เอเอสอาร์ (รถดีเซลราง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สปรินเทอร์ในประเทศไทย)
Sprinter Railcar / ASR
Train No.998 ,A Class 158-T Sprinter stopping at Pattaya station. Captured by Canon EOS 6D Mark II-November 2020.jpg
รถดีเซลรางสปรินเตอร์ที่สถานีรถไฟพัทยา
ประเภทและที่มา
ชื่อเรียกรุ่นASR (AirConditioner Sprinter RailCar)
รุ่นเลขที่กซข.ป.2501 - 2512 ,
กซม.ป.2113 - 2120
โมเดลโรงงานBREL Class158/T
ผู้ผลิตBritish Rail Engineering Limited (BREL) /สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
ปีที่ประจำการพ.ศ. 2534
จำนวน20 คัน (แบบมีห้องขับ 12 คัน / แบบไม่มีห้องขับ 8 คัน)
ข้อมูลทั่วไป
ชนิดรถดีเซลราง
มาตรฐานทางกว้าง1.000 เมตร
การจัดวางล้อ2-A1
วัสดุตัวถังเหล็กกล้า ,
ไฟเบอร์กลาส
ความยาว23.370 เมตร
ความกว้าง2.800 เมตร
ความสูง3.786 เมตร
น้ำหนักจอดนิ่ง 37.09 ตัน (รถมีห้องขับ)
37.06 ตัน (รถไม่มีห้องขับ)
ใช้การ 38.91 ตัน (รถมีห้องขับ)
37.73 ตัน (รถไม่มีห้องขับ)
น้ำหนักกดเพลา9.73 ตัน (รถมีห้องขับ)
9.43 ตัน (รถไม่มีห้องขับ)
เครื่องยนต์Cummins NT-855-R5
ระบบส่งกำลังไฮดรอลิก
ชุดส่งกำลังVoith T221R2
ความจุถังเชื้อเพลิง1,500 ลิตร
ระบบห้ามล้อลมอัด 2 สูบ ควบคุมด้วยไฟฟ้า
จำนวนห้องขับ1 ฝั่ง (กซข.ป.2501 - 2512)
ไม่มี (กซม.ป.2113 - 2120)
ความจุผู้โดยสาร72 ที่นั่ง/คัน (กซข.ป.2501 - 2512)
80 ที่นั่ง/คัน (กซม.ป.2113 - 2120)
ประตูทางขึ้น4 ประตู (กซข.ป.2501 - 2512)
2 ประตู (กซม.ป.2113 - 2120)
ข้างละ 2 ประตู (กซข.ป.2501 - 2512)
ข้างละ 1 ประตู (กซม.ป.2113 - 2120)
ประสิทธิภาพ
กำลังเครื่องยนต์285 แรงม้า ที่ 2,100 รอบ/นาที
ความเร็วสูงสุด120 กม./ชม.
ความเร็วให้บริการ120 กม./ชม.
การใช้งาน
ประจำการในการรถไฟแห่งประเทศไทย / ประเทศไทย ไทย

เอเอสอาร์ (ASR) หรือรถดีเซลรางสปรินเตอร์ (อังกฤษ: Sprinter Diesel Railcar) เป็นรถดีเซลรางปรับอากาศของการรถไฟแห่งประเทศไทย ใช้สำหรับการทำขบวนรถโดยสาร และ ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลราง สั่งซื้อจากบริษัท British Rail Engineering Limited (BREL) สหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 มีต้นแบบมาจาก บริติช เรล คลาส 158 (อังกฤษ: British Rail Class 158) ที่ใช้งานในสหราชอาณาจักร

รถดีเซลรางสปรินเตอร์ มีชื่อรุ่นจากโรงงานว่า คลาส 158/T (อังกฤษ: Class 158/T) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยได้นำชื่อ สปรินเตอร์(อังกฤษ: Sprinter) มาจากชื่อตระกูลรถดีเซลรางของประเทศอังกฤษ ที่มีความหมายว่า "นักวิ่ง" ซึ่งสื่อความหมายได้ถึงความรวดเร็ว มาใช้ตั้งเป็นชื่อเรียกรุ่น รถดีเซลรางสปรินเตอร์ยังมักถูกเรียกว่า "ยอดนักวิ่ง" อีกด้วย

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัวรถดีเซลรางสปรินเตอร์ เป็นรถด่วนพิเศษดีเซลรางครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ในชื่อ รถด่วนพิเศษ "สปรินเตอร์" สปรินเตอร์ขบวนแรกของไทย คือ ขบวนที่ 907/908 กรุงเทพ–เชียงใหม่–กรุงเทพ ออกให้บริการวันแรก 11 มิถุนายน พ.ศ. 2534 โดยวิ่งให้บริการด้วยความเร็วสูงสุด 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นความเร็วสูงสุดสถิติใหม่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และถือเป็นรถไฟที่วิ่งเร็วที่สุดในไทยในขณะนั้นด้วย

ภายในรถดีเซลรางสปรินเทอร์
รถดีเซลรางสปรินเทอร์ ทำขบวนรถด่วนพิเศษที่3 กรุงเทพ-สวรรคโลก-ศิลาอาสน์

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

  • ประเภท : รถดีเซลรางปรับอากาศ (Air Conditioner Diesel Rail Car)
  • รุ่นเลขที่:
    • กซข.ป. 2501 - 2512 (มีห้องขับ) จำนวน 12 คัน
    • กซม.ป. 2113 - 2120 (ไม่มีห้องขับ) จำนวน 8 คัน
  • เครื่องยนต์  : Cummins NT-855-R5
  • กำลังขับเคลื่อน : 285 แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที
  • ระบบขับเคลื่อน : ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลังแบบไฮดรอลิค (Hydraulic Torque Converter) Voith T221R2 ควบคุมโดยอัตโนมัติ พร้อมวงจรเปลี่ยนทิศทางการขับภายในตัว
  • ความเร็วสูงสุด : 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  • น้ำหนักตัวรถ :
    • มีห้องขับ : 37.090 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) 38.906 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน)
    • ไม่มีห้องขับ : 35.960 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) 37.730 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน)
  • น้ำหนักกดเพลา : 9.73 ตัน
  • ระบบปรับอากาศ : Westinghouse RA102
  • ประตูขึ้น-ลงรถ : เป็นแบบเปิดเองด้วยมือทั้งหมด ทั้งของห้องโดยสารและห้องขับ
  • ประตูกั้นภายในรถ : เป็นประตูแบบเลื่อนอัตโนมัติ แยกเป็นสองบาน ซ้าย-ขวา ใช้ปุ่มกดเปิด-ปิด
  • เบาะนั่ง : เบาะนวม ชุดละ 2 ที่นั่ง สามารถปรับเอนได้ มีถาดวางอาหารหลังเบาะ สามารถหมุนกลับด้านเบาะได้ ตามทิศทางที่รถวิ่ง
  • จำนวนที่นั่ง : 72 ที่นั่ง (มีห้องขับ), 80 ที่นั่ง (ไม่มีห้องขับ)
  • ผู้ผลิต : British Rail Engineering Limited (BREL) / สหราชอาณาจักร
  • ราคาต่อคัน :
    • 23,378,654 บาท (หมายเลข 2501–2512)
    • 22,520,523 บาท (หมายเลข 2113–2120)
  • วันที่เข้าประจำการ: 23 พฤษภาคม – 6 สิงหาคม พ.ศ. 2534

ปรับปรุงใหม่[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2555 การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้นำรถดีเซลรางสปรินเตอร์ จำนวน 3 คัน มาปรับปรุงใหม่ทั้งหมด เป็นจำนวน 1 ชุด ภายใต้โครงการ Sprinter Refurbish หรือการปรับปรุงใหม่ทั้งคัน

  • ได้แก่หมายเลข 2509 , 2118และ 2512 มีการปรับปรุงด้านหน้ารถแบบใหม่ โดยใช้ไฟหน้าของรถบรรทุกวอลโวมาใช้แทนของเดิม มีการปรับปรุงระบบช่วงล่าง ระบบขับเคลื่อน ระบบไฟฟ้าภายในรถ

(ปัจจุบันรถดีเซลรางสปรินเตอร์ชุดดังกล่าวจอดรอการซ่อมบำรุง)

ปัญหาด้านการใช้งานและการซ่อมบำรุง[แก้]

รถดีเซลรางสปรินเตอร์เป็นรถดีเซลรางที่ทำความเร็วได้ถึง 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง และมักจะเป็นอุบัติเหตุรุนแรง เนื่องจากมีจุดตัดทางข้ามทางรถไฟที่ไม่มีเครื่องกั้นหรือทางลักผ่านหลายจุด และผู้ขับขี่พาหนะทางถนนไม่เคารพกฎจราจร และเป็นเหตุทำให้ตัวรถเกิดความเสียหายเป็นอย่างมากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

แต่รถดีเซลรางสปรินเตอร์ เป็นรถที่ใช้วัสดุตัวถังเป็นเหล็กกล้าร่วมกับไฟเบอร์กลาส ทำให้การซ่อมแซมตัวถังยากกว่าตัวถังแบบเหล็กกล้าหรือสแตนเลสสตีล รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่สลับซับซ้อน ยากต่อการซ่อมบำรุง เป็นสาเหตุให้มีรถดีเซลรางสปรินเตอร์หลายคันที่ยังคงจอดรอการซ่อมบำรุง ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานต่อ หรือมีอายุการใช้งานที่น้อยกว่าคันอื่น ๆ

ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]

ปัจจุบัน
  • ขบวนรถเร็วที่ 997/998 กรุงเทพ–บ้านพลูตาหลวง–กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 3/4 กรุงเทพ–สวรรคโลกศิลาอาสน์–กรุงเทพ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)


อดีต
  • ขบวนรถจัดเฉพาะที่ 981/982 บางซื่อ–บางซ่อน–บางซื่อ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560)
  • ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 987/988 กรุงเทพ–สวนนงนุช–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถ และเปลี่ยนเป็นขบวนรถเร็วที่ 997/998 โดยขยายเส้นทางเป็นกรุงเทพ–บ้านพลูตาหลวง–กรุงเทพ)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษดีเซลรางปรับอากาศเลขที่ขบวน 9/10 กรุงเทพ–เชียงใหม่–กรุงเทพ
  • ขบวนรถด่วนพิเศษ (ไม่ทราบเลขขบวน) กรุงเทพ–หนองคาย–กรุงเทพ เปิดการเดินรถวันที่ 22–23 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 43/44 กรุงเทพ–สุราษฎร์ธานี–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางแดวูทำขบวนแทน)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 5/6 กรุงเทพ–พิษณุโลก–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนพิเศษที่ 7/8 กรุงเทพ–สวรรคโลก–กรุงเทพ (ยกเลิกการเดินรถแล้ว)
  • ขบวนรถด่วนที่ 71/74 กรุงเทพ–ศรีสะเกษ–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางทีเอชเอ็น, เอ็นเคเอฟ และเอทีอาร์ ทำขบวน และขยายเส้นทางเป็นกรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ โดยยกเลิกขบวนที่ 74 และเปลี่ยนเลขขบวนรถเที่ยวกลับเป็น 72)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 367/368 กรุงเทพ–ฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถจักรพ่วงรถโดยสาร บชสชั้น3 ทำขบวนแทน)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 389/390 กรุงเทพ–ฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางทีเอชเอ็น, เอ็นเคเอฟ ทำขบวน)
  • ขบวนรถชานเมืองที่ 391/388 กรุงเทพ–ฉะเชิงเทรา–กรุงเทพ (ปัจจุบันใช้รถดีเซลรางทีเอชเอ็น, เอ็นเคเอฟ ทำขบวน)[1]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]