ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีกรุงเทพ"

พิกัด: 13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
| map_locator =
| map_locator =
| route_box = {{เริ่มทางรถไฟ}}
| route_box = {{เริ่มทางรถไฟ}}
{{สถานีรถไฟ|สาย=รถไฟทางไกล [[ทางรถไฟสายเหนือ|สายเหนือ]] - [[ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ|สายตะวันออกเฉียงเหนือ]] - [[ทางรถไฟสายใต้|สายใต้]]|สี = 808080 | ก่อนหน้า= ''สถานีปลายทาง''| ถัดไป = '''[[ป้ายหยุดรถไฟยมราช]]'''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย=รถไฟทางไกล [[ทางรถไฟสายเหนือ|สายเหนือ]] - [[ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ|สายตะวันออกเฉียงเหนือ]] - [[ทางรถไฟสายใต้|สายใต้]] - [[ทางรถไฟสายตะวันออก|สายตะวันออก]]|สี = 808080 | ก่อนหน้า= ''สถานีปลายทาง''| ถัดไป = '''[[ป้ายหยุดรถไฟยมราช]]'''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย=รถไฟทางไกล [[ทางรถไฟสายตะวันออก|สายตะวันออก]] |สี = 808080 | ก่อนหน้า= ''สถานีปลายทาง''| ถัดไป = '''[[ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์]]'''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม}}<br /> ช่วงรังสิต-บางซื่อ-หัวลำโพง |สี ={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม}} | ก่อนหน้า=[[สถานียศเส (รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม)|สถานียศเส]]''<br />มุ่งหน้า [[สถานีรังสิต (รถไฟฟ้าชานเมือง)|สถานีรังสิต]]'' | ถัดไป = ''สถานีปลายทาง''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม}}<br /> ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย|สี ={{BTS color|รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม}} | ก่อนหน้า= ''สถานีปลายทาง''| ถัดไป = [[สถานีคลองสาน (รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม)|สถานีคลองสาน]]''<br />มุ่งหน้า [[สถานีมหาชัย (รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม)|สถานีมหาชัย]]''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}<br> ''เชื่อมต่อที่ [[สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีหัวลำโพง]]'' |สี ={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} | ก่อนหน้า=''สถานีปลายทาง''| ถัดไป =[[สถานีสามย่าน]] <br > มุ่งหน้า ''[[สถานีเตาปูน]]''}}
{{สถานีรถไฟ|สาย={{BTS Lines|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}}<br> ''เชื่อมต่อที่ [[สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร)|สถานีหัวลำโพง]]'' |สี ={{BTS color|รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล}} | ก่อนหน้า=''สถานีปลายทาง''| ถัดไป =[[สถานีสามย่าน]] <br > มุ่งหน้า ''[[สถานีเตาปูน]]''}}
{{จบกล่อง}}
{{จบกล่อง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 05:32, 7 เมษายน 2562

สถานีรถไฟกรุงเทพ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งแขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143
เจ้าของไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย
สาย  สายเหนือ
  สายตะวันออกเฉียงเหนือ
  สายใต้
  สายตะวันออก
ชานชาลา12 ชานชาลาราง (ตัวสถานี)
8 ชานชาลาราง (โรงรถดีเซลราง)
การเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1001
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ25 มิถุนายน พ.ศ. 2459
ผู้โดยสาร
พ.ศ. 254460,000+ คนต่อวัน
ภายนอกสถานีรถไฟกรุงเทพ
ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด สร้างในสมัย รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในปัจจุบันสถานีรถไฟหัวลำโพง มีทางเชื่อมต่อที่มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ดูกลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครหรือรถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณถนนพระรามที่ 4

การก่อสร้างสถานีกรุงเทพ ก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี การประดับหลัก ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 160 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง

สถานีกรุงเทพ มีรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน โดยมีผู้โดยสารหลายหมื่นคน (ข้อมูลปี พ.ศ. 2561) โดยเฉพาะช่วงวันสำคัญ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ จะมีผู้โดยสารเป็นจำนวนมาก

ประวัติ

กรุงเทพ
Bangkok
กิโลเมตรที่ 0.00
ยมราช
Yommarat
+2.17 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่นิยมเรียกว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง ซึ่งคำว่า หัวลำโพง มักสันนิษฐานตามข้อสันนิษฐานของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพว่าตั้งชื่อตามชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งคือ ต้นลำโพง ซึ่งเคยมีมากในบริเวณนี้ จึงเรียกว่า ทุ่งหัวลำโพง หรือ ทุ่งวัวลำพอง ซึ่งแต่เดิมคงเคยเป็นที่เลี้ยงวัวของแขก ซึ่งคำว่า วัวลำพอง เพี้ยนมาจากคำว่า หัวลำโพง เนื่องจากชาวต่างชาติในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่สามารถอ่านคำว่า หัวลำโพง ได้

แต่ทั้งนี้ที่มาของชื่อนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด เนื่องจากรัชกาลที่ 5 ทรงมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 14 ฉบับที่ 148 พุทธศักราช 2440 ว่า วัวลำพอง กับ หัวลำโพง มิใช่สถานที่เดียวกัน [1] และมีอีกคำอธิบายว่า อาจจะเป็นคำผสมทั้งภาษาไทยกับภาษามลายู จากคำว่า ขัว ในภาษาไทย ซึ่งแปลว่า สะพาน กับคำว่า lampung ในภาษามลายู (ออกเสียง ลำพุง) แปลว่า ชั่วคราว, ลอย ขัวลำพุง จึงหมายถึง สะพานชั่วคราว (ทอดข้ามหรือลอยในลำน้ำ) กลายเป็นหัวลำโพง เพื่อสะดวกการออกเสียงของชาวไทยไปในที่สุด ทั้งนี้ใกล้กับบริเวณหัวลำโพงขึ้นไปทางทิศเหนือ มีถนนคลองลำปัก ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากภาษามลายูอีกเช่นกัน คือ lambak ที่หมายถึง กองของสิ่งของต่าง ๆ [2]

สถานีนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเริ่มใช้งาน วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 สถานีรถไฟกรุงเทพ เดิมเป็นสถานีที่ให้บริการทั้งด้านการขนส่งสินค้า และขนส่งมวลชน ต่อมาการขยายตัวในด้านการโดยสารและขนส่งสินค้ามีมากขึ้น แต่ด้วยพื้นที่อันจำกัดเพียง 120 ไร่ จึงทำให้ต้องย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ที่ย่านสินค้าพหลโยธิน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 และทำการปรับปรุงสถานีรถไฟกรุงเทพให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่ง มวลชนเพียงอย่างเดียว เพื่อสามารถรองรับผู้โดยสารจากทั่วทุกสารทิศของประเทศ

ตัวสถานีแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ อาคารมุขหน้า มีลักษณะเหมือนระเบียงยาว และอาคารโถงสถานีเป็นอาคารหลังคาโค้งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิก คือ เป็นงานเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบราณของกรีก - โรมัน จุดเด่นของสถานีหัวลำโพงอีกอย่างหนึ่งคือ กระจกสีที่ช่องระบายอากาศ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังซึ่งประดับไว้อย่างผสมผสานกลมกลืนกับตัวอาคาร เช่นเดียวกับนาฬิกาบอกเวลาซึ่งติดตั้งไว้กลางส่วนโค้งของอาคารด้านในและด้าน นอก โดยเป็นนาฬิกาที่สั่งทำขึ้นพิเศษเป็นการเฉพาะ ไม่ระบุชื่อบริษัทผู้ผลิตเหมือนนาฬิกาทั่ว ๆ ไป

บริเวณที่พักผู้โดยสารเป็นห้องโถงชั้นครึ่ง ชั้นล่างซึ่งมีที่นั่งจำนวนมาก มีร้านค้าหลากหลาย ได้แก่ ร้านอาหาร ขนม เครื่องดื่ม ผลไม้ ขนมปัง ไอศกรีม หนังสือ ร้านขายยา ฯลฯ ก่อนถึงห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้ายังมีห้องละหมาดอีกด้วย เหนือห้องประชาสัมพันธ์มีจอภาพขนาด 300 นิ้ว ควบคุมด้วยระบบดอลบีดิจิตอล ฉายเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟ ส่วนชั้นลอย มีที่นั่งไม่มากนัก มีบริษัททัวร์ บริษัทรับจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน บริการแลกเปลี่ยนเงินตรา และร้านกาแฟ

ที่ผนังด้านซ้ายและขวาของสถานีกรุงเทพมีภาพเขียนสีน้ำ เป็นภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ของประเทศ อาทิ พระบรมมหาราชวัง ตลาดน้ำ เขาวัง ภูกระดึง หาดสมิหลา ฯลฯ นอกจากนี้ที่ด้านหน้าสถานีมีสวนหย่อมและน้ำพุสำหรับประชาชน โดยข้าราชการรถไฟได้รวบรวมทุนทรัพย์จัดสร้างอนุสาวรีย์น้อมเกล้าฯ อุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระพุทธเจ้าหลวง อนุสาวรีย์ที่ว่านี้เป็นรูป “ช้างสามเศียร” มีพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แกะสลักเป็นภาพนูนสูงประดิษฐานอยู่ด้านบน

กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีหัวลำโพง จำนวน 4 สาย ได้แก่

สถานีรถไฟกรุงเทพในปัจจุบัน มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินให้บริการอยู่ภายในชั้นใต้ดินของสถานีรถไฟ

แผนผังสถานี

G
ชานชาลารถไฟทางไกล
ชานชาลารถไฟทางไกล จำนวน 12 ชานชาลา เป็นชานชาลาเกาะกลาง
G
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร โถงพักคอยและรับผู้โดยสาร, ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า, ทางออก
B1-B2
ส่วนของสถานีรถไฟฟ้ามหานคร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางเดินเชื่อมไปยัง สถานีหัวลำโพง (รถไฟฟ้ามหานคร), ชั้นขายบัตรโดยสาร (รถไฟฟ้ามหานคร), ชานชาลาสถานี

อุบัติเหตุ

สมุดภาพ

อ้างอิง

  1. "CHN_274_หัวลำโพง". ชื่อนั้น...สำคัญไฉน?. 2011-03-23.
  2. ป.ศรีนาค (2017-01-28). "ชื่อมลายูในกรุงเทพฯ".
  • กรมรถไฟหลวง, รายงานกองบัญชาการครั้งที่ 20 กล่าวด้วยการเดินรถไฟหลวงทางขนาดใหญ่ในกรุงสยามประจำพระพุทธศักราช 2459 (ปีคฤศต์ศักราช 1916-17), โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2460 (เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
  • กรมรถไฟหลวง,งานฉลองรถไฟหลวง 50 ปี, โรงพิมพ์กรมรถไฟ, พระนคร, พ.ศ. 2490
  • ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
  • ประวัติสถานีรถไฟกรุงเทพ ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°44′24″N 100°31′05″E / 13.73999°N 100.518143°E / 13.73999; 100.518143

สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า เส้นทางรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง   รถไฟทางไกล สายเหนือ - สายตะวันออกเฉียงเหนือ - สายใต้   ป้ายหยุดรถไฟยมราช
สถานีปลายทาง   รถไฟทางไกล สายตะวันออก   ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์
สถานียศเส
มุ่งหน้า สถานีรังสิต
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines
ช่วงรังสิต-บางซื่อ-หัวลำโพง
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีปลายทาง
สถานีปลายทาง style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines
ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีคลองสาน
มุ่งหน้า สถานีมหาชัย
สถานีปลายทาง style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   แม่แบบ:BTS Lines
เชื่อมต่อที่ สถานีหัวลำโพง
style="background:#แม่แบบ:BTS color; border-left: 0px none; border-right: 0px none; border-top:1px #aaa solid; border-bottom:0px none;" |   สถานีสามย่าน
มุ่งหน้า สถานีเตาปูน