ไกรลาศ เกรียงไกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไกรลาศน์ ยวงใย
ต.ช., ต.ม., ส.ช., ช.ด.
ชื่อเกิดไกรลาศน์ ยวงใย
ชื่ออื่นไกรลาศ เกรียงไกร
เกิด30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 (73 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ปีที่แสดงพ.ศ. 2521–ปัจจุบัน
รางวัล
พระสุรัสวดีนักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2521 – เทพธิดาบาร์ 21

พันโท ไกรลาศน์ ยวงใย (เกิด 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493) ชื่อเล่น อี๊ด หรือชื่อในการแสดง ไกรลาศ เกรียงไกร เป็นนักแสดงชายและทหารบกชาวไทย เป็นนักแสดงสมทบในภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายเรื่อง

ประวัติ[แก้]

เกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดพระนคร โดยเป็นบุตรคนที่ 9 จากบุตรทั้งหมด 9 คน ของ พ.ต.วิมล และ นางกรุณา ยวงใย

เคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสาขานักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2521 จากเรื่อง เทพธิดาบาร์ 21 จากการกำกับของ ยุทธนา มุกดาสนิท และมีชื่อเข้าชิงรางวัลเดียวกันนี้อีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2525 จากเรื่อง พลฯ ทองดีใจซื่อ

ผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่องอื่น ๆ อาทิ ลูกอีสาน ในปี พ.ศ. 2525, ด้วยเกล้า ในปี พ.ศ. 2530, คู่กรรม ในปี พ.ศ. 2531 และ คนจร ฯลฯ ในปี พ.ศ. 2542

ทางด้านผลงานทางละครโทรทัศน์ อาทิ เลือดเข้าตา ทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2538, รักเกินพิกัดแค้น ทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2547, ตารีบุหงา ทางช่อง 5 ในปีเดียวกัน, อุบัติเหตุหัวใจ ทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2550, ชุมทางเสือเผ่น ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2551, พระจันทร์ลายพยัคฆ์ ทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2553, รักไม่มีวันตาย ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2554, คุณชายพุฒิภัทร, มนต์จันทรา, ฟาร์มเอ๋ย ฟาร์มรัก , จุดนัดภพ ทางช่อง 3, โดมทอง และนักสู้มหากาฬ ทางช่อง 7 ในปี พ.ศ. 2556 เป็นต้น

นอกจากนี้ พ.ท.ไกรลาศน์ ยวงใย ยังดำรงตำแหน่ง ผู้ให้คำปรึกษาประจำคลินิกจิตสังคมศาลจังหวัดปทุมธานี กลุ่มงานผู้ให้คำปรึกษาประจำคลินิกจิตสังคม ศาลจังหวัดปทุมธานี และเป็นผู้ประนีประนอมประจำศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

  • เทพธิดาบาร์ 21 (2521) รับบท สิงห์
  • พรุ่งนี้ก็สายเกินไป (2522)
  • ไผ่แดง (2522) รับบท พระถม
  • ดอกโสนบานเช้า (2523)
  • หลวงตา (2523) รับบท เสือคง
  • อารีดัง (2523) รับบท ร.ท. โชติ พลอยแสง
  • วัยสวิง (2523) รับบท สิน
  • อุ๊ย!..เขิน (2524) รับบท ท่อก
  • หมามุ่ย (2524)
  • รักพยาบาท (2524) รับบท ไกรลาศ
  • ระย้า (2524) รับบท แก่น
  • สามเสือสุพรรณ (2524) รับบท ลิขิต
  • ฟ้าเพียงดิน (2524)
  • ลูกอีสาน (2525) รับบท ทิดจุ่น
  • พลฯ ทองดีใจซื่อ (2525) รับบท ไกรลาศ
  • แม้เลือกเกิดได้ (2525)
  • เทพบุตรข้างถนน (2525)
  • สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
  • เทพธิดาโรงงาน (2525) รับบท เต็ม
  • บุญยัง จับกังกำลัง 2 (2525)
  • ไอ้เก่ง (2526)
  • ไอ้ขี้เมา (2526)
  • เงิน เงิน เงิน (2526)
  • กตัญญูประกาศิต (2526)
  • จ้าวภูผา (2526)
  • ขุนโจร 5 นัด (2526)
  • แหกนรกเวียตนาม (2526) รับบท ฆ่าชาวบ้านที่ไร้ทางสู้
  • เทพบุตรสลัม (2526)
  • อิสรภาพของทองพูน โคกโพ (2527) รับบท พ่อของเขา
  • นางสาวกะทิสด (2527)
  • ขอโทษที…ที่รัก (2527) รับบท ไกรลาศ
  • ครูปิยะ (2527)
  • รอยไม้เรียว (2527)
  • พลิกแผ่นดินล่า (2527) รับบท สารวัตร
  • มนต์รักกระเป๋ารถ (2527)
  • พูดด้วยปืน (2527) รับบท จอม
  • เสือล่าสิงห์ (2527)
  • นักร้องนักเลง (2527) รับบท ไกรลาศ
  • นักร้องปืนโหด (2528) รับบท ไกรลาศ
  • สองพี่น้อง (2528) รับบท พ่อของเคน
  • แก้วกลางดง (2528) รับบท ตาจั่น
  • นวลฉวี (2528) รับบท ธวิช
  • เสาเอก (2528)
  • หยุดโลกเพื่อเธอ (2528) รับบท กำนันโพลัง
  • ไกลปืนเที่ยง (2528) รับบท กำนัน
  • คำสิงห์ (2529) รับบท บุหลง
  • คู่วุ่นวัยหวาน (2529) รับบท ไกรลาศ
  • ขบวนการคนใช้ (2529)
  • ด้วยเกล้า (2530) รับบท คำปั๋น
  • เชลยรัก (2530)
  • พรานภูเขา (2530)
  • วงศาคณาญาติ (2530) รับบท พ่อของอารัณย์
  • กว่าจะรู้เดียงสา (2530)
  • ฉลามเสือวังตะเพียน (2530)
  • อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
  • คู่กรรม (2531) รับบท ตาบัว
  • ปีศาจสีเงิน (2531) รับบท บุ๊คคำ
  • เพชรพยัคฆราช (2531) รับบท เสี่ยเกรียงศักดิ์
  • ทองประกายแสด (2531) รับบท โฬม
  • รักเธอเท่าฟ้า (2532) รับบท นายคนิด
  • คนเลี้ยงช้าง (2533) รับบท ระบิล
  • เสียดาย (2537) รับบท พ่อของแป๋ม
  • คนจร (2542)
  • สุริโยไท (2544) รับบท ขุนหาญเรืองฤทธิ์
  • สนิมสร้อย (2546)
  • The Legend of Suriyothai (2546) รับบท ขุนหาญเรืองฤทธิ์
  • รักสยามเท่าฟ้า (2551) รับบท ตาบัว (รับเชิญ)
  • ศพเด็ก 2002 (2555)
  • ศรีธนญชัย 555+ (2557) รับบท หลวงปรีชา
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557) รับบท พระยาลอ
  • ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๖ อวสานหงสา (2558) รับบท พระยาลอ
  • พันท้ายนรสิงห์ (2558) รับบท พระพิจิตร

ผลงานละครโทรทัศน์[แก้]

ผลงานมิวสิควิดีโอ[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]