สถานีรถไฟ
ตัวอย่างและทัศนะในบทความนี้มิได้เสนอมุมมองที่เป็นสากลของเรื่อง คุณสามารถพัฒนาบทความได้ โดยเพิ่มมุมมองสากลให้มากขึ้น หรือแยกประเด็นย่อยไปสร้างเป็นบทความใหม่ |
![]() |
การขนส่งระบบราง |
---|
สถานีรถไฟ คืออาคารหรือกลุ่มอาคารที่ใช้บริการขนส่งระบบราง เป็นจุดจอด แวะพัก เปลี่ยนขบวน สำหรับการเดินรถไฟ มีการรับส่งผู้โดยสาร หรือรับส่งสินค้า หรือทั้งสองอย่าง โดยทั่วไปประกอบด้วยอย่างน้อยหนึ่งทางวิ่ง ทางเดินข้างทางวิ่ง(ชานชาลา) และอาคารสถานี มีบริการเสริมเช่น การขายตั๋ว ห้องรอรับฝากสัมภาระ และบริการขนส่งสินค้า หากสถานีอยู่บนเส้นทางรถไฟระบบรางเดี่ยวสถานีจะมีรางขนานช่วงสั้นๆเพื่อสับรางให้รถไฟที่ผ่านจากทิศทางตรงข้ามวิ่งผ่านได้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรทางราง
สถานีที่เล็กที่สุดมักเรียกว่า "ป้ายหยุดรถไฟ" หรือ ในบางส่วนเรียกว่า "ที่หยุดรถไฟ" สถานีอาจอยู่ในระดับพื้นดิน ใต้ดิน หรือยกระดับ อาจเชื่อมต่อกับทางแยกรถไฟหรือโหมดการขนส่งอื่น ๆ เช่น รถเมล์ รถราง หรือ ระบบขนส่งมวลชนอื่น ๆ
ประเภทของสถานี[แก้]
ประเภทของสถานีรถไฟได้แก่
สถานีทั่วไป[แก้]
เป็นสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดรับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ เช่น สถานีรถไฟคลองมะพลับ สถานีรถไฟแม่ตานน้อย ในเส้นทางสายเหนือ สถานีรถไฟแผ่นดินทอง สถานีบ้านแสลงพัน ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ สถานีรถไฟบ้านดงบัง สถานีรถไฟองครักษ์ ในเส้นทางสายตะวันออก และสถานีรถไฟบูกิ๊ต สถานีรถไฟแสงแดด ในเส้นทางสายใต้
สถานีชุมทาง เป็นสถานีที่ทางรถไฟสายหลัก และสายแยก แยกออกจากกัน ทั้งนี้ สถานีชุมทางก็มีคุณสมบัติเหมือนกันกับสถานีทั่วไปเช่นกัน กล่าวคือ เป็นสถานที่รับส่งผู้โดยสาร และ/หรือสินค้า และเป็นสถานที่ซึ่งมีนายสถานีประจำอยู่และอนุญาตให้รถไฟเดินไปมาตามระเบียบการเดินรถ ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย มีสถานีชุมทางทั้งหมด 18 สถานี คือ
- สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านดารา จังหวัดอุตรดิตถ์
- สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย จังหวัดสระบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ จังหวัดนครราชสีมา
- สถานีรถไฟชุมทางบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
- สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
- สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
- สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
- สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุก จังหวัดราชบุรี
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านทุ่งโพธิ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- สถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีรถไฟชุมทางเขาชุมทอง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- สถานีรถไฟชุมทางหนองบัว
- สถานีรถไฟชุมทางบ้านไผ่นาบุญ จังหวัดสระบุรี
- แบ่งชั้นสถานีเป็น 5 ระดับ ตามปริมาณรายได้จากการโดยสาร จำนวนประชากรในชุมชน และความสำคัญในการเดินรถไฟ เป็นที่ตั้งของแขวงเดินรถ ดังนี้
- ชั้นพิเศษ สถานีรถไฟกรุงเทพ สถานีรถไฟลาดกระบัง สถานีรถไฟแหลมฉบัง ชั้น 1 สถานีรถไฟเพชรบุรี สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีรถไฟอยุธยา
- สถานีรถไฟบ้านภาชี สถานีรถไฟนครสวรรค์ สถานีรถไฟปากน้ำโพ สถานีรถไฟตะพานหิน สถานีรถไฟพิษณุโลก สถานีรถไฟพิชัย สถานีรถไฟอุตรดิตถ์
- สถานีรถไฟศิลาอาสน์ สถานีรถไฟเด่นชัย สถานีรถไฟเชียงใหม่ สถานีรถไฟแม่น้ำ สถานีรถไฟหัวตะเข้ สถานีรถไฟปราจีนบุรี สถานีรถไฟแก่งคอย
- สถานีรถไฟนครราชสีมา สถานีรถไฟถนนจิระ สถานีรถไฟบัวใหญ่ สถานีรถไฟขอนแก่น สถานีรถไฟอุบลราชธานี สถานีรถไฟศาลายา สถานีรถไฟบ้านโป่ง
- สถานีรถไฟราชบุรี สถานีรถไฟหัวหิน สถานีรถไฟประจวบคีรีขันธ์ สถานีรถไฟบางสะพานใหญ่ สถานีรถไฟชุมพร สถานีรถไฟหลังสวน สถานีรถไฟไชยา
- สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี สถานีรถไฟคลองจันดี สถานีรถไฟทุ่งสง สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช สถานีรถไฟพัทลุง สถานีรถไฟหาดใหญ่ สถานีรถไฟยะลา
- สถานีรถไฟสุไหงโกลก สถานีรถไฟปะทิว ชั้น 2 สถานีรถไฟตลาดพลู สถานีรถไฟคลองตัน สถานีรถไฟลาดกระบัง สถานีรถไฟแม่กลอง
- สถานีรถไฟกบินทร์บุรี สถานีรถไฟพัทยา สถานีรถไฟลำชี สถานีรถไฟสวรรคโลก สถานีรถไฟบ้านดารา สถานีรถไฟขุนตาน สถานีรถไฟปลาดุก
- สถานีรถไฟน้ำตก สถานีรถไฟบ้านกรูด สถานีรถไฟมาบอำมฤต สถานีรถไฟชุมทอง สถานีรถไฟชะอวด สถานีรถไฟกันตัง สถานีรถไฟคีรีรัฐนิคม ชั้น 3
- สถานีรถไฟค้อ สถานีรถไฟวังโพ สถานีรถไฟตาเซะ สถานีรถไฟไม้แก่น สถานีรถไฟบ้านใหม่ ชั้น 4 ยกเลิก
สถานีทั่วไปและสถานีชุมทางที่สำคัญในต่างประเทศ[แก้]
สถานีรถไฟ Broad Green, ลิเวอร์พูล, อังกฤษ (รูปแสดงในปี 1962) เปิดในปี 1830 เป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังคงใช้งานเป็นสถานีผู้โดยสารทั่วไป
สถานีเพนซิลเวเนีย ในมิดทาวน์แมนฮัตตัน (นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา) เป็นสถานีรถไฟและศูนย์กลางการถ่ายโอนที่สำคัญเช่นเดียวกับสถานีรถไฟที่คึกคักที่สุดในซีกโลกตะวันตกที่ให้บริการผู้โดยสารรถไฟกว่า 430,000 คนและผู้โดยสารแอมแทร็คต่อวัน ปี 2018 [4]}}
ป้ายหยุดรถไฟ[แก้]
เป็นสถานที่ที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร แต่ไม่มีการขนส่งสินค้าขึ้นลง รวมไปถึงป้ายหยุดรถไฟจะไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายบอกชื่อทำด้วยเหล็ก เป็นตั้งแต่ก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น ป้ายหยุดรถไฟอุรุพงษ์ ป้ายหยุดรถไฟพญาไท ในเส้นทางสายตะวันออก ป้ายหยุดรถไฟนิคมรถไฟ กม.11 ในเส้นทางสายเหนือ ป้ายหยุดรถไฟบ้านหนองกันงาในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ และป้ายหยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ ป้ายหยุดรถไฟสะพานจุฬาลงกรณ์ ป้ายหยุดรถไฟสวนสนประดิพัทธ์ในเส้นทางสายใต้
ที่หยุดรถไฟ[แก้]
เป็นสถานีที่ซึ่งขบวนรถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้าขึ้นลง แต่ไม่มีนายสถานีอยู่ประจำ ป้ายทำด้วยปูน อาจเป็นที่หยุดรถตั้งแต่ก่อสร้างหรือสถานีที่ ถูกลดระดับ เช่น ที่หยุดรถไฟบ้านแต้ ที่หยุดรถไฟบ้านไร่ ในเส้นทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่หยุดรถไฟห้วยโรง ที่หยุดรถไฟปากแพรก ที่หยุดรถไฟเขาหลุง ในเส้นทางสายใต้ ที่หยุดรถไฟผาคอ ที่หยุดรถไฟแม่พวก ที่หยุดรถไฟนวนคร ในทางรถไฟสายเหนือ และ ที่หยุดรถไฟไทย ชายแดนไทย-กัมพูชา ในทางรถไฟสายตะวันออก เป็นต้น
สถานีรถไฟเฉพาะกิจ[แก้]
สถานีรถไฟเฉพาะกิจ คือสถานีที่ตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ เช่น เป็นสถานีขนส่งสินค้าอย่างเดียวไม่รับผู้โดยสาร (บางแห่งรับผู้โดยสารร่วมด้วย) นอกจากนี้ อาจจะเป็นสถานีสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สถานีรถไฟหลวงสวนจิตรลดา
รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศไทย[แก้]
รายชื่อสถานีรถไฟ ที่ทำการเดินรถระหว่างสถานีโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย[แก้]
รายชื่อสถานีรถไฟในประเทศไทย (ดำเนินการโดย รฟท.) | |
ย่านชานเมือง (กรุงเทพ - ชุมทางแก่งคอย/ลพบุรี) | |
สายเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - เชียงใหม่) | |
สายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - อุบลราชธานี/หนองคาย) | |
สายใต้ (ชุมทางบางซื่อ/ธนบุรี - สุไหงโกลก) | |
สายตะวันออก (สามเหลี่ยมจิตรลดา - อรัญประเทศ/สัตหีบ) | |
สายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่ - มหาชัย และบ้านแหลม - แม่กลอง) | |
ดู · แก้ไข · พูดคุย |
- รายชื่อสถานีรถไฟ ย่านชานเมือง (กรุงเทพ - ชุมทางบ้านภาชี)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - สวรรคโลก เชียงใหม่)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางบ้านภาชี - อุบลราชธานี หนองคาย ท่านาแล้ง)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ (ชุมทางบางซื่อ - คีรีรัฐนิคม นครศรีธรรมราช กันตัง ปาดังเบซาร์ สุไหงโก-ลก)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออก (กรุงเทพ - ชุมทางคลองสิบเก้า ชุมทางแก่งคอย อรัญประเทศ แหลมฉบัง มาบตาพุด บ้านพลูตาหลวง ท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันตก (ธนบุรี ชุมทางหนองปลาดุก สุพรรณบุรี น้ำตกไทรโยค)
- รายชื่อสถานีรถไฟ สายแม่กลอง (วงเวียนใหญ่ - มหาชัย - บ้านแหลม-แม่กลอง)
รายชื่อสถานีรถไฟฟ้าในประเทศไทย[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: สถานีรถไฟ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "The 51 busiest train stations in the world– All but 6 located in Japan". Japan Today. 6 February 2013. สืบค้นเมื่อ 2018-11-26.
- ↑ "SNCF Open Data — Fréquentation en gares en 2016". Paris, France: SNCF. สืบค้นเมื่อ 2018-03-19 – โดยทาง ressources.data.sncf.com – SNCF OPEN DATA.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อWA
- ↑ Devin Leonard (January 10, 2018). "The Most Awful Transit Center in America Could Get Unimaginably Worse". Bloomberg L.P. สืบค้นเมื่อ November 14, 2018.
|
|