เอ็นเคเอฟ
เอ็นเคเอฟ | |
---|---|
![]() ขบวนรถด่วนที่ 72 ที่สถานีรถไฟดอนเมือง | |
ผู้ผลิต | |
ผลิตที่ | ประเทศญี่ปุ่น |
สายการผลิต | พ.ศ. 2528 |
ตกแต่งใหม่ | พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน |
จำนวนผลิต | 64 คัน |
หมายเลขตัวรถ | 1201–1264 |
ความจุ | 74 ที่นั่ง |
ผู้ดำเนินงาน | การรถไฟแห่งประเทศไทย |
โรงซ่อมบำรุง | โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ (สายหลัก) โรงรถดีเซลรางสมุทรสาคร (สายมหาชัย–วงเวียนใหญ่) |
สายที่ให้บริการ | |
คุณลักษณะ | |
วัสดุตัวถัง | สแตนเลส |
ความยาวตู้ | 20.800 เมตร |
ความกว้าง | 2.815 เมตร |
ความสูง | 3.730 เมตร |
ทางเข้า | 4 |
จำนวนประตู | 4 |
ความเร็วสูงสุด | 110 กม./ชม. |
น้ำหนัก | 33.500 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า) 35.322 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน) |
Engine(s) | Cummins N855-R2 |
กำลังขับเคลื่อน | 235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที |
ชุดส่งกำลัง | Voith รุ่น T211R |
ระบบจ่ายไฟฟ้า | ไม่มี |
ช่วงกว้างราง | 1,000 mm (3 ft 3 3⁄8 in) มีเตอร์เกจ |
เอ็นเคเอฟ (NKF) เป็นรถดีเซลรางพัดลมชนิดมีห้องขับของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยถูกขนส่งมาจากประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะคล้ายกับรถดีเซลรางทีเอชเอ็น แต่ที่นั่งภายในเป็นเก้าอี้พลาสติกแข็ง
ใน พ.ศ. 2562 ได้มีการปรับปรุงประตูทางขึ้นรถดีเซลรางเอ็นเคเอฟ เพื่อรองรับสถานีรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้างในหลายเส้นทาง[1]
ข้อมูลจำเพาะ[แก้]
- ชื่อรุ่นรถ นิปปอนชาเรียว–คินกิ–ฟูจิ
- ประเภทรถ รถดีเซลรางชนิดมีห้องขับ
- หมายเลขรถ กซข. 1201–1264
- เครื่องยนต์ Cummins N855-R2
- กำลังขับเคลื่อน 235 แรงม้า ที่ 2,100 รอบต่อนาที
- ระบบขับเคลื่อนแบบดั้งเดิม ใช้เครื่องถ่ายทอดกำลัง (Torque Converter) Voith รุ่น T211R
- ความเร็วสูงสุด 110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
- แบบล้อ 2 - 4 Wheel Bogie
- ระบบห้ามล้อ ลมอัด
- การจัดวางล้อ 1A-2
- ความจุเชื้อเพลิง 350 ลิตร
- ความกว้าง 2.815 เมตร
- ความสูง 3.730 เมตร
- ความยาว 20.800 เมตร
- น้ำหนักรถดีเซลราง 33.500 ตัน (น้ำหนักรถเปล่า), 35.322 ตัน (น้ำหนักขณะทำขบวน)
- น้ำหนักกดเพลา 12 ตัน
- จำนวนที่นั่ง 74 ที่นั่ง
- เบาะนั่ง เบาะแบบพลาสติกแข็ง นั่งหันหน้าเข้าหากัน
- ประตูรถ
- ประตูขึ้น–ลงเป็นแบบเลื่อนอัตโนมัติ มีสองบาน แยกซ้าย - ขวา มีปุ่มเปิด-ปิดประตู
- ประตูของห้องขับเป็นแบบใช้มือเปิดเอง
- ปุ่มเปิด-ปิดประตูขึ้น-ลง ใช้งานได้เฉพาะตอนที่รถจอดสนิทแล้วเท่านั้น
- บริษัทผู้ผลิต นิปปอนชาร์เรียว, ไซโซ ไกซา, ฮิตาชิ, คาวาซากิ, ฟูจิเฮฟวี่อินดัสทรี, นิอิกาตะเอ็นจิเนียริ่ง และกินกิชาร์เรียว ประเทศญี่ปุ่น
- จำนวนรถ 64 คัน
- ราคาต่อคัน 14,267,188.18 บาท
- วันที่เริ่มใช้งาน ช่วงวันที่ 30 มกราคม – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2528 ใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
รถดีเซลรางที่ตัดบัญชี[แก้]
- 1209 และ 1261 (ประสบอุบัติเหตุ ขณะทำขบวนรถธรรมดาที่ 170 ชนประสานงากับขบวนรถที่ 48 ที่สถานีห้วยทรายเหนือ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2532)
ขบวนรถที่ให้บริการ[แก้]
- ขบวนรถด่วนที่ 71/72 กรุงเทพ–อุบลราชธานี–กรุงเทพ
- ขบวนรถด่วนที่ 75/78 กรุงเทพ–หนองคาย–กรุงเทพ[a] (ปัจจุบันขบวนรถด่วนที่ 78 งดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถด่วนที่ 77/76 กรุงเทพ–หนองคาย–กรุงเทพ[b](ปัจจุบันขบวนรถด่วนที่ 77 งดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถเร็วที่ 105/106 กรุงเทพ–ศิลาอาสน์–กรุงเทพ (ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถธรรมดาที่ 209/210 กรุงเทพ–บ้านตาคลี–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 261/262 กรุงเทพ–หัวหิน–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 279/280 กรุงเทพ–ด่านพรมแดนบ้านคลองลึก–กรุงเทพ
- ขบวนรถธรรมดาที่ 281/282 กรุงเทพ–กบินทร์บุรี–กรุงเทพ
- ขบวนรถชานเมืองที่ 303/304 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ[c](ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถชานเมืองที่ 311/376/378 กรุงเทพ–รังสิต–หัวตะเข้–กรุงเทพ[d](ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถชานเมืองที่ 317/318 กรุงเทพ–ลพบุรี–กรุงเทพ[e]
- ขบวนรถชานเมืองที่ 355/356 กรุงเทพ–ชุมทางหนองปลาดุก–กรุงเทพ (วันอาทิตย์ปลายทางสุพรรณบุรี, วันจันทร์ต้นทางสุพรรณบุรี)
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 401/402 ลพบุรี–พิษณุโลก–ลพบุรี
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 403/410 พิษณุโลก–ศิลาอาสน์–พิษณุโลก
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 407/408 นครสวรรค์–เชียงใหม่–นครสวรรค์
- ขบวนรถท้องถิ่นที่ 409 อยุธยา–ลพบุรี[f](ปัจจุบันงดให้บริการชั่วคราว)
- ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 909/910 กรุงเทพ–น้ำตกไทรโยคน้อย–กรุงเทพ[g]
- ขบวนรถพิเศษนำเที่ยวที่ 911/912 กรุงเทพ–สวนสนประดิพัทธ์–กรุงเทพ[h]
- ขบวนรถชานเมืองในสายวงเวียนใหญ่ - มหาชัย ทุกขบวน (หมายเลข 1201 , 1202 , 1203 , 1204 , 1205 , 1206 , 1207 , 1208 , 1211 , 1212 , 1213 , 1215 , 1234 , 1255 และ 1260)
- ขบวนรถชานเมืองในสายแม่กลองทุกขบวน (หมายเลข 1216 , 1221 , 1227 และ 1241)
สมุดภาพ[แก้]
ขบวนรถนำเที่ยวที่ 909 ที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย
ขบวนรถนำเที่ยวที่ 912 ที่สถานีรถไฟหัวหิน
ขบวนรถท้องถิ่นที่ 408 ที่สถานีรถไฟพิชัย
ขบวนรถชานเมืองที่ 356 ที่อดีตสถานีรถไฟกำแพงแสน
เชิงอรรถ[แก้]
- ↑ ขบวนที่ 75 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย–ลำนารายณ์–ชุมทางบัวใหญ่, ขบวนที่ 78 ใช้เส้นทางชุมทางบัวใหญ่–นครราชสีมา–ชุมทางแก่งคอย
- ↑ ขบวนที่ 77 ใช้เส้นทางชุมทางแก่งคอย–นครราชสีมา–ชุมทางบัวใหญ่, ขบวนที่ 76 ใช้เส้นทางชุมทางบัวใหญ่–ลำนารายณ์–ชุมทางแก่งคอย
- ↑ ขบวนที่ 303 เดินเฉพาะวันทำงาน ขบวนที่ 304 เดินทุกวัน
- ↑ ขบวนที่ 311/376/378 เดินเฉพาะวันทำงาน
- ↑ ขบวนที่ 317/318 เดินเฉพาะวันทำงาน
- ↑ ขบวนที่ 409 เดินเฉพาะวันหยุด
- ↑ ขบวนที่ 909/910 เดินเฉพาะวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
- ↑ ขบวนที่ 911/912 เดินเฉพาะวันหยุดเสาร์–อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "รถไฟปรับปรุงชานบันไดแบบใหม่รถโดยสารสูง 1.10 เมตร เร่งสายอีสานให้เสร็จเม.ย.นี้". สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2562. Check date values in:
|accessdate=
(help)