อภิชาติ หาลำเจียก
อภิชาติ หาลำเจียก | |
---|---|
เกิด | อภิชาติ หาลำเจียก 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 15 กันยายน พ.ศ. 2551 (54 ปี) โรงพยาบาลกลาง กรุงเทพมหานคร |
อาชีพ | พิธีกร, นักแสดง, ผู้กำกับภาพยนตร์, นักการเมือง |
ปีที่แสดง | พ.ศ. 2523 - 2551 |
ผลงานเด่น | หมออุทิศ ใน นวลฉวี (2528) |
พระสุรัสวดี | นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2538 - ศยามล |
ฐานข้อมูล | |
IMDb | |
ThaiFilmDb |
อภิชาติ หาลำเจียก (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 – 15 กันยายน พ.ศ. 2551) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์ 2 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคม และพรรคสามัคคีธรรม อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นนักแสดง ผู้กำกับภาพยนตร์
ประวัติ
[แก้]บิดาชื่อ พันโทวิเชียร หาลำเจียก มารดาชื่อ นางยุพยงค์ หาลำเจียก มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน เรียนจบจากโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ โรงเรียนบุตรข้าราชการกองทัพบก (โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี) และปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
วงการบันเทิง
[แก้]อภิชาติ หาลำเจียก เริ่มเข้าสู่วงการจากการเป็นพิธีกร รายการมาตามนัด คู่กับอัจฉราพรรณ ไพบูลย์สุวรรณ ทางช่อง 5 และได้แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง นวลฉวี รับบทเป็นแพทย์ที่ฆ่าภรรยาตัวเอง คู่กับสินจัย หงษ์ไทย ในปี พ.ศ. 2528 และแสดงคู่กันมาอีกหลายเรื่อง เช่น หย่าเพราะมีชู้ (2528) แสงสูรย์ (2529) น้ำเซาะทราย (2529) ฉันรักผัวเขา (2530) และได้กำกับภาพยนตร์ พร้อมทั้งแสดงในเรื่อง ศยามล ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีผลงานเรื่องสุดท้าย คือ ละครโทรทัศน์เรื่อง สงครามนางฟ้า (2551) ทางช่อง 5
การเมือง
[แก้]ในระยะหลัง อภิชาติ หันมาทำงานการเมือง ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาจึงย้ายไปลงสมัครและได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาฬสินธุ์ สังกัดพรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้เข้าร่วมกับณรงค์ วงศ์วรรณ จัดตั้งพรรคสามัคคีธรรม และรับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรค[1] อีกทั้งได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสมัยที่ 2 และมีบทบาทสำคัญในพรรคสามัคคีธรรม รวมถึงการสนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร รวมทั้งรับหน้าที่รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[2] ต่อมาหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จึงย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง จึงหันมาลงสมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในนามกลุ่มมดงาน
จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ได้ย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ได้ลาออกจากพรรค และร่วมขึ้นเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ในการขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาจึงได้หันมาร่วมงานการเมืองกับพรรคประชาธิปัตย์ และมาร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทั้งในปี พ.ศ. 2549 และ ในปี พ.ศ. 2551 อีกด้วย
ถึงแก่อนิจกรรม
[แก้]อภิชาติ หาลำเจียก เสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551 อายุ 54 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
ผลงานภาพยนตร์
[แก้]- พลฯ ทองดีใจซื่อ (2525)
- นวลฉวี (2528) รับบท หมออุทิศ ราชเดช
- เนื้อคู่ (2528) รับบท โจศักดิ์ ชาญนารี
- เพื่อแผ่นดินไทย (2528)
- แม่ (2528)
- หย่าเพราะมีชู้ (2528) รับบท ผู้พันยุทธ
- คุณหญิงตราตั้ง (2528)
- เขยเต็กกอ (2529)
- สะแกกรัง (2529)
- ขออยู่ถึงพรุ่งนี้ (2529)
- ไปไม่ถึงดวงดาว (2529)
- น้ำเซาะทราย (2529) รับบท ภีม
- ลูกรักของแม่ (2529) รับบท พ่อของเธอ
- แสงสูรย์ (2529)
- สะใภ้ (2529) รับบท นพนัยน์
- ระบำผี (2529)
- สองคนสองคม (2529) รับบท ตำรวจ
- วัลลี (2529) รับบท พ่อของเธอ
- ฉันรักผัวเขา (2530) รับบท สิงหา
- สายน้ำไม่ไหลกลับ (2530) รับบท วรุตม์
- เมียนอกหัวใจ (2530)
- มือปราบภูธร (2530) รับบท ตำรวจ
- รอยเสือ (2530) รับบท ร.ต.อ. ระบิล
- คาวน้ำผึ้ง (2530) รับบท เขม
- เหตุเกิดที่ห้องไอซียู (2530) รับบท หมอ
- เมียคนใหม่ (2530) รับบท ไกรสร
- สารวัตรเถื่อน (2530) รับบท จ่าเที่ยง
- แว่นวิเศษ (2530)
- ภุมรีสีทอง (2531) รับบท พิสัย
- ตำนานรักภูพาน (2531) รับบท ก้อนคำ
- ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531) รับบท นิรุทร์
- ราชสีห์หน้าเซ่อ (2531)
- อุบัติโหด (2531) รับบท นายเทิดภูมิ
- รักด้วยชีวิต (2531)
- เรือมนุษย์ (2531) รับบท เพลา
- แม่จ๋าแม่ (2531)
- เหยื่ออารมณ์ (2531) รับบท สมฤทธิ์
- หนองบัวแดง (2531) รับบท ขุนบริพัตร
- เพชรตาแมว (2532) รับบท ชัย
- ดิฉันไร่เสน่หา (2532) รับบท พุกธร
- รักข้างแรม (2532)
- โกย (2532)
- ผีแม่ม่าย 2 (2533) รับบท หมอ (รับเชิญ)
- แม่ลาวเลือด (2533) รับบท ศิริวรรณ
- เรฟูจี หนีนรกเจอนรก (2535) รับบท หมอ
- สมองกลคนอัจฉริยะ (2536)
- ฉากสุดท้ายของทัดทรวง (2538) รับบท พ่อของราธ
- ศยามล (2538)
กำกับภาพยนตร์
[แก้]- ศยามล (2538)
ละคร
[แก้]- บาปบริสุทธิ์ (2523 - 2524)
- ปีกทอง (2525) รับบท เจนศิลป์ (ลูกศิษย์ / กิ๊กของนพเก้า)
- สนิมสังคม (2525)
- ปราสาทมืด (2525) รับบท ระวีศักดิ์
- พิษรัก (2525)
- เศรษฐีนี (2525) รับบท วิวรณ์
- บาดาลใจ (2525)
- สกุลกา (2526) รับบท ภาติยะ/ ปุ๊
- ขอเพียงรัก (2526)
- สวนทางเถื่อน (2526)
- คลื่นชีวิต (2526)
- วิมานคนบาป (2527)
- ปริศนาแห่งหัวใจ (2527)
- ขยะเปื้อนทอง (2527)
- ไฟปรารถนา (2527)
- สงครามอารมณ์ (2527)
- ทายาทท่านผู้หญิง (2527)
- เพลงพรหม (2527)
- สาวสองหน้า (2527) รับบท หมอนิธิ
- คอนโดมิเนียม (2527)
- เบญจรงค์ห้าสี (2528) รับบท ราวี
- ทาสอารมณ์ (2528) รับบท จิระศักดิ์
- ค่าของคน (2528)
- พิมพิลาไลย (2528) รับบท พลายงาม
- มฤตยูสีขาว (2529)
- มัตติกา (2529)
- คุณปู่ซู่ซ่า (2529)
- สายเปล (2529)
- แหวนทองเหลือง (2529) รับบท ร.อ. กฤษฎา ดำรงธรรม
- นางสาวทองสร้อย (2529 - 2530) รับบท คุณกลาง
- สกาวเดือน (2530) รับบท ดร. ทรงกลด บริรักษ์นรากร
- สารวัตรเถื่อน (2530)
- มายา (2531)
- ไฟรัก (2531)
- เมียหลวง (2532)
- เทพพยาบาท (2532)
- ยุทธการปราบเมียน้อย (2534)
- ริษยา (2534)
- ชลาลัย (2534)
- ป่ากามเทพ (2534)
- คุณหญิงจอมแก่น (2536)
- วันนี้ที่รอคอย (2536)
- หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น (2536) รับบท หมอวิเวก
- ละครสั้นปากกาทอง ตอน ระหว่างบ้านกับถนน (2536)
- ทวิภพ (2537)
- น้ำใสใจจริง (2537)
- พลอยพราวแสง (2537)
- คุณนายโอซาก้า (2537)
- สะพานข้ามดาว (2537)
- โอ้มาดา (2538) รับบท รัฐมนตรี
- ผู้ชายไม้ประดับ (2538)
- สายโลหิต (2538) รับบท ขุนไกร หลวงไกรสรเดช พระสีหราชฤทธิไกร พระยาไกรสีห์ราชภักดี (ไกร) (วัยกลางคน)
- ญาติกา (2539) รับบท พระยาไกรสีห์ราชภักดี (ไกร)
- เพลิงบุญ (2539) รับบท ปีเตอร์
- ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) รับบท พ่อของนัทธมน
- สนสะท้าน (2539)
- ฉก.เสือดำ ถล่มหินแตก (2539)
- สุดแต่ใจจะไขว่คว้า (2540) รับบท พงศ์
- สวรรค์ยังมีชั้น (2540)
- นิรมิต (2540) รับบท เจ้าใจเมือง (พ่อของเจ้าแสงหล้า) (รับเชิญ)
- เพื่อน (2540)
- บิ๊กเสี่ย (2540)
- จินตปาตี (2540) รับบท วิทิต
- ดอกไม้ริมทาง (2540)
- ชมรมขนหัวลุก FRIDAY ตอน ทัวร์ขนหัวลุก ณ พิพิธภัณฑ์นิติเวช โรงพยาบาลศิริราช (2540)
- เลื่อมสลับลาย (2541)
- กรงเกียรติยศ (2541)
- คู่ต่างศูนย์เดียงสา (2541)
- ความรักกับเงินตรา (2541)
- จากฝันสู่นิรันดร (2541)
- อีสา รวีช่วงโชติ (2541)
- ธรณีนี่นี้ใครครอง (2541) (รับเชิญ)
- วัยร้าย วัยรัก (2541)
- มุกมังกร (2541)
- กากับหงส์ (2542)
- สลักจิต (2542)
- เก้าอี้ขาวในห้องแดง (2542)
- ตำรับรัก (2542) รับบท คุณเนตร
- เพรงเงา (2542) (รับเชิญ)
- น้ำตาลใกล้มด (2542)
- เพียงแค่ใจเรารักกัน (2542)
- รักในสายหมอก (2542)
- อรุณสวัสดิ์ (2542) รับบท พ.ต.ต. เภา พงษ์ภักดี
- ม่านบังใจ (2543) รับบท เฟื่อง
- โลกทั้งใบให้นายคนเดียว (2543)
- น้ำใสใจจริง (2543)
- ผู้ชายก็ท้องได้ (2543)
- เขาวานให้หนูเป็นสายลับ (2543) นีบบท เสี่ยฮะ
- บุญรอด (2543) รับบท คุณวัฒน์
- มณีหยาดฟ้า (2543) รับบท คึกฤทธิ์
- เรือนนพเก้า (2544)
- รักลวง (2544)
- วังวารี (2544)
- ตะวันตัดบูรพา (2544) รับบท ท่านรองบารมี
- ละครเทิดพระเกียรติตามแนวพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตอน บ้าน (2544)
- สุดดวงใจ (2544) รับบท พงษ์ฤทธิ์
- วิมานกุหลาบ (2544)
- นักเรียนนายร้อยครับผม (2545)
- สู่ฝันตะบันแข้ง (2545) รับบท พ่อของโอม
- เต่ากินผักบุ้ง (2546)
- เมืองดาหลา (2546) รับบท วันชาติ วัฒนะกุลวงศ์ (พ่อของวันใส เป็นนักธุรกิจและราชายาเสพติดแห่งเมืองไทย)
- ปมรักนวลฉวี (2546) รับบท พ.ต.อ. วิบูลย์
- เสือ (2546) รับบท กำแหง (รับเชิญ)
- ดงดอกเหมย (2546) รับบท เตี่ยของเหมย (รับเชิญ)
- เรือนไม้สีเบจ (2547) รับบท พิเชียร เพ็ญชีพ (พ่อของมุก)
- ไผ่กำเพลิง (2547)
- คู่กรรม (2547)
- ทัดดาวบุษยา (2547) รับบท เจ้าพัฒนา
- สำเภาทอง (2548)
- เทพธิดาโรงงาน (2548)
- เพลิงพายุ (2548)
- แต่ปางก่อน (2548) รับบท หม่อมเจ้าสิทธิชัย (ท่านชายกั้ง)
- รักของนายดอกไม้ (2548) รับบท นายพลกาฬพฤกษ์
- ปัญญาชนก้นครัว (2548)
- พรุ่งนี้ไม่สาย...ที่จะรักกัน (2548)
- เจ้าสาวกะทันหัน (2549)
- นรกตัวสุดท้าย (2549)
- ดวงใจปาฏิหาริย์ (2549) รับบท นพคุณ
- สงครามนางฟ้า (2551) รับบท พ่อหนุ่ย
ละครที่ไม่ได้ออกอากาศ
[แก้]- คฤหาสน์จักรรัตน์ (2530) (ช่อง 7)
พิธีกร
[แก้]- มาตามนัด ช่อง 5
- ช้อปแชมป์ ช่อง 3
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[3]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคสามัคคีธรรม)
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 88/2535 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ข้าราชการการเมืองในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลจากอำเภอสหัสขันธ์
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2497
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- นักแสดงชายชาวไทย
- ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย
- ผู้ประกาศข่าวช่อง 3
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาฬสินธุ์
- สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร
- นักการเมืองพรรคกิจสังคม
- นักการเมืองพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)
- นักการเมืองพรรคประชากรไทย
- พรรคนำไทย
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
- บุคคลจากโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์
- บุคคลจากโรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี
- บุคคลจากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- เสียชีวิตจากมะเร็งตับ
- นักการเมืองพรรคสามัคคีธรรม