เอดีอาร์ (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แดวู (รถราง))
Daewoo Railcar / ADR
ADR2529.jpg
รถดีเซลรางแดวู 2529 กำลังวิ่งผ่านสถานีการเคหะ
ประเภทและที่มา
ชื่อเรียกรุ่นADR (AirConditioner Daewoo RailCar)
รุ่นเลขที่กซข.ป.2513 - 2524 (APD.20),
กซข.ป.2524 - 2544 (APD.60),
กซม.ป.2121 - 2128 (APN.20),
พซน.ป.1101 - 1140 (ปัจจุบัน บนท.ป.1101 - 1140)
โมเดลโรงงานDRH-11 (กซข.ป.2513 - 2524)
DRH-12 (กซม.ป.2121 - 2128)
DRH-13 (กซข.ป.2525 - 2544)
DPG-09 (พซน.ป.1101 - 1140)
ผู้ผลิตDaewoo Heavy Industries Ltd. /ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ปีที่ประจำการพ.ศ. 2538 - 2539
จำนวนรถดีเซลราง 40 คัน (แบบมีห้องขับ 32 คัน / แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน)
รถพ่วงดีเซลราง 40 คัน
ข้อมูลทั่วไป
ชนิดรถดีเซลราง
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร
การจัดวางล้อ2-A1
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว24.300 เมตร (รถดีเซลราง)
24.420 เมตร (รถพ่วงดีเซลราง)
ความกว้าง2.705 เมตร (APD.20,APN.20)
2.900 เมตร (APD.60)
ความสูง3.886 เมตร
น้ำหนักจอดนิ่ง 44.60 ตัน (APD.20)
43.50 ตัน (APN.20)
42.30 ตัน (APD.60)
ใช้การ 47.20 ตัน (APD.20)
46.10 ตัน (APN.20)
46.10 ตัน (APD.60)
น้ำหนักกดเพลา11.80 ตัน (APD.20)
11.53 ตัน (APN.20)
11.53 ตัน (APD.60)
เครื่องยนต์Cummins NT-855R1
ระบบส่งกำลังไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211RZ
ความจุถังเชื้อเพลิง1,500 ลิตร
ระบบห้ามล้อลมอัด 2 สูบ
จำนวนห้องขับ1 ฝั่ง (APD.20,APD.60)
ไม่มี (APN.20)
ความจุผู้โดยสาร76 ที่นั่ง/คัน (APD.20)
80 ที่นั่ง/คัน (APN.20)
64 ที่นั่ง/คัน (APD.60)
ประตูทางขึ้น2 ประตู
ข้างละ 1 ประตู
ประสิทธิภาพ
กำลังเครื่องยนต์298 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (APD.20,APN.20)
285 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (APD.60)
ความเร็วสูงสุด120 กม./ชม.
ความเร็วให้บริการ120 กม./ชม.
การใช้งาน
ประจำการในการรถไฟแห่งประเทศไทย / ประเทศไทย ไทย
จำนวนประจำการในปัจจุบัน39 (รถดีเซลราง)
ปลดประจำการ1 (รถดีเซลราง)

เอดีอาร์ (ADR) หรือ รถดีเซลรางแดวู (อังกฤษ: Daewoo Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง สั่งซื้อจากบริษัท Daewoo Heavy Industries Ltd. ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 - 2539 เพิ่อรองรับความต้องการใช้งานที่เพิ่มขึ้นของผู้โดยสาร ที่นิยมโดยสารด้วยรถไฟปรับอาศ รถดีเซลรางแดวูยังถูกนำมาใช้รองรับการโดยสารของนักท่องเที่ยว ในมหกรรมกีฬาซีเกมส์ และ เอเชียนเกมส์ ช่วงปี พ.ศ.2538 - 2541 ที่จัดขึ้นในประเทศไทยในขณะนั้นอีกด้วย

รุ่น[แก้]

รถดีเซลรางแดวู มีชื่อเรียกรุ่นว่า ADR (AirConditioner Daewoo RailCar) แต่ก็ยังมีรุ่นย่อยที่แตกต่างกัน เพราะมีการสั่งซื้อหลายครั้ง หลายจุดประสงค์การใช้งาน

ADR รุ่น 20[แก้]

ADR รุ่น 20
ADRAPD20.jpg
รถดีเซลรางแดวู 2520 กำลังผ่านที่หยุดรถแกรนด์คาแนล
ประเภทและที่มา
ชื่อเรียกรุ่นADR (AirConditioner Daewoo RailCar)
รุ่นเลขที่กซข.ป.2513 - 2524 (APD.20),
กซม.ป.2121 - 2128 (APN.20)
โมเดลโรงงานDRH-11 (กซข.ป.2513 - 2524)
DRH-12 (กซม.ป.2121 - 2128)
ผู้ผลิตDaewoo Heavy Industries Ltd. /ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ปีที่ประจำการพ.ศ. 2538
จำนวน20 คัน (แบบมีห้องขับ 12 คัน / แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน)
ข้อมูลทั่วไป
ชนิดรถดีเซลราง
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร
การจัดวางล้อ2-A1
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว24.300 เมตร
ความกว้าง2.705 เมตร
ความสูง3.886 เมตร
น้ำหนักจอดนิ่ง 44.60 ตัน (APD.20)
43.50 ตัน (APN.20)
ใช้การ 47.20 ตัน (APD.20)
46.10 ตัน (APN.20)
น้ำหนักกดเพลา11.80 ตัน (APD.20)
11.53 ตัน (APN.20)
เครื่องยนต์Cummins NT-855R1
ระบบส่งกำลังไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211RZ
ความจุถังเชื้อเพลิง1,500 ลิตร
ระบบห้ามล้อลมอัด 2 สูบ
จำนวนห้องขับ1 ฝั่ง (APD.20)
ไม่มี (APN.20)
ความจุผู้โดยสาร76 ที่นั่ง/คัน (APD.20)
80 ที่นั่ง/คัน (APN.20)
ประตูทางขึ้น2 ประตู
ข้างละ 1 ประตู
ประสิทธิภาพ
กำลังเครื่องยนต์298 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
ความเร็วให้บริการ120 กม./ชม.
การใช้งาน
ประจำการในการรถไฟแห่งประเทศไทย / ประเทศไทย ไทย
จำนวนประจำการในปัจจุบัน19
ปลดประจำการ1

เป็นรถดีเซลรางแดวูล็อตแรก โดยเป็นรถนั่งดีเซลรางทั้งหมด โดยมีมิติรถที่เล็กตามขนาดของรถไฟรุ่นเก่า ๆ เพื่อไม่ให้กระทบกับความกังวลด้านข้อจำกัดของเขตโครงสร้างต่าง ๆ แต่มีที่นั่งที่มากกว่าล็อตอื่น ๆ

  • DRH-11 เอพีดี.20 (APD.20) รุ่นเลขที่ กซข.ป. 2513 – 2524 (มีห้องขับ) จำนวน 12 คัน
รถดีเซลรางแดวู 2514 ขณะจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพ
  • DRH-12 เอพีเอ็น.20 (APN.20) รุ่นเลขที่ กซม.ป. 2121 – 2128 (ไม่มีห้องขับ) จำนวน 8 คัน


ADR รุ่น 60[แก้]

ADR รุ่น 60
ADRAPD60.jpg
รถดีเซลรางแดวู 2543 กำลังผ่านสถานีหลักหก
ประเภทและที่มา
ชื่อเรียกรุ่นADR (AirConditioner Daewoo RailCar)
รุ่นเลขที่กซข.ป.2524 - 2544 (APD.60)
โมเดลโรงงานDRH-13
ผู้ผลิตDaewoo Heavy Industries Ltd. /ประเทศเกาหลีใต้ เกาหลีใต้
ปีที่ประจำการพ.ศ. 2539
จำนวน20 คัน
ข้อมูลทั่วไป
ชนิดรถดีเซลราง
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร
การจัดวางล้อ2-A1
วัสดุตัวถังสแตนเลสสตีล
ความยาว24.300 เมตร
ความกว้าง2.900 เมตร
ความสูง3.886 เมตร
น้ำหนักจอดนิ่ง 42.30 ตัน
ใช้การ 46.10 ตัน
น้ำหนักกดเพลา11.53 ตัน
เครื่องยนต์Cummins NT-855R1
ระบบส่งกำลังไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T211RZ
ความจุถังเชื้อเพลิง1,500 ลิตร
ระบบห้ามล้อลมอัด 2 สูบ
จำนวนห้องขับ1 ฝั่ง
ความจุผู้โดยสาร64 ที่นั่ง/คัน
ประตูทางขึ้น2 ประตู
ข้างละ 1 ประตู
ประสิทธิภาพ
กำลังเครื่องยนต์285 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
ความเร็วสูงสุด120 กม./ชม.
ความเร็วให้บริการ120 กม./ชม.
การใช้งาน
ประจำการในการรถไฟแห่งประเทศไทย / ประเทศไทย ไทย
จำนวนประจำการในปัจจุบัน20 (รถดีเซลราง)

เป็นรถดีเซลรางแดวูล็อตที่สอง โดยมีทั้งรถนั่งดีเซลราง และ รถพ่วงดีเซลรางแบบนั่งและนอน โดยมีมิติรถที่ใหญ่กว่าล็อตแรก เพราะไม่มีข้อจำกัดด้านเขตโครงสร้าง และเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้งานต่าง ๆ รถดีเซลรางแดวูล็อตนี้ได้เป็นมาตรฐานของขนาดรถไฟไทยในยุคใหม่ ที่ได้ใช้รถไฟที่มีมิติรถที่ใหญ่ขึ้นตามมาในอีกหลายรุ่น

  • DRH-13 เอพีดี.60 (APD.60) รุ่นเลขที่ กซข.ป. 2525–2544 (มีห้องขับ) จำนวน 20 คัน
รถดีเซลรางแดวู 2529 ขณะจอดที่สถานีรถไฟเชียงใหม่
  • DPG-09 เอเอ็นที. (ANT.) รุ่นเลขที่ พซน.ป. 1101–1140 (รถพ่วงดีเซลรางแบบนั่งและนอนไม่มีห้องขับ) จำนวน 40 คัน
DPG-09 ขณะจอดที่สถานีรถไฟกรุงเทพ

โดยในปัจจุบันได้ดัดแปลงเป็น บนท.ป.1101 - 1140 (รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2) เพื่อนำไปใช้พ่วงร่วมกับขบวนรถต่าง ๆ ซึ่งใช้งานได้คล่องตัวกว่า ปัจจุบันมีพ่วงอยู่ในขบวนรถด่วนที่ 83/84 (กรุงเทพฯ-ตรัง-กรุงเทพฯ) และรถด่วนขบวนที่ 85/86 (กรุงเทพฯ-นครศรีธรรมราช-กรุงเทพฯ)

ด้านการใช้งาน[แก้]

แม้ว่ารถดีเซลรางแดวูจะมีหลายรุ่น แต่ในการใช้งานจริง ก็ได้มีการจัดให้ใช้งานได้ร่วมกัน เพราะระบบต่าง ๆ เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด เลยมักจะได้เห็นรถดีเซลรางแดวูที่มีริ้วขบวนแบบมีรถต่างขนาดกันในขบวนเดียวกัน

รถดีเซลรางแดวูรุ่น20 และ รุ่น60 ที่ใช้งานร่วมกัน จะเห็นได้ว่ามีขนาดที่แตกต่างกัน


ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • ประเภท รถดีเซลรางปรับอากาศ (Air Conditioner Diesel Rail Car)
  • เครื่องยนต์ Cummins NT855-R1
  • กำลังขับเคลื่อน
    • 298 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (APD.20,APN.20)
    • 285 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที (APD.60)
  • ระบบขับเคลื่อน ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค ควบคุมโดยอัตโนมัติ พร้อมวงจรเปลี่ยนทิศทางการขับภายในตัว ของ Voith รุ่น T211RZ
  • การจัดวางล้อ 2-A1 ระบบกันสะเทือนแบบแหนบลม (Air Spring)
  • ระบบห้ามล้อ ลมอัด (Air Brake) 2สูบ
  • ความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง
  • ระบบปรับอากาศ Sigma RPR40LX1
  • ประตูขึ้น-ลงรถ เป็นประตูแบบเลื่อนอัตโนมัติ บานเดียว 2ฝั่ง
  • ประตูกั้นภายในรถ เป็นประตูแบบเลื่อนอัตโนมัติ แยกเป็นสองบาน ซ้าย-ขวา ใช้ปุ่มกดเปิด-ปิด
  • เบาะนั่ง เบาะนวม ชุดละ 2 ที่นั่ง สามารถปรับเอนได้ มีถาดวางอาหารหลังเบาะ สามารถหมุนกลับด้านเบาะได้ ตามทิศทางที่รถวิ่ง
  • จำนวนที่นั่ง
    • 76 ที่นั่ง/คัน (APD.20)
    • 80 ที่นั่ง/คัน (APN.20)
    • 64 ที่นั่ง/คัน (APD.60)
  • ผู้ผลิต บริษัท Daewoo Haevy Industries ltd. ประเทศเกาหลีใต้
  • ราคาต่อคัน
    • 28,471,378.83 บาท (กซข.ป.2513 - 2524 และ กซม.ป.2121 - 2128)
    • 31,597,970.70 บาท (กซข.ป.2525 - 2544)
    • 31.5 ล้านบาท (พซน.ป.1101–1140)
  • วันที่เริ่มใช้งาน
    • 14 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 (กซข.ป.2513 - 2524 และ กซม.ป.2121 - 2128)
    • 27 มิถุนายน – 27 กันยายน พ.ศ. 2539 (กซข.ป.2525 - 2544)

ปัญหาและข้อวิจารณ์[แก้]

เรือด[แก้]

ในช่วงปลาย พ.ศ. 2550 – ต้น พ.ศ. 2551 ได้พบเรือดบนเบาะในตู้โดยสารของแดวู[1][2][3] ทำให้ขบวนรถที่ใช้รถดีเซลรางแดวูหลายขบวนต้องงดให้บริการหรือใช้รถดีเซลรางสปรินเตอร์ทำการแทน เพื่อกำจัดเรือดและเปลี่ยนเบาะหนังเทียมเป็นแบบใหม่

เปลี่ยนสีและเสียงหวีด[แก้]

รถดีเซลรางแดวูเป็นรถดีเซลรางที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนเป็นสาเหตุทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ มักจะเป็นอุบัติเหตุรุนแรงหลายครั้ง เนื่องจากมีจุดตัดที่ไม่มีเครื่องกั้นหรือทางลักผ่านหลายจุด และผู้ขับขี่พาหนะทางถนนไม่เคารพกฎจราจร[4] ทำให้รถดีเซลรางแดวูเคยต้องทำสีด้านหน้ารถใหม่หลายแบบ เพ่อเพิ่มจุดสังเกต แต่อุบัติเหตุก็ไม่ได้ลดลง เลยมีการเปลี่ยนเสียงหวีดใหม่ เป็นเสียงหวีดยี่ห้อ Nathan AirChime รุ่น K3LA คล้ายกับที่ใช้ในรถจักรของแอ็มแทร็กในสหรัฐ เพื่อที่จะใช้จะเตือนผู้ขับขี่พาหนะทางถนนให้ดียิ่งขึ้น เพราะเสียงหวีดดั้งเดิมมีเสียงที่ค่อนข้างเบา ได้ยินในระยะที่ไม่ไกลมาก

ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]

ปัจจุบัน
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพฯ–สวรรคโลกศิลาอาสน์–กรุงเทพฯ (วิ่งแทนสปรินเตอร์เป็นบางครั้ง)**ปัจจุบันยกเลิกชั่วคราว
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 7/8 กรุงเทพฯ–เชียงใหม่–กรุงเทพฯ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 21/22 กรุงเทพฯ–อุบลราชธานี–กรุงเทพฯ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 39/40 กรุงเทพฯ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพฯ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 41/42 กรุงเทพฯ–ยะลา–กรุงเทพฯ (ปัจจุบันยกเลิกชั่วคราว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพฯ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพฯ
อดีต
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 9/10 กรุงเทพฯ–เชียงใหม่–กรุงเทพฯ (ปัจจุบันยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนที่ 70/71กรุงเทพฯ–อุบลราชธานี–กรุงเทพฯ (วิ่งแทนทีเอชเอ็นเป็นบางครั้ง)[5]
  • ขบวนรถด่วนที่ 73/72 กรุงเทพฯ–ศีขรภูมิ–กรุงเทพฯ (วิ่งแทนทีเอชเอ็นเป็นบางครั้ง)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศที่ 947/948 และ 949/950 ชุมทางหาดใหญ่ปาดังเบซาร์–ชุมทางหาดใหญ่ (ปัจจุบันใช้รถจักรดีเซลพ่วง บชส.ชั้น3 ทำขบวนแทน)

อ้างอิง[แก้]

  1. "ตัวเรือด บุกดีเซลราง Daewoo". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "กองทัพ'ตัวเรือด'ระบาดในเบาะรถไฟ - รุมกัดผู้โดยสาร". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "ขนลุกไต่ยุ่บยั่บ ตัวเรือด ในเบาะนั่งรถไฟ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เรื่องน่ารู้ก่อนโดยสารรถไฟไทย". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "เล่าเรื่องรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ". สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]