สถานีรถไฟเด่นชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีรถไฟเด่นชัย
สถานีระดับที่ 1
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งบ้านแพะโรงสูบ หมู่ที่6 ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ 54110
พิกัด17°58′49″N 100°02′46″E / 17.980357°N 100.046164°E / 17.980357; 100.046164
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม
สาย
ชานชาลา3
ราง6
โครงสร้าง
ประเภทโครงสร้างระดับดิน
ข้อมูลอื่น
รหัสสถานี1164 (ดช.)
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 (111 ปี)
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีต่อไป
แม่พวก สายเหนือ ปากปาน
มุ่งหน้า เชียงใหม่
เด่นชัย
Den Chai
กิโลเมตรที่ 533.94
แม่พวก
Mae Phuak
−5.72 กม.
ปากปาน
Pak Pan
+4.49 กม.
ดูเพิ่ม: รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ
ที่ตั้ง
แผนที่

สถานีรถไฟเด่นชัย เป็นสถานีรถไฟระดับหนึ่งบนเส้นทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพ–เชียงใหม่) เป็นสถานีรถไฟประจำจังหวัดแพร่ เนื่องจากจังหวัดแพร่ยังไม่มีมีเส้นทางรถไฟผ่านตัวอำเภอเมืองแพร่ ตัวสถานีตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมืองแพร่ประมาณ 24 กิโลเมตร อยู่ห่างจากสถานีรถไฟกรุงเทพ เป็นระยะทาง 533.94 กิโลเมตร ซึ่งถ้าลงสถานีรถไฟเด่นชัยสามารถเดินทางไปยังจังหวัดน่านได้อีกด้วย สถานีรถไฟเด่นชัย อยู่ระหว่างที่หยุดรถแม่พวก กับสถานีรถไฟปากปาน

สถานีเด่นชัยก่อสร้างและเปิดเดินรถในสมัยรัชกาลที่ 6 ปัจจุบันตัวสถานีและย่าน มีจำนวนทาง 11 ทาง เป็นทางหลัก 1 ทาง ทางหลีก 6 ทาง ทางตัน 4 ทาง โดยเป็นทางติดชานชาลา 3 ทาง

ในอนาคตสถานีแห่งนี้จะถูกยกขึ้นเป็นสถานีชุมทางรถไฟแห่งใหม่ เชื่อมระหว่างทางรถไฟสายเหนือกับทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ และจะมีการตั้งสถานีรถไฟแพร่ ขึ้นเป็นสถานีประจำจังหวัดเเพร่แทน โดยสถานีรถไฟเด่นชัยจะมีฐานะเป็นสถานีประจำอำเภอเด่นชัย ซึ่งโครงการนี้จะเริ่มต้นปี พ.ศ. 2564 และจะแล้วเสร็จประมาณ พ.ศ. 2571

ประวัติ[แก้]

สถานีรถไฟเด่นชัยก่อสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และเปิดเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 โดยเส้นทางช่วงแม่พวก-ปากปาน ซึ่งมีระยะทาง 10 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางรถไฟสายเหนือ มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมัน เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง

ในอดีตเคยเป็นจุดจอดพักเติมน้ำมันของเส้นทางรถไฟสายเหนือ ปัจจุบันถูกย้ายสร้างใหม่เป็นสถานีรถไฟศิลาอาสน์

อนาคตสถานีรถไฟเด่นชัยจะเปลี่ยนเป็นชุมทางเด่นชัยในทางรถไฟสายเด่นชัย–เชียงราย–เชียงของ

ตารางเวลาการเดินรถ[แก้]

ณ วันที่ 19 มกราคม 2566

เที่ยวไป[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง เด่นชัย ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ดพ9 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.40 02.48 เชียงใหม่ 07.15
ดพ13 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.05 04.16 เชียงใหม่ 08.40
ร107 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.45 ปลายทาง เด่นชัย 05.15
ด51 กรุงเทพอภิวัฒน์ 22.30 07.17 เชียงใหม่ 12.10
ท407 นครสวรรค์ 05.00 10.12 เชียงใหม่ 14.35
ดพ7 กรุงเทพอภิวัฒน์ 09.05 15.23 เชียงใหม่ 19.30
ร111 กรุงเทพอภิวัฒน์ 07.30 ปลายทาง เด่นชัย 16.30
ร109 กรุงเทพอภิวัฒน์ 14.15 23.39 เชียงใหม่ 04.05
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

เที่ยวกลับ[แก้]

ขบวนรถ ต้นทาง เด่นชัย ปลายทาง หมายเหตุ
ชื่อสถานี เวลาออก ชื่อสถานี เวลาถึง
ร112 เด่นชัย 07.30 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 17.20
ร102 เชียงใหม่ 06.30 10.46 กรุงเทพอภิวัฒน์ 20.25
ดพ8 เชียงใหม่ 08.50 12.39 กรุงเทพอภิวัฒน์ 18.55
ท408 เชียงใหม่ 09.30 14.19 นครสวรรค์ 19.55
ร108 เด่นชัย 19.05 ต้นทาง กรุงเทพอภิวัฒน์ 04.30
ด52 เชียงใหม่ 15.30 20.26 กรุงเทพอภิวัฒน์ 05.10
ดพ14 เชียงใหม่ 17.00 21.41 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.10
ดพ10 เชียงใหม่ 18.00 22.36 กรุงเทพอภิวัฒน์ 06.50
หมายเหตุขบวนรถ: = สายเหนือ / = สายตะวันออกเฉียงเหนือ / = สายใต้ / = สายตะวันออก / = สายแม่กลอง
ดพ = รถด่วนพิเศษ / ด = รถด่วน / ร = รถเร็ว / ธ = รถธรรมดา / ช = รถชานเมือง / พช = รถพิเศษชานเมือง / ท = รถท้องถิ่น / น = รถนำเที่ยว / ส = รถสินค้า

อ้างอิง[แก้]