชุมทางรถไฟด้านซ้าย ไปยัง สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว และชุมทางรถไฟด้านขวา ไปยัง สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอยได้ ทำให้การเดินทางขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงหรือปิโตรเลียมจาก มาบตาพุด บางละมุง และ ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังเส้นทางสายเหนือ เช่น บึงพระ นครลำปาง ได้รวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางที่สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 การรถไฟฯเปิดใช้ "สถานีชุมทางบ้านไผ่นาบุญ" สถานีแห่งใหม่ ลดระยะเวลาในการขนส่งสินค้าจากภาคเหนือ-อีสานเชื่อมไปตะวันออกและท่าเรือแหลมฉบังโดยไม่ผ่านกทม. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
  2. 2.0 2.1 ท่ามกลางธรรมชาติ! สถานีน้องใหม่ “บ้านไผ่นาบุญ” ชุมทางขนส่งสินค้าไปแหลมฉบัง สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
  3. โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออกช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย พร้อมติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
  4. " ที่นี่สถานีไผ่นาบุญ ที่นี่สถานีไผ่นาบุญ " สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563
  5. ยินดีต้อนรับสถานีชุมทางแห่งใหม่ครับสืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2563


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 14°32′55″N 100°58′56″E / 14.5487337°N 100.9820836°E / 14.5487337; 100.9820836

ลำดับสถานีรถไฟ[แก้]

ลำดับสถานีรถไฟ
สถานีรถไฟ ก่อนหน้า สถานีรถไฟลำดับที่ 446 ถัดไป
สถานีรถไฟด่านพรมแดนบ้านคลองลึก สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ -
ลำดับสถานีรถไฟ 445 446 -
วันเปิดใช้งาน 22 เมษายน 2562 3 กุมภาพันธ์ 2563 -