สถานีรถไฟแม่เมาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟแม่เมาะ
สถานีรถไฟแม่เมาะ.jpg
อาคารสถานีรถไฟแม่เมาะ
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านแม่เมาะ หมู่ 4 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
พิกัด18°15′41″N 99°42′25″E / 18.2613298°N 99.7070653°E / 18.2613298; 99.7070653
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
สายทางรถไฟสายเหนือ
ชานชาลา2
รางกว้าง 1 เมตร
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ระดับชานชาลา2
ที่จอดรถลานจอดรถหน้าสถานี
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1184
เขตค่าโดยสารช่องจำหน่ายตั๋วทุกสถานีรถไฟ
ประวัติ
เปิดให้บริการ1 เมษายน พ.ศ. 2459 (106 ปี)
ผู้โดยสาร
ผู้โดยสาร ()ไม่ต่ำกว่า 25 คน /วัน
6 ขบวนที่จอดสถานีนี้
การเชื่อมต่อ
ดี
แม่เมาะ
Mae Mo
กิโลเมตรที่ 609.16
แม่จาง
Mae Chang
−8.83 กม.
ห้วยรากไม้
Huai Rak Mai
+4.99 กม.
ดูเพิ่ม : รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ

สถานีรถไฟแม่เมาะ (อังกฤษ: Mae Mo Railway Station) เป็นสถานีรถไฟประจำอำเภอแม่เมาะ เป็นสถานีรถไฟชั้น 2 ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ ตั้งอยู่ที่บ้านแม่เมาะ หมู่ที่ 4 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพเป็นระยะทาง 609.16 กิโลเมตร อยู่ระหว่าง สถานีรถไฟแม่จาง และ สถานีรถไฟศาลาผาลาด ใช้สัญญาณแบบประแจกลสายลวดพร้อมสัญญาณหางปลา ไม่มีสัญญาณเตือน ใช้ห่วงทางสะดวกใช้ห่วงทางสะดวก [1]

เป็นสถานีหลีกประจำของขบวนรถด่วน 51 กับรถเร็ว 102 เมื่อขบวนรถตามเวลา(สถานการณ์เดินรถตามปกติ)

ข้อมูลจำเพาะ[แก้]

  • ประเภทเส้นทาง : ทางรถไฟทางไกลสายเหนือ
  • รหัส  : 1184
  • ชื่อภาษาไทย  : แม่เมาะ
  • ชื่อภาษาอังกฤษ : Mae Mo
  • ชื่อย่อภาษาไทย : มม.
  • ชื่อย่อภาษาอังกฤษ : MMO.
  • ชั้นสถานี  : สถานีรถไฟชั้น 2
  • ระบบอาณัติสัญญาณ : หางปลา ไม่มีสัญญาณเตือน ใช้ห่วงทางสะดวก
  • พิกัดที่ตั้ง  : ติดกับชุมชนหมู่บ้านแม่เมาะ ห่างจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ 5.7 กม.
  • ที่อยู่  : บ้านแม่เมาะ หมู่ที่4 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง 52220
  • ขบวนรถ/วัน:จอด 6 ขบวน รถด่วน รถเร็ว รถท้องถิ่น และรถสินค้า/น้ำมัน
  • ปริมาณผู้โดยสาร/วัน : ไม่ต่ำกว่า 25 คน
  • สถานีก่อนหน้า : สถานีรถไฟแม่จาง
  • สถานีถัดไป : ที่หยุดรถไฟห้วยรากไม้
  • สถานีถัดไป(ที่ไม่ใช่ที่หยุดรถหรือป้ายหยุดรถ) : สถานีรถไฟศาลาผาลาด
  • ห่างจากสถานีกรุงเทพ : 609.16 กิโลเมตร

ประวัติการก่อสร้างสถานีรถไฟแม่เมาะ[แก้]

สถานีรถไฟแม่เมาะ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 เปิดใช้งานเดินรถครั้งแรก วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 เป็นช่วงการก่อสร้างเส้นทางและทดลองเดินรถในช่วงที่ 12[2] ของการสร้างทางรถไฟสายเหนือ ระหว่าง แม่จาง-นครลำปาง ระยะทาง 42 กิโลเมตร โดยในอดีตเคยมีทางแยกไปโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากร่องรอยเส้นทางเดิมที่ถูกรื้อถอนรางรถไฟไปหมดแล้ว

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

ณ วันที่ 17 กรกฎาคม 2564

เที่ยวไป[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง แม่เมาะ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท407 นครสวรรค์ 05.00 11.54 เชียงใหม่ 14.35
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 01.19 เชียงใหม่ 04.05
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 09.16 เชียงใหม่ 12.10
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า

เที่ยวกลับ[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง แม่เมาะ ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ท408 เชียงใหม่ 09.30 12.41 นครสวรรค์ 19.55
ร102 เชียงใหม่ 06.30 09.14 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ด52 เชียงใหม่ 15.30 18.45 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า


แผนผังสถานี[แก้]

ชานชาลาด้านข้าง, ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร, อาคารพักผู้โดยสาร
มุ่งหน้า แม่จาง ---|----------|----------|----------|----------|----------|----------|----------|----------|--- มุ่งหน้า ห้วยรากไม้
ชานชาลาเกาะกลาง
----------|----------|----------|----------|----------|----- รางหลีก -----|----------|----------|----------|----------|----------
----------|----------|----------|----------|----------|----- รางหลีก -----|----------|----------|----------|----------|----------

สถานีใกล้เคียง[แก้]

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีแม่จาง
มุ่งหน้า สถานีกรุงเทพ
  ทางรถไฟสายเหนือ
(การรถไฟแห่งประเทศไทย)
  ที่หยุดรถห้วยรากไม้
มุ่งหน้า สถานีเชียงใหม่

อ้างอิง[แก้]

  1. "รายชื่อสถานีรถไฟและที่หยุดรถ สายเหนือ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-01. สืบค้นเมื่อ 2008-04-01.
  2. สมุดเลขรหัสแทนชื่อสถานีและที่หยุดรถ ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ 01 ต.ค. 2522 สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°16′11″N 99°41′48″E / 18.2697056°N 99.6966432°E / 18.2697056; 99.6966432