สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ | |
---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นพิเศษ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | |
เสนาธิการทหารบก | |
ประสูติ | 3 มีนาคม พ.ศ. 2426 พระบรมมหาราชวัง จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
ทิวงคต | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 (37 ปี) สิงคโปร์ สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ |
พระราชทานเพลิง | 23 กันยายน พ.ศ. 2463 พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง |
หม่อม | คัทริน เดสนิตสกี (สมรส 2449; หย่า 2462) |
ชายา | หม่อมเจ้าชวลิตโอภาศ รพีพัฒน์ (เริ่ม 2462) |
พระโอรส | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ |
ราชสกุล | จักรพงษ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง |
ศาสนา | พุทธ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | สยาม รัสเซีย |
แผนก/ | กองทัพบกไทย กองทัพบกจักรวรรดิรัสเซีย |
ชั้นยศ | จอมพล พันเอก (พิเศษ) |
จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[1] (3 มีนาคม พ.ศ. 2426 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 5 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นสมเด็จพระอนุชาธิราชในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จพระเชษฐาธิราชในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเข้าทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 พระองค์เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ สิริพระชนมายุ 37 พรรษา[2]
พระประวัติ
[แก้]ประสูติ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2425 (ปฏิทินสากลคือ พ.ศ. 2426) เป็นองค์ต้นราชสกุล "จักรพงษ์"[3] พระราชโอรสพระองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ที่ 4 ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และทรงเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามลำลองว่า "ทูลกระหม่อมเล็ก" พระองค์ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย หลังจากสำเร็จการศึกษา ทรงรับราชการทหารเป็นเสนาธิการทหารบก โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ทรงเป็นผู้วางรากฐานการบินในเมืองไทย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งขึ้น มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากนายพลเอกเป็นจอมพล และทรงเป็นผู้ที่จัดส่งทหารอาสาเข้าทำการรบในสงครามครั้งนั้น ต่อมาสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคตด้วยพระโรคพระปับผาสะ ขณะเสด็จไปประทับพักผ่อนพระวรกายที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 สิริพระชนมายุ 37 พรรษา
พระองค์มีพระโสทรภราดา 8 พระองค์[4] คือ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัตมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์
- พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง
- จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
- พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราไชย
- พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษา
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถและยังทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาวิชาหนังสือไทยกับพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และขุนบำนาญวรวัฒน์ (สิงโต) ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวังแล้ว จึงทรงศึกษาต่อที่นี้ทั้งวิชาภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีครูสอนภาษาอังกฤษคือ นายวุลสเลย์ ลูวีส และนายเยคอล พิลด์เยมส์[5] เมื่อพระองค์มีพระชนม์ได้ 9 พรรษา ได้ทรงสถาปนาพระอิสริยยศเป็น กรมขุนพิษณุโลกประชานารถ[6] เมื่อมีพระชนมายุได้ 14 พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษาในประเทศอังกฤษเพื่อเล่าเรียนภาษาอังกฤษ ทั้งขนบธรรมเนียม ประเพณีของคนอังกฤษและชาวยุโรปชั้นสูง[7] ในปี พ.ศ. 2439
ในปี พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก ก็ได้เสด็จไปเยี่ยมจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย ซึ่งเป็นพระสหายของพระองค์ จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียครั้งยังทรงเป็นมกุฎราชกุมารได้เคยเสด็จเมืองไทยเมื่อวันที่ 20-24 มีนาคม พ.ศ. 2433 และทางราชสำนักไทยได้ถวายการต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ จนจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียทรงพอพระทัยอย่างสูงสุด[8] ต่อมาได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียแล้ว จักรพรรดินิโคลัส จึงได้ทรงชักชวนให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่งพระราชโอรสไปศึกษาที่ประเทศรัสเซีย ซึ่งพระองค์ยินดีที่จะอุปการะเสมือนพระญาติวงศ์แห่งพระราชวงศ์โรมานอฟด้วยผู้หนึ่ง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งขณะนั้นทรงศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษอยู่แล้ว ให้เข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กตามพระราชประสงค์ของจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียต่อไป[9]
สมเด็จเจ้าฟ้าชายจักรพงษ์ภูวนารถ หรือ "ทูลกระหม่อมเล็ก" ทรงเข้าศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก Corps de Pages ประเทศรัสเซีย เมื่อพระชนมพรรษา 16 ปี[10] ในการไปศึกษาของพระองค์ในประเทศรัสเซียคราวนั้น มีผู้ตามเสด็จไปร่วมเรียนด้วยคือนายพุ่ม สาคร นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวงที่สอบชิงทุนได้เป็นครั้งแรก นายพุ่ม สาคร โดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้นายพุ่มฯ เข้ารับการศึกษาร่วมกับพระราชโอรสด้วย ทั้งนี้ก็ด้วยพระบรมราโชบายเพื่อต้องการให้พระราชโอรสได้มีคู่แข่ง ก่อให้เกิดขัตติยะมานะพยายามเล่าเรียนอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น โดยจักรพรรดินิโคลัส ได้รับสั่งให้พลตรี เคาน์ต เค็ลแลร์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็ก และนายร้อยเอกวัลเดมาร์ฆรูลอฟฟ์ นายทหารม้ารักษาพระองค์ เป็นผู้ดูแลแทนพระองค์อย่างกวดขัน[11]
ครั้นในปี พ.ศ. 2442 พระองค์ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยเป็นครั้งแรก ต่อมาพระองค์เสด็จกลับไปศึกษาต่อยังประเทศรัสเซียในปี พ.ศ. 2443 จนถึงปี พ.ศ. 2445 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของพระองค์ แล้วด้วยพระวิริยะอุตสาหะ ผลการสอบของพระองค์ในโรงเรียนนายร้อยฯ ปรากฏว่าพระองค์ทรงสอบไล่ได้ที่ 1 นายพุ่มสอบได้เป็นที่ 2 ยิ่งกว่านั้นผลการสอบของพระองค์ในโรงเรียนนายร้อยมหาดเล็กในราชสำนักกรุงรุสเซีย ทรงทำคะแนนได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของโรงเรียน ดังนั้นพระนามของพระองค์จึงได้ถูกจารึกไว้บนแผ่นศิลาอ่อนของโรงเรียน[9] ในเวลาต่อมา ทั้งพระองค์ฯ และนายพุ่มได้รับการบรรจุเป็นนายทหารม้าประจำกรมทหารม้าฮุสซาร์ของจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซียในปีนั้นเอง
เมื่อทรงสำเร็จการศึกษา ได้เสด็จกลับมาเยี่ยมประเทศไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2446 พร้อมกันนั้นพระองค์ได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นนายร้อยเอกในวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2446 [12] และในปีเดียวกันนั้นเองก็ได้เสด็จกลับเพื่อการศึกษาชั้นสูงต่อไป เข้าประจำโรงเรียนนายทหารฝ่ายเสนาธิการเป็นเวลา 2 ปี พร้อมกับนายพุ่ม พระสหายจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2448 ปรากฏว่าพระองค์ฯ ทรงสอบได้เป็นที่ 1 อีกครั้ง และจักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงพอพระทัยยิ่ง ได้ทรงแต่งตั้งให้เป็น นายพันเอกพิเศษในกองทัพบกรัสเซียและเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารม้าฮุสซาร์ของสมเด็จพระจักรพรรดิ อีกทั้งยังพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์อันเดรย์ ชั้นสายสะพาย ซึ่งเป็นตราสูงสุดของประเทศรัสเซียสมัยนั้น รวมทั้งตราเซนต์วลาดิเมียร์อีกด้วย[13]
การรับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้]เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ[14] โดยได้รับพระราชทานพระยศนายพันเอกเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2449[15]และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี[16] พระองค์ได้ทรงเริ่มจัดการงานต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเยี่ยงอารยประเทศ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถจากนายพันเอกเป็นนายพลตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2451[17]และต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2452 พระองค์ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้รั้งหน้าที่ เสนาธิการทหารบก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เป็นเสนาธิการทหารบก อันเป็นตำแหน่งสำคัญในการรบทั้งในยามปกติและในยามสงคราม กับรั้งตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกอีกตำแหน่งหนึ่ง [18] และทรงจัดการวาง แนวทางหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการและการคัดเลือกนายทหารที่มีคุณสมบัติอันเหมาะสมเข้ารับการศึกษา[5][19]
วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยทหารบก [20] พระภารกิจของพระองค์มีมากมายที่ต้องทรงปฏิบัติราชการทั้งกลางวันและกลางคืน ยิ่งไปกว่านั้นพระองค์ยังต้องทรงแบ่งเวลาสำหรับแต่งและแปลตำราวิชาการทหารสำหรับทำการสอบนักเรียนนายร้อย ด้วยพระวิริยะอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง กับทั้งได้ทรงจัดระเบียบแบบแผนโรงเรียนนายร้อยขึ้นใหม่ โดยให้มีนักเรียนนายร้อยชั้นปฐม และนักเรียนนายร้อยชั้นมัธยมขึ้น
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถได้เสด็จสวรรคตในวันที่ 23 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารพระเชษฐาของพระองค์ เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แล้ว ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เป็นนายพลโท เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ศกเดียวกัน[21]
การรับราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
[แก้]พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทรงถือน้ำพระพิพัฒนสัตยาตั้งเป็นองคมนตรีในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2453[22]
ในปี พ.ศ. 2454 ขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมนั้นเอง ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญคือข่าวการเตรียมการก่อการกบฏของ "คณะ ร.ศ. 130" โดยฝ่ายกบฏได้กำหนดจะใช้กำลังทหารในพระนครบางส่วนเข้าทำการยึดอำนาจในวันที่ 1 เมษายน อันเป็นวันขึ้นศกใหม่ ร.ศ. 131 (พ.ศ. 2455)[23] ซึ่งกลุ่มทหารผู้ก่อการในครั้งนั้นล้วนเป็นลูกศิษย์ของพระองค์แทบทั้งสิ้น[24] ดังนั้นพระองค์จึงได้วางแผนและทำการจับกุมในตอนเช้าตรู่ของวันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 (ปฏิทินสากลคือ พ.ศ. 2455) และทรงรับหน้าที่เป็นประธานอำนวยการพิจารณาโทษพวกนี้อย่างเคร่งครัด เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้พระองค์ขอลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม แต่รัชกาลที่ 6 ทรงยับยั้งไว้ ทรงให้เหตุผลว่าทรงเชื่อถือในพระราชอนุชา[25]
ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นการจับกุมกบฏในปีนั้นแล้ว สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้เสด็จไปยังกรุงลอนดอนเพื่อเป็นผู้แทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร โดยได้เสด็จพระราชดำเนินออกจากพระนครโดยเรือโดยสารสัญชาติฝรั่งเศสชื่อ โดใน ที่หน้า สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2454 โดยมี หม่อมเจ้าอมรทัต กฤดากร เป็นผู้ตามเสด็จ[26]นอกจากนั้นในระหว่างประทับอยู่ในยุโรป พระองค์ยังได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในการเชิญเจ้านายพระราชวงศ์ของเจ้าต่างประเทศในยุโรป เพื่อเสด็จมาในงานสมโภชพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2454[27] โดยพระองค์และหม่อมเจ้าอมรทัตได้เสด็จกลับถึงพระนครด้วย เรือมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 เวลา 10.30 น. ในการนี้โปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ และเจิมพระมหาสังข์แก่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิศณุโลกประชานาถ ด้วย[28]ครั้นวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ก็ได้ทรงรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้เลื่อนพระอิสริยยศจากกรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เป็นกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[29]
เมื่องานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสร็จสิ้นไปได้ด้วยดี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ เสด็จออกไปช่วยงานนี้ต่างพระองค์เป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งได้เสด็จเยี่ยมราชสำนักต่างประเทศอีกหลายแห่งและได้ทรงมอบให้ตรวจงานต่าง ๆ อีกหลายแห่ง อันจะเป็นประโยชน์แก่ราชการของประเทศไทย จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เลื่อนสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวง มีพระนามตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ นริศราชมหามกุฎวงศ์ จุฬาลงกรณ์นริจทร์ สยามพิชิตินวรางกูล สมบูรณพิสุทธิชาติ วิมโลภาสอุภัยปักษ์ อรรควรรัตนขัตตยราชกุมาร กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สิงหนาม ได้ทรงศักดินา 50,000 ตามพระราชกำหนดอย่างสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าต่างกรมในบรมราชตระกูลอันสูงศักดิ์ จงเจริญพระชนมายุ วรรณะ พละ ปฏิญาณ คุณสารสมบัติสรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล วิบูลศุภผล สากลเกียรติยศอิสริยศักดิ์มโหฬารทุกประการ” และต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากพลโทเป็นพลเอก ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน[11]
พ.ศ. 2454 ขณะทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ทรงเห็นความจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องจัดหาอากาศยานไว้ป้องกันประเทศ จึงทรงดำริจัดตั้งกิจการการบินขึ้นเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพบก ทรงจัดให้มีการคัดเลือกนายทหาร 3 นายไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส[30] จากนั้นกระทรวงกลาโหมได้สั่งซื้อเครื่องบินจากประเทศฝรั่งเศสมาด้วย จำนวน 8 เครื่อง จัดตั้งเป็นแผนกการบินที่สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าสระปทุม)[31] อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ต่อมา จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงย้ายที่ตั้งแผนกการบินมาที่อำเภอดอนเมืองตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2457 และทรงยกฐานะแผนกการบิน เป็นกองบินทหารบก ในวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457[32]
สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
[แก้]ในปี พ.ศ. 2457 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งอุบัติขึ้นในทวีปยุโรป พระองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นการณ์ไกล เพราะทรงศึกษาสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของประเทศคู่สงครามอย่างใกล้ชิด และในที่สุดพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับจักรวรรดิเยอรมนี หน้าที่ของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ส่วนราชการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ซึ่งต้องกระทำการสงครามร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น การจัดกำลังทหารอาสาที่จะไปราชการสงครามยังทวีปยุโรป พระองค์ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วงไปเป็นตามที่พระองค์ทรงวางแผนการไว้เป็นอย่างดียิ่ง ได้ทำการจับกุมชาวเยอรมันและชนชาติที่เข้ากับเยอรมันและยึดทรัพย์สินเชลยศึกในพระนครก็เป็นไปโดยเรียบร้อย[33] การส่งกำลังทหารไปทำราชการสงครามในคราวนั้นได้จัดเป็น 2 กอง คือกองบินทหารบก กองรถยนต์ทหารบกและหน่วยแพทย์อีก 1 หน่วย มีกำลังพลทั้งสิ้น 2,287 นายและในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยศจากพลเอกสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถเป็นจอมพล[34]แต่แทนที่พระองค์จะทรงดีพระทัยเช่นบุคคลทั้งหลายกลับปรากฏว่าไม่สู้จะเต็มพระทัยเลย เพราะพระองค์ทรงเห็นไปอีกทัศนะหนึ่งว่า ยศอันสูงสุดนั้นได้รับโดยมิได้ออกไปทำการรบ ณ สมรภูมิใดเลย จะเป็นการง่ายเกินไปสำหรับการพระราชทานอิสริยยศจอมพล[11]
หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง พระองค์ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการบิน ทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรือน ในปี พ.ศ. 2462 โปรดให้ทดลองใช้เครื่องบินนำถุงไปรษณีย์จากดอนเมืองไปจังหวัดจันทบุรี และในเวลาต่อมาได้ใช้กิจการบินทำการส่งเวชภัณฑ์และลำเลียง ผู้เจ็บป่วยทางอากาศ นับว่าพระองค์ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างกำลังทางอากาศของประเทศไทยอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้มาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน[35]
ชีวิตในส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถนั้น หลังจากที่หม่อมคัทรินพระชายาได้เสด็จไปพักผ่อนเพื่อรักษาสุขภาพที่ประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา หลังจากกลับมาพระองค์ก็ได้ทรงหย่าขาดจากกัน และในเวลาต่อมาพระองค์ก็ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจะทำการสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาสต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรับพระบรมราชานุญาต จึงทรงร่วมชีวิตกันเองโดยมิได้มีพิธีสมรส ด้วยเหตุเพราะขัดกับข้อบังคับสำหรับทหารบกที่พระองค์ทรงเป็นผู้ร่างเองว่า ต้องมีการพิธีเสกสมรส จึงจะอยู่กับคู่สมรสได้ ดังนั้นพระองค์จึงได้ทรงลาออกจากราชการทหาร แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงได้รับใบลาแล้ว ก็มิได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออก และยังทรงขอแก้ไขข้อบังคับทหารข้อนั้นเป็นการผ่อนปรน แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ ก็ทรงยืนยันกราบถวายบังคมทูลลาออกเช่นเดิม และในปีนั้นเองสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชนนีพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) ได้เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462[11]
ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในต้นปี พ.ศ. 2463[4] แล้วพระองค์จึงขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอลาพักผ่อน ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระองค์ทรงแต่งตั้งให้พลตรีพระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) เจ้ากรมแผนที่ทหารบกเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบกแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463[11]
เสด็จทิวงคต
[แก้]จอมพล สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระองค์ตกลงพระทัยว่าจะเสด็จประภาสทะเลทางฝั่งแหลมมลายู ในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงพาหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาศ พระชายา, พระโอรสคือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ และนายพันเอกพระยาสุรเสนา ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ตามเสด็จไปด้วย แต่ขณะที่เสด็จไปทางเรือไปตามแนวฝั่งทะเลตะวันตก เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463[5] ได้เพียงวันเดียว ก็มีพระอาการประชวรไข้ไปตลอดทาง กลายเป็นพระปับผาสะเป็นพิษ (เป็นโรคปอดบวม) ขณะที่เรือถึงเมืองสิงคโปร์เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2463 พระอาการกำเริบหนักขึ้น ครั้นความทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พันโทสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ กรมขุนสุโขทัยธรรมราชาและพันเอกพระศักดาพลรักษ์รีบออกไปสิงคโปร์โดยรถไฟพิเศษ เพื่อจัดการรักษาพยาบาลร่วมมือกันกับนายแพทย์ในเมืองสิงคโปร์ ซึ่งได้ถวายพระโอสถประคับประคองเต็มความสามารถอยู่แล้ว พระอาการมีแต่ทรงกับทรุดตลอดมา และเสด็จทิวงคตเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 เวลา 13 นาฬิกา 50 นาที[36] พระอาการกำเริบหนักเหลือกำลังที่พระองค์จะทนทานได้เสด็จทิวงคตในเวลานั้น[11]
การเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้นำความโศกเศร้าอาลัยต่อองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและข้าราชการฝ่ายทหารอย่างสุดซึ้ง ดังปรากฏข้อความในคำนำหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์แจกในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ มีความตอนหนึ่งว่า
....นอกจากเธอเป็นน้องที่ข้าพเจ้ารักมากที่สุด เธอยังได้เป็นที่ปรึกษาและผู้ช่วยราชการอย่างดีที่สุดหาผู้ใดเสมอเหมือนมิได้ โดยเหตุที่ข้าพเจ้าเป็นผู้มีอายุมากกว่าเธอ ข้าพเจ้าจึงได้เคยหวังอยู่ว่าจะได้อาศัยกำลังของเธอต่อไปจนตลอดชีวิตของข้าพเจ้า ฉะนั้นเมื่อเธอได้มาสิ้นชีวิตลงโดยด่วนในเมื่อมีอายุยังน้อย ข้าพเจ้าจะมีความเศร้าโศกอาลัยปานใด ขอท่านผู้ที่ได้เคยเสียพี่น้องและศุภมิตรผู้สนิทชิดใจจงตรองเองเถิด ข้าพเจ้ากล่าวโดยย่อ ๆ แต่เพียงว่าข้าพเจ้ารู้สึกตรงกับความที่สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงไว้ใน เตลงพ่ายว่า “ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน หั่นให้ไกลองค์” [11]
เมื่อจอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จทิวงคต สิริพระชนมายุได้ 37 พรรษา 3 เดือน 10 วัน พระองค์ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระอนุชาธิราช พระราชทานเศวตฉัตร 5 ชั้น ประดับเหนือพระโกศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2463 พระอังคารของพระองค์ได้บรรจุไว้ที่เสาวภาประดิษฐาน ณ สุสานหลวง วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหารตราบเท่าทุกวันนี้[11]
ในประกาศพระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น 5 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2472 ออกพระนามว่า สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[1]
พระกรณียกิจ
[แก้]จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ มีพระปรีชาสามารถ ทั้งทางด้านการศึกษา และทางด้านรับราชการในบ้านเมืองและพระองค์ได้ทรงกระทำคุณประโยชน์ในการสร้างความเจริญของกองทัพไทย และส่วนราชการอื่น ๆ หลายแห่ง
เมื่อทรงรับตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ได้ทรงช่วย จอมพล พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการในขณะนั้น ดำริวางการงานต่าง ๆ ไว้ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้นแป็นอันมาก ต่อมาเมื่องทรงรบตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกและเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ได้ทรงวางระเบียบการศึกษา ขยายรูปโครงออกให้กว้างขวางทันสมัย[5]
ในขณะที่ทรงรับตำแหน่งเสนาธิการทหารบก ได้ทรงปรับปรุงงานเสนาธิการให้กว้างขวางเพิ่มขึ้น โดยทรงริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการ[37] เพื่อให้การศึกษาแก่นายทหารที่จะทำหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการบรรจุตามงานในหน้าที่เสนาธิการ ทรงวางแนวทางหลักสูตรการศึกษาโรงเรียนเสนาธิการ และการคัดเลือกนายทหารที่มีคุณสมบัติอันเหมาะสมเข้ารับการศึกษา นอกจากนี้ยังทรงเรียบเรียงตำรา เรื่อง “พงษาวดารยุทธศิลปะ” และเอกสารอื่น ๆ ที่ใช้เป็นตำราศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการยุคต้นอีกจำนวนมาก ซึ่งยังคงใช้แนวทางในการพัฒนาของโรงเรียนเสนาธิการสืบจนถึงปัจจุบัน[38]
จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมกิจการบิน ทั้งในกิจการทหารและกิจการพลเรือน ทรงวางรากฐานแนวทางเสริมสร้างกำลังทางอากาศของประเทศไทยอย่างจริงจัง จนกระทั่งได้มาเป็นกองทัพอากาศในปัจจุบัน กองทัพอากาศไทยได้ยกย่องถวายพระเกียรติพระองค์ไว้ว่าเป็น "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย"[39][40]
เมื่อ พ.ศ. 2460 ทรงจัดส่งทหารอาสาไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ในปีต่อมาได้ทรงก่อตั้งกองบินทหารบก ซึ่งต่อมา ได้ขยับขยายเป็นกองทัพอากาศ และทรงริเริ่มก่อสร้างค่ายจักรพงษ์ที่จังหวัดปราจีนบุรี[5]
ทางด้านส่วนราชการอื่น พระองค์ยังได้เป็นผู้กำกับการก่อสร้างสถานที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งสภากาชาดไทย[41] ทรงมีส่วนริเริ่มในการก่อตั้งสภากาชาดไทย และทรงดำรงตำแหน่ง อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย พระองค์แรก[42] ทรงดำริวางระเบียบการ และสร้างความเจริญให้แก่สภากาชาดโดยรอบด้าน อันเป็นประโยชน์ในการเกื้อกูลประชาชนซึ่งเจ็บไข้ได้อย่างดีต่อไป
พระชายา พระโอรส และ พระโอรสบุญธรรม
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเสกสมรสกับพระชายาชาวรัสเซียชื่อ เอกาเทรินา (คัทริน) อิวานอฟนา เดนิตสกายา[43] เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2449 ได้ทรงสมรสที่เมืองคอนสแตนติโนเปิล โดยที่ไม่ได้ทรงกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบแต่ประการใด กับได้ทรงพาหม่อมคัทริน ณ พิศณุโลก กลับเมืองไทยในปีเดียวกันนั้นเอง ในชั้นแรกทรงให้หม่อมคัทริน พักอยู่ที่เมืองสิงคโปร์เป็นการชั่วคราวก่อน ส่วนพระองค์ฯ ได้เสด็จกลับกรุงเทพฯ แต่พระองค์เดียว โดยเสด็จประทับอยู่ที่วังปารุสกวัน ครั้นต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2449 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศเป็นนายพันเอก และดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ ในไม่นานก็มีข่าวลือมายังกรุงเทพฯ ว่ามีมาดามเดอพิษณุโลกอยู่ที่สิงคโปร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนารถทราบ ทรงกริ้วเป็นที่สุด โดยที่พระโอรสพระองค์นี้ทรงเป็นที่สนิทเสน่หาของสมเด็จพระราชบิดา และพระราชมารดาเป็นอย่างยิ่ง กลับทรงไปมีพระชายาเป็นชาวต่างชาติ ย่อมเป็นที่แสลงพระราชหฤทัย[44] อันเนื่องด้วยพระราชประเพณีเป็นอย่างยิ่ง และเมื่อข่าวเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้ว พระองค์ฯ ก็จัดให้หม่อมคัทริน เดินทางมายังกรุงเทพฯ[45]
ครั้นในปลายปี พ.ศ. 2450 นั้นเอง หม่อมคัทรินพระชายาของพระองค์ได้ประสูติโอรสเป็นชายพระองค์แรกและพระองค์เดียวคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ประสูติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2450 ซึ่งนับเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ[46] เมื่อขณะประสูติพระองค์ดำรงพระอิสริยยศเป็นหม่อมเจ้า ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 พระโอรสของสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระองค์นี้ได้นำความปลาบปลื้มปีติยินดีให้กับสมเด็จพระบรมราชินีนาถยิ่งนัก ในปี พ.ศ. 2462 พระองค์ก็ได้ทรงหย่าขาดจากหม่อมคัทริน ขณะที่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสมีพระชันษาได้ 12 ปี ได้อยู่กับพระบิดา[11]
ต่อมาพระองค์ก็ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตจะทำการสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงชวลิตโอภาศ รพีพัฒน์ พระธิดาในพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ต่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่จะด้วยเหตุผลใดไม่ทราบชัด พระองค์ก็ไม่ได้ทรงรับพระบรมราชานุญาต จึงทรงร่วมชีวิตกันเองโดยมิได้มีพิธีสมรส [11]
นอกจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ พระโอรสแล้วยังทรงถือลูกเลี้ยงของพระองค์หลายองค์ ได้แก่ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ หรือท่านทองรอด (เป็นพระโอรสของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม) หม่อมเจ้าทองฑีฆายุได้ตามเสด็จไปเล่าเรียนที่ประเทศรัสเซีย ได้เป็นนายทหารม้า เข้าประจำกรมทหารม้ารักษาพระองค์หุ้มเกราะ และได้หม่อมชาวรัสเซียที่มีนามเดิมว่า ลุดมิลา
พระโอรสบุญธรรมองค์ถัดไปคือ หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ซึ่งได้ตามเสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ประเทศรัสเซีย
และต่อจากนั้นก็มีหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ เทวกุล และหม่อมเจ้าไตรทิพเทพสุต เทวกุล พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ
และส่วนหม่อมเจ้าอีกองค์ที่โปรดเลี้ยงดูคือ หม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ เกษมสันต์ พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพรหมวรานุรักษ์ แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นพระโอรสบุญธรรม จากหนังสือเกิดวังปารุสก์ พระนิพนธ์ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ได้กล่าวว่า "พ่อทรงเลี้ยงดู หม่อมเจ้านิวัทธวงศ์ โอรสกรมหลวงพรหมฯ แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นลูกเลี้ยงเพราะ ข้าพเจ้ามิได้ถูกสอนให้เรียกว่าพี่ แต่เรียกว่า ท่านนิวัทธ เสมอมา"[45] ซึ่งลูกเลี้ยงของพระองค์เคยเป็นนักเรียนที่รัสเซียทุกพระองค์ นอกจากหม่อมเจ้าปรีดิเทพย์พงษ์ องค์เดียวที่ศึกษาที่เยอรมนี[45]
พระอนุสาวรีย์และพระอนุสรณ์
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถได้ทรงปฏิบัติภารกิจสำคัญน้อยใหญ่เป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงมีการสร้างพระอนุสาวรีย์ขึ้น และพระอนุสรณ์ต่าง ๆ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระองค์ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น
- พระอนุสาวรีย์ ณ กรมการบินพลเรือน
อันเนื่องด้วยจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงมีพระดำริ ให้จัดตั้งแผนกการบินขึ้นและได้ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมจนกิจการบิน ในปี พ.ศ. 2456 ต่อมากองทัพอากาศจึงได้สร้างพระอนุสาวรีย์เป็นพระรูปปั้นประทับยืนเต็มพระองค์ ประดิษฐานไว้ที่หน้ากรมการบินพลเรือน (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)) ทำพิธีเปิดพระอนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2500[47]
- พระอนุสาวรีย์ ณ ค่ายจักรพงษ์
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดพระอนุสาวรีย์จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ที่ค่ายจักรพงษ์ ตำบลดงพระราม อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2515[48]
- พระอนุสาวรีย์ ณ กองบังคับการกองบิน 2
อันเนื่องด้วยจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ทรงเป็นพระบิดาแห่งกองทัพอากาศ ทางกองบิน 2 จึงให้มีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ขึ้น บริเวณหน้ากองบังคับการกองบิน 2 เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติยศ และเป็นศูนย์รวมจิตใจในการปฏิบัติหน้าที่และภารกิจต่าง ๆ ของกองทัพอากาศ ที่ กองบังคับการกองบิน 2 ตำบลเขาพระงาม อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
- พระอนุสาวรีย์ ณ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พระองค์เป็นผู้ทรงก่อตั้งวางรากฐานโรงเรียนนี้มาแต่เริ่มแรก และเมื่อครั้งได้สร้าง “อาคารประภาสโยธิน” ซึ่งเป็นอาคารถาวรของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก จึงได้ถือโอกาสสร้าง และอัญเชิญอนุสาวรีย์พระองค์ มาประดิษฐานคู่กับอาคารหลังนี้ และได้จัดพิธีเฉลิมฉลองพร้อมกับอาคารประภาสโยธิน เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2513 ซึ่งเป็นปีที่ 60 ของการสถาปนาโรงเรียนเสนาธิการทหารบก นับตั้งแต่นั้นมา ในวันที่ 3 เมษายน ของทุกปี บรรดาศิษย์เก่าของสถาบันจะพากันมาวางพวงมาลาถวายสักการะแด่พระอนุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระเกียรติคุณ และพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน[5]
- ตึกจักรพงษ์ ณ สภากาชาด
ตึกจักรพงษ์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2466 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ด้วยเงินบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ พ่อค้า ข้าราชการและประชาชน เพื่อให้เป็นอนุสรณ์เชิดชูเกียรติคุณของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ อุปนายกผู้อำนวยการสภากาชาดไทย ซึ่งได้เสด็จทิวงคต โดยมีนายฮี ลี สถาปนิกที่ปรึกษาของกรมเกียกกายทหารบก เป็นผู้ออกแบบ และนายยี อี กอลโล นายช่างในกองก่อสร้างกรมสุขาภิบาล เป็นวิศวกร ได้ทำพิธีเปิดตึกเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466[49]
- ตึกจักรพงษ์ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ประทานเงินจำนวน 20,000 บาท ในปี พ.ศ. 2473 ก่อสร้างตึกจักรพงษ์สำหรับเป็นที่ทำการของสโมสรนิสิต เป็นอนุสรณ์แด่พระบิดาคือจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ผู้ประทานแนวคิดองค์กรบริหารของนิสิต[50] ตึกจักรพงษ์ ตั้งอยู่ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเปิดเป็นหอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[51]
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2517 พลเอก กฤษณ์ สีวะรา ผู้บัญชาการทหารบก (ในขณะนั้น) ได้มอบอาคารเรียน อุปกรณ์ ที่ดิน และ ทรัพย์สินให้กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบกสังกัดกรมอาชีวศึกษา และเพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงกองทัพบก กระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ขอพระราชทานนาม "จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ" ซึ่งเป็นเสนาธิการกองทัพบกเป็นชื่อแทน "โรงเรียนอาชีวศึกษาบุตรข้าราชการกองทัพบก" โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยจักรพงษภูวนารถ"[52] ซึ่งทางวิทยาเขตจะจัดให้วันที่ 13 มิถุนายน เป็นวัน "จักรพงษ์" โดยจะมีพิธีวางพวงมาลาบริเวณหน้าพระอนุสาวรีย์ และพิธีถวายตัว ซึ่งเป็นประเพณีที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกสาขาวิชา จะต้องเข้าร่วมพิธี เพื่อก้าวเข้ามาเป็น ลูกเจ้าฟ้า ฯ อย่างเต็มตัว
- ถนนจักรพงษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนจักรพงษ์ขึ้น[53] ซึ่งตั้งมาจากพระนามของพระองค์ อยู่ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งเริ่มตั้งแต่ถนนเจ้าฟ้าถึงสะพานนรรัตน์สถาน (สะพานข้ามคลองรอบกรุง) เป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงชนะสงครามกับแขวงตลาดยอด และถนนจักรพงษ์อีกแห่ง อยู่ในโรงพยาบาลศิริราช โดยเมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จนิวัติกรุงเทพชั่วคราว ระหว่างทรงศึกษาวิชาทหารที่รัสเซีย ได้เสด็จมาโรงพยาบาลศิริราช และทรงเห็นว่าถนนไม่เรียบร้อย เดินลำบาก จึงประทานเงินสร้างถนนจากท่าน้ำยาวไปกลางโรงพยาบาลจนถึงตึกแพทยาลัย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา อธิบดีกรมพยาบาลขณะนั้น จึงตั้งชื่อถนนว่า "ถนนจักรพงษ์"[54]
พระเกียรติยศ
[แก้]พระอิสริยยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พะย่ะค่ะ/เพคะ |
- 3 มีนาคม พ.ศ. 2426 – 15 มกราคม พ.ศ. 2435: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
- 15 มกราคม พ.ศ. 2435 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ[55]
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454: สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ[56]
- 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463: สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[29]
- 13 มิถุนายน พ.ศ. 2463 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468: สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[57]
- 9 ธันวาคม พ.ศ. 2468: สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชาถ[58]
- ปัจจุบัน: สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ[59][60][61][62][63][64][65]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2434 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[66]
- พ.ศ. 2437 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)[67]
- พ.ศ. 2443 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ (ป.จ.ว.)[68]
- พ.ศ. 2454 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์รัตนวราภรณ์ (ร.ว.) (ฝ่ายหน้า) (ฝ่ายหน้า)[28]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 1 เสนางคะบดี (ส.ร.)[69][70]
- พ.ศ. 2456 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[71]
- พ.ศ. 2461 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[72]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[73]
- พ.ศ. 2457 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[74]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[75]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 1 (จ.ป.ร.1)[76]
- พ.ศ. 2453 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[77]
เข็มพระราชทาน
[แก้]พ.ศ. 2456 - เข็มข้าหลวงเดิม[78]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2454 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซราฟีม
- บริเตนใหญ่ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เครื่องราชอิสริยาภรณ์รอยัลวิกตอเรียน
พระราชสมัญญานาม
[แก้]- พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย[79]
- พระบิดาแห่งการบินไทย[80]
- พระบิดาแห่งเสนาธิการทหารไทย[81][82]
พระยศ
[แก้]สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม กองเสือป่า |
ชั้นยศ | จอมพล นายกองเอก |
พระยศทหาร
[แก้]- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2460: จอมพล[83]
พระยศเสือป่า
[แก้]ราชตระกูล
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น 5" เก็บถาวร 2009-06-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0ก): 21. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2472.
- ↑ ข่าวทิวงคต สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ และเชิญพระศพสู่กรุงเทพมหานคร
- ↑ เกร็ดความรู้: 3 มีนาคม เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sarakadee.com
- ↑ 4.0 4.1 พระประวัติ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน se-ed.net
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12.
- ↑ เจ้าชีวิต พระนิพนธ์ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
- ↑ นักเรียนนอก เก็บถาวร 2007-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน maneebooks.com
- ↑ ล้อม เพ็งแก้ว,นกสองหัว เก็บถาวร 2007-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ศิลปวัฒนธรรม
- ↑ 9.0 9.1 ชีวิตเหมือนฝัน : นายพุ่มสกี้ พระสหายสนิทสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ ผู้จากเมืองไทยไปกว่า 33 ปี กระทู้ในพันทิป.คอม
- ↑ วัฒนะ คุ้นวงศ์, สยามสโกเย ปาโซลสตวา ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมอสโก
- ↑ 11.00 11.01 11.02 11.03 11.04 11.05 11.06 11.07 11.08 11.09 พระราชประวัติเจ้าฟ้าฯ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมศิษย์เก่าจักรพงษภูวนาถ
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ หน้าที่ 1 - ย้อนอดีตไปถึง พ.ศ. 2448 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เกร็ดความรู้ทั้งความรักและการเมืองของเจ้านายผู้ครองวังปารุสก์
- ↑ หน้าที่ 3 - เปลี่ยนแผ่นดินใหม่ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เกร็ดความรู้ทั้งความรักและการเมืองของเจ้านายผู้ครองวังปารุสก์
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงดำรงตำแหน่งองคมนตรี
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ 3 เมษายน วันนี้ในอดีต เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sarakadee.com
- ↑ แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-01-18.
- ↑ "บัญชีพระนามและนามองคมนตรี ที่พระราชทานสัญญาบัตรแล้ว" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0 ง): 2273. 1 มกราคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12.
- ↑ ทหารอาชีพ (5) : จาก ร.ศ.130 สู่ 24 มิ.ย.75 คมชัดลึก.คอม
- ↑ "กบฏ ร.ศ. ๑๓๐". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-24.
- ↑ ข่าวสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเสด็จไปราชการต่างพระองค์ณประเทศยุโรป
- ↑ ""สยาม" ต้อนรับ "เจ้านายต่างประเทศ" ครั้งยิ่งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 6". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-15. สืบค้นเมื่อ 2008-01-15.
- ↑ 28.0 28.1 "ข่าวสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนพิศณุโลกประชานาถ เสด็จกลับกรุงเทพฯ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 1813. 12 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 29.0 29.1 "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 28 (ตอน 0 ง): หน้า 1726. 11 พฤศจิกายน ร.ศ. 130. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ประวัติการบินของไทยเป็นอย่างไร เก็บถาวร 2007-08-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมสำหรับเยาวชนฯเล่ม 1
- ↑ "วิวัฒนาการการบินและอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2007-08-24.
- ↑ "ประวัติกองทัพอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-22. สืบค้นเมื่อ 2006-04-21.
- ↑ เล็ก พงษ์สมัครไทย, วาระสุดท้ายแห่งพระชนม์ชีพ จอมพล สมเด็จฯเจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ, นิตยสารต่วยตูนพิเศษ ฉบับที่ 395 เดือนมกราคม 2551 หน้า 91-98
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
- ↑ พระประวัติโดยสังเขปของ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานา เก็บถาวร 2007-08-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วิทยาลัยกองทัพอากาศ
- ↑ สรศัลย์ แพ่งสภา, นักเรียนนายร้อยไทยในเยอรมัน ยุค ไกเซอร์ เก็บถาวร 2007-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ เก็บถาวร 2007-07-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เว็บไซต์กองทัพบก
- ↑ เกร็ดความรู้: 12 เมษายน เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sarakadee.com
- ↑ วันสำคัญในอดีต 3 มี.ค.[ลิงก์เสีย] สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 พิษณุโลก
- ↑ คู่มือข้าราชการ ทอ.2548[ลิงก์เสีย]
- ↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุม เก็บถาวร 2007-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ชมรมดนตรีไทย ส.จ.ม.
- ↑ ตึกจุลจักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
- ↑ "15 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ยูเครน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-08-12.
- ↑ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, วังสวนกุหลาบ เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน sakulthai.com
- ↑ 45.0 45.1 45.2 เกิดวังปารุสก์ ประพันธ์โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สำนักพิมพ์ River Books, ISBN 974-8225-22-4
- ↑ ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย, ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. กรุงเทพฯ :มติชน, 2550 ISBN 974-323-989-2
- ↑ "การสร้างพระอนุสาวรีย์และอนุสาวรีย์บุพการีทหารอากาศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-18. สืบค้นเมื่อ 2007-08-23.
- ↑ วันนี้ในอดีต เก็บถาวร 2007-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กองทัพไทย
- ↑ ตึกจักรพงษ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด
- ↑ ลำดับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของจุฬาฯ เก็บถาวร 2007-09-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-12. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
- ↑ ย้อนอดีต 40 ปี รั้วฟ้าม่วง 2509-2549 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมาคมศิษย์เก่าจักรพงษ์ภูวนาถ
- ↑ "กว่าจะมาเป็นกรุงเทพฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2007-08-23.
- ↑ ถนนจักรพงษ์ ในศิริราช[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประกาศการรับพระสุพรรณบัตร เฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 43): หน้า 391. 24 มกราคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ คำนำ พระนาม พระบรมวงศานุวงษ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ก): หน้า 1. 30 ตุลาคม ร.ศ. 129. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ข่าวทิวงคต สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ และเชิญพระศพสู่กรุงเทพมหานคร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 37 (ตอน 0 ง): หน้า 1021. 27 มิถุนายน พ.ศ. 2463. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศ คำนำพระนาม พระบรมวงศานุวงศ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 42 (ตอน 0 ก): หน้า 232. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2468. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี โรงเรียนเสนาธิการทหารบก พ.ศ. 2555" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ดีเอสไอ ถวายพานพุ่มสักการะพระอนุสาวรีย์ จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ โอกาสครบรอบ 39 ปี ทอท". กรมสอบสวนคดีพิเศษ. 1 Jul 2018. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รฟม. ร่วมถวายพานพุ่มสักการะพระอนุเสาวรีย์จอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ". MRTA Website. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "พิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ พระรูปจอมพลสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ พระบิดากองทัพอากาศ และพิธีฟังสารผู้บัญชาการทหารอากาศ". acsc.rtaf.mi.th. โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-25. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
- ↑ "พระบิดาแห่งเสนาธิการ". www.cgsc.ac.th. โรงเรียนเสนาธิการทหารบก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-03. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
- ↑ วีระศิลป์ชัย, ศันสนีย์ (2022-02-09). ""ใครๆ ว่าฉันมีบุญจะได้เป็น พระเจ้าแผ่นดิน ทำไมถึงเป็นไปเช่นนี้" : กรมหลวงนครราชสีมา". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เยี่ยมบ้านจักรพงษ์ บ้านท่าเตียนของเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ ในการดูแลของทายาทปัจจุบัน". The Cloud. 3 Feb 2021. สืบค้นเมื่อ 27 Jun 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "การรับพระสุพรรณบัตร เฉลิมพระนาม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 8 (ตอน 43): หน้า 385. 24 มกราคม ร.ศ. 110. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชพิธีมงคลการโสกันต์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 11 (ตอน 50): หน้า 458. 10 มีนาคม ร.ศ. 113.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้าและฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 17 (ตอน 35): หน้า 501. 25 พฤศจิกายน ร.ศ. 119. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35 (เล่ม 35): หน้า 980. 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2461. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2020-03-06.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 35 ตอนที่ 17 พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี หน้า 980" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35 (ตอน 0 ง): หน้า 1050. 4 สิงหาคม พ.ศ. 2461. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 30 (ตอน 0 ง): หน้า 2437. 18 มกราคม พ.ศ. 2456. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 35 (ตอน 0 ง): หน้า 2848. 30 ธันวาคม พ.ศ. 2461. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 20 (ตอน 27): หน้า 445. 21 กันยายน ร.ศ. 122. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญจักรมาลา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 31 (ตอน 0 ง): หน้า 2404. 30 ธันวาคม พ.ศ. 2457. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-02-10. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 4" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 (36): 1040. 6 ธันวาคม ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25 (ตอน 35): หน้า 1012. 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 27 (ตอน 0 ง): หน้า 2409. 11 มกราคม ร.ศ. 119. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 30 (ตอน 0 ง): หน้า 304. 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2456. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม พ.ศ. 2564.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "พระบิดาแห่งกองทัพอากาศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-19. สืบค้นเมื่อ 2018-08-02.
- ↑ พระบิดาแห่งการบินไทย
- ↑ "พระบิดาแห่งเสนาธิการทหารไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-03. สืบค้นเมื่อ 2018-08-02.
- ↑ ได้รับการยกย่องสัญญานาม
- ↑ "พระราชทานสัญญาบัตรยศทหาร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-05-07.
- ↑ พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า
- ↑ ได้รับพระราชทานนายกองเอก
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พระประวัติสังเขป เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- พระราชประวัติเจ้าฟ้าฯ เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2426
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2463
- สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
- เจ้าฟ้าชาย
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลจักรพงษ์
- จอมพลชาวไทย
- นายพลในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ว.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ส.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- บุคคลจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- เสียชีวิตจากโรคปอดบวม
- ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- สมาชิกกองเสือป่า
- ประเทศสยามในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ทหารชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในประเทศสิงคโปร์
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- เสนาธิการทหารบกไทย