หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ
หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ประสูติ | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 |
สิ้นชีพิตักษัย | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 (88 ปี) |
หม่อม | หม่อมชั้น วรวรรณ ณ อยุธยา หม่อมฟื้น วรวรรณ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 9 คน |
ราชสกุล | วรวรรณ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ |
พระมารดา | หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา |
พันเอก นายแพทย์ หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ[1] (25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประสูติแต่หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา
พันเอกหม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบก |
ชั้นยศ | พันเอก |
พระประวัติ
[แก้]หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ มีพระนามลำลองว่า ท่านชายตุ๋ยตุ่ย เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประสูติแต่หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434 มีโสทรภราดาและโสทรภคินี ดังนี้
- หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ (พ.ศ. 2431-2496) เสกสมรสกับหม่อมโจฮันนา (สกุลเดิม เวเบอร์) และหม่อมสมรวย (สกุลเดิม มุกแจ้ง)
- หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี (พ.ศ. 2433-2524) เสกสมรสกับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
- หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ (พ.ศ. 2434-2522)
- หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ (พ.ศ. 2436-2514) เสกสมรสกับหม่อมแก้ว (สกุลเดิม เอี่ยมจำนงค์) และหม่อมเล็ก (สกุลเดิม เจริญจันทร์แดง)
- หม่อมเจ้าอรทิพย์ประพันธ์ เทวกุล (พ.ศ. 2438-2505) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าดำรัสดำรงค์ เทวกุล
- หม่อมเจ้าสิทธยากร วรวรรณ (พ.ศ. 2440-2508) เสกสมรสกับหม่อมดำริห์ (สกุลเดิม บุนนาค)
- หม่อมเจ้าไปรมากร วรวรรณ (พ.ศ. 2441-2519) เสกสมรสกับหม่อมน้อย (สกุลเดิม สุวรรณศวร) หม่อมสมศรี (สกุลเดิม ประภาเพ็ชร์) และหม่อมอรุณ
- หม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ (พ.ศ. 2445-2528) เสกสมรสกับพลเอกมังกร พรหมโยธี
- หม่อมเจ้าสรรพางค์พิมล วรวรรณ (พ.ศ. 2446-2463)
- อุบล วรวรรณ (พ.ศ. 2448-2528) เสกสมรสกับอาฌรลด์ แคร้บบ์
เมื่อสมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ เสด็จกลับจากประเทศรัสเซียชั่วคราว หม่อมเจ้าวัลภากรได้เข้าถวายตัวและได้มีโอกาสตามเสด็จไปทรงศึกษาต่อยังประเทศรัสเซีย ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนการแพทย์ทหารบก เลนินกราดในปัจจุบัน เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียรบกับเยอรมนี หม่อมเจ้าวัลภากรได้รับราชการพิเศษในสภากาชาดรัสเซีย
เมื่อเสด็จกลับประเทศไทย ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนการแพทย์ทหารบก โดยเป็นศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ต่อมาสภากาชาดไทยขอยืมตัวไปปฏิบัติการ ทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการกองอนามัย เลขาธิการแพทยสมาคม ในปี พ.ศ. 2473 – 2475 และได้รับพระราชทานยศเป็นนายพันเอก เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2473[2]
ในปี พ.ศ. 2475 ถูกดุลย์ให้ออกจากราชการเนื่องจากวิกฤตการทางเศรษฐกิจ ต่อมาปี พ.ศ. 2480 ได้เสด็จกลับเข้ารับราชการใหม่ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ตำแหน่งสุดท้ายในราชการคือ เป็นหัวหน้ากองสัมพันธ์ต่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข
หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ในการนี้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดธาตุทอง ในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2522
โอรส-ธิดา
[แก้]หม่อมเจ้าวัลภากร เสกสมรสกับหม่อมชั้น และหม่อมฟื้น ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงษ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) มีโอรส-ธิดา ดังนี้
เกิดแต่ หม่อมชั้น (สกุลเดิม บุนนาค)
- หม่อมราชวงศ์เริงวรรณ วรวรรณ
- แพทย์หญิง หม่อมราชวงศ์พรรณจิตร กรรณสูต สมรสกับนายแพทย์ชัยยุทธ กรรณสูต
- ศาสตราจารย์ หม่อมราชวงศ์ชวนิศนดากร วรวรรณ สมรสกับนงลักษณ์ วรวรรณ ณ อยุธยา
- หม่อมราชวงศ์ฉันทากร วรวรรณ
- พลตำรวจตรี นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์ถวัลภากร วรวรรณ สมรสกับรองศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ทวินศรี วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม อุชชิน)
เกิดแต่ หม่อมฟื้น (สกุลเดิม บุนนาค)
- หม่อมราชวงศ์วรวัลลภ วรวรรณ สมรสกับวาสนา วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม อมาตยกุล)
- นายแพทย์ หม่อมราชวงศ์สุรวรรณ วรวรรณ สมรสกับกุลปิยา วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศิวเสณ)
- หม่อมราชวงศ์วรวัณณา วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์สุรีย์วรรณ รัตนกรี สมรสกับสัญชัย รัตนกรี
สิ้นชีพิตักษัย
[แก้]หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 สิริชันษา 88 ปี
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
พระยศ
[แก้]- 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2457: นายร้อยตรี[3]
- 1 สิงหาคม พ.ศ. 2457: โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมส่งสัญญาบัตรยศไปพระราชทานที่ประเทศรัสเซีย[4]
- 20 กันยายน พ.ศ. 2460: นายร้อยโท[5]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2461: นายร้อยเอก[6]
- 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2470: นายพันโท[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)[8]
- พ.ศ. 2472 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 4 จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)[9]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[10]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
- พ.ศ. 2460 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 4 (ว.ป.ร.4)[12]
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)[13]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 25 พฤษภาคม 2473 เรื่อง พระราชทานยศ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 617 เรื่อง พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ ส่งสัญญาบัตรทหารบกไปพระราชทาน
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศนายทหารบก
- ↑ พระราชทานยศทหารบก
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 47 หน้า 3085 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2474]
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2922]
- ↑ พระราชทานเข็มราชการแผ่นดิน (หน้า 3069)
- ↑ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 46 หน้า 2924]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 มกราคม 2460 เล่ม 34 หน้า 3069
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา วันที่ 26 พฤศจิกายน 2469
- เกิดวังปารุสก์ ประพันธ์โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ สำนักพิมพ์ River Books ,ISBN 974-8225-22-4