สถานีรถไฟคำสะหวาด

พิกัด: 17°54′11″N 102°42′35″E / 17.90306°N 102.70972°E / 17.90306; 102.70972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำสะหวาด

ຄໍາສະຫວາດ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านคำสะหวาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว
พิกัด17°54′11″N 102°42′35″E / 17.90306°N 102.70972°E / 17.90306; 102.70972
เจ้าของการรถไฟลาว[1]
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
รัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งชาติลาว[2]
สายหนองคาย–เวียงจันทน์
ชานชาลา3
ราง4
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ที่จอดรถมีบริการ
สถาปนิกบริษัท เสริมสงวนก่อสร้าง จำกัด[1]
ข้อมูลอื่น
สถานะเปิดให้บริการ
รหัสสถานี7202 (ลล)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ30 ตุลาคม พ.ศ. 2566; 5 เดือนก่อน (2566-10-30)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
ท่านาแล้ง สายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีปลายทาง

สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด) หรือ สถานีรถไฟคำสะหวาด (ลาว: ສະຖານີຄໍາສະຫວາດ) เดิมเคยใช้ชื่อในโครงการว่า สถานีรถไฟเวียงจันทน์[1] เป็นสถานีรถไฟของทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ ตั้งอยู่ที่บ้านคำสะหวาด เมืองไชยเชษฐา นครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว โดยสถานีแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟท่านาแล้ง 7.5 กิโลเมตร ถือเป็นจุดสิ้นสุดของเส้นทางรถไฟสายหนองคาย–เวียงจันทน์ มีกำหนดแล้วเสร็จภายในปลาย พ.ศ. 2564 แต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 พบว่าการก่อสร้างสถานีแห่งนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์[3][4] และเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565[5]

มีกำหนดการเปิดให้บริการสถานีรถไฟคำสะหวาดในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ให้บริการเดินรถไปกลับ คำสะหวาด–หนองคาย–คำสะหวาด จำนวนสี่เที่ยว และ พ.ศ. 2567 มีแผนที่จะเดินรถไปถึงสถานีรถไฟอุดรธานี และสถานีรถไฟนครราชสีมา[6] โดยระหว่างรอพิธีเปิดนั้น ภายในสถานีรถไฟคำสะหวาดมีบริการจำหน่ายตั๋วรถไฟสายเวียงจันทน์–บ่อเต็น เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566[7]

กระทั่งวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2566 ได้ทำพิธีเปิดสถานีรถไฟคำสะหวาด โดยมีเศรษฐา ทวีสิน และสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรีของไทยและลาว เป็นประธานในพิธี[8] โดยจะมีการส่งเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งชาติลาวไปอบรมกับเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "โครงการก่อสร้างทางรถไฟสายท่านาแล้ง–เวียงจันทน์ สปป. ลาว" (PDF). สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน). ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 "ไทย-ลาว เปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)". สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง. 30 ตุลาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Shi Yinglun, บ.ก. (2019-07-02). "Laos, Thailand to expand railway into Lao capital" (ภาษาอังกฤษ). 新華社通信. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-24. สืบค้นเมื่อ 2021-09-16.
  4. Jasmina Yap (2018-01-18). "Lao-Thai Railway to Begin Phase II (Thanalaeng to Khamsavath)" (ภาษาอังกฤษ). The Laotian Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-06. สืบค้นเมื่อ 2021-09-16.
  5. Khamsavath Station in Vientiane Capital Ready to Operate Soon - The Laotian Times, Juy 25, 2022
  6. Thailand -Laos rail project expected to be operational in mid-2023 - Lao News Agency, 10/10/2022
  7. "สถานีรถไฟเวียงจันทน์ (บ้านคำสะหวาด) เปิดให้บริการตั๋วรถไฟแล้ว!". ศูนย์เศรษฐกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ. 15 มิถุนายน 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ไทย-ลาว ร่วมเปิดสถานีรถไฟเวียงจันทน์ (คำสะหวาด)". ผู้จัดการออนไลน์. 30 ตุลาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)