พระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลตรี นายกองเอก
พระยาภักดีภูธร
(ชื่น ภักดีกุล)
เจ้ากรมแผนที่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๔๕๓ – พ.ศ. ๒๔๗๒
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16​ กรกฎาคม พ.ศ. 2417
ประเทศสยาม
เสียชีวิต14 มกราคม พ.ศ. 2488 (70 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเอลีซาเบท (จอนสัน) สุรยุทธ
(Elisabeth Johnson Surayudh)

พลตรี นายกองเอก พระยาภักดีภูธร[1] มีนามเดิมว่า ชื่น เป็นอดีตเจ้ากรมแผนที่ทหาร[2] อดีตองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้ขอพระราชทานนามสกุล ภักดีกุล[3][4] โดยมีพระยาภักดีภูธร (จัน ภักดีกุล)[5] บุตรของขุนพิทักษ์ระบำ[6] เป็นต้นสกุล[7]

ประวัติ[แก้]

พลตรีพระยาภักดีภูธร (ชื่น ภักดีกุล) เกิด วันที่ 16​ ก.ค. พ.ศ. 2417 ในซอยหนึ่งใกล้กับโรงเรียนสตรีวิทยา[8] ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องทั้งหมดของพลตรีพระยาภักดีภูธร (นิล) มีพี่ชายคนหนึ่งที่รับราชการเช่นกันคือ นายร้อยเอก ขุนสุรินทรภิบาล (กิ่ง ภักดีกุล; 25 มีนาคม 2407–9 พฤศจิกายน 2471)[9]

ชื่น ภักดีกุล จบการศึกษานักเรียนนายร้อยจากโรงเรียนนายร้อยวังสราญรมย์[10] ขณะนั้นเป็น หลวงสุรยุทธโยธาหาญ สมรสกับ เอลีซาเบท (จอนสัน) สุรยุทธ (Elisabeth Johnson Surayudh) มีบุตรชาย 4 คน คนโต ร้อยเอก หลวงชิตวีร์วสุนทรา (ชิตวีร์ ภักดีกุล) และด.ช. เมรุสวัง (ถึงแก่กรรม) ทั้งคู่เกิด เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย ส่วนน้องอีก 2 คน พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล , และ ร้อยโท เอกรินทร์ ภักดีกุล เกิดที่ บ้านบางขุนพรหม กรุงเทพมหานคร

หลวงสุรยุทธโยธาหาญได้รับราชการเป็น ราชองครักษ์ประจำพระองค์ ในจอมพล สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ในระหว่างที่ 2443 - 2448 เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ประเทศรัสเซีย - Luangh Surayudh first aide-de-camp to Prince Chakrabongse

นายพันตรี หลวงสุรยุทธโยธาหาญ (ชื่น ภักดีกุล) องครักษ์สมเด็จกรมขุนพิศณุโลก เป็นผู้บังคับหน่วย กรมจเรทหารราบ ศร. ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2449 มีนามหน่วยว่า กรมจเรทหารราบ ตั้งอยู่ใน กห. จว.พระนคร มีหน้าที่ตรวจกิจการของเหล่า ร. รับผิดชอบพัฒนาวิทยาการ และการจัดของเหล่า ร. กรมยุทธนาธิการ ขึ้นตรงต่อ กรมจเรทหารบก

นายพันเอก พระวิภาคภูวดล เป็น เจ้ากรมแผนที่ทหารบกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2453[11] ไปราชการปักปันเขตแดนสยามกับฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2450

พระยาภักดีภูธร เป็นองคมนตรี ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2462

ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง แล้ว เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถจึงขอพระบรมราชานุญาตจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอลาพักผ่อน ครั้นเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว พระองค์ทรงแต่งตั้งให้นายพลตรี "พระยาภักดีภูธร" เจ้ากรมแผนที่ทหารบกเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งเสนาธิการทหารบกแทนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2463

ยศและบรรดาศักดิ์[แก้]

  • – นายพันโท
  • – หลวงสุรยุทธโยธาหาญ
  • 27 กรกฎาคม 2454 – พระวิภาคภูวดล ถือศักดินา 1000[12]
  • 3 ตุลาคม 2456 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[13]
  • ว่าที่นายหมวดตรี[14]
  • 18 มิถุนายน 2457 – พระยาภักดีภูธร ถือศักดินา 1500[15]
  • 8 สิงหาคม 2457 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์[16]
  • 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 - นายหมวดโท[17]
  • 8 พฤศจิกายน 2458 – นายหมวดเอก[18]
  • 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 นายพลตรี[19]
  • 8 มกราคม 2459 – เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบกที่พระที่นั่งอนันตสมาคม[20]
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463 นายกองเอก[21]

ตำแหน่ง[แก้]

  • – หัวหน้าแผนกทำแผนที่
  • กุมภาพันธ์ 2453 – รักษาราชการแทนในตำแหน่งเจ้ากรมแผนที่[22]
  • 4 เมษายน 2462 – องคมนตรี[23]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

มรดก[แก้]

  • พิพิธภัณฑ์ภักดีภูธร กรมแผนที่ทหาร[31]

อ้างอิง[แก้]

เชิงอรรถ
  1. สาครคชเขตต์ (ประทวน), หลวง. จดหมายบันทึกสมัยฝรั่งเศสปกครองจังหวัดตราด แต่ พ.ศ. 2447 ถึง 2449. ม.ป.พ., ม.ป.ท., 2495. 251 หน้า. หน้า 44.
  2. กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย. ที่ระลึกครบรอบวันสถาปนา 100 ปี กรมแผนที่ทหาร 3 กันยายน 2528. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร, 2528. 330 หน้า. หน้า 315.
  3. พระราชวังพญาไท. นามสกุลพระราชทาน หมวด ภ.
  4. นามสกุลคนไทย (ต้นสกุล (ต้นวงศ์), ต้นราชสกุล) : นามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย (ภ).
  5. ประยุทธ สิทธิพันธ์. ต้นตระกูลขุนนางไทย. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, 2505. 544 หน้า. หน้า 211.
  6. กรมศิลปากร. โลหะปราสาท: วัดราชนัดดารามวรวิหาร. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538. 188 หน้า. หน้า 49. ISBN 978-974-4190-43-7 อ้างใน อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล ณ เมรุหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์, 2532.
  7. ยศวดี บุญ-หลง. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ นารา บุญ-หลง ป.ช.,ป.ม. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๑. ม.ป.พ., ม.ป.ท., 2541. 131 หน้า. หน้า 41.
  8. วิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์), ขุน. กรุงเทพฯ เมื่อวานนี้. กรุงเทพฯ : สารคดี, 2542. 295 หน้า. หน้า 126. ISBN 978-974-8212-02-9
  9. ข่าวตาย (หน้า 2856–57)
  10. คณะกรรมการพิจารณาและจัดพิมพ์เอกสารประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี. ประชุมภาพประวัติศาสตร์ ทหารและตำรวจ. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2525. 206 หน้า
  11. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ พลโทพระยาศัลวิธานนิเทศ (แอบ รักตประจิต) ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม. สมุหพระราชมณเฑียร ณ เมรุกลางหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร วันพุธที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๓๓. ม.ป.พ., ม.ป.ท., 2533. 236 หน้า. หน้า 56.
  12. ตั้งบรรดาศักดิ์
  13. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  14. อมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช), จมื่น. เสือป่าและลูกเสือในประวัติศาสตร์รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2514. 238 หน้า. หน้า 147.
  15. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์
  16. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  17. ประกาศเลื่อนยศเสือป่ากองพลหลวง. (๒๔๕๗, ๑๔ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๑. หน้า ๒,๖๗๗.
  18. พระราชทานยศเสือป่า
  19. พระราชทานยศนายทหารบก. (๒๔๕๙, ๔ มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๓. หน้า ๔๘๔.
  20. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรยศทหารบก
  21. พระราชทานยศนายเสือป่า. (๒๔๖๓, ๒๐ มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ ๓๗. หน้า ๔,๑๓๖.
  22. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  23. บัญชีรายพระนามและนามผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งเป็นองคมนตรี
  24. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 3411)
  25. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรม. ตำนานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พระจันทร์, 2512. 269 หน้า. หน้า 209.
  26. พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (หน้า 2420)
  27. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
  28. พระราชทานเหรียญราชรุจิ
  29. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
  30. พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม
  31. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. พิพิธภัณฑ์ภักดีภูธร กรมแผนที่ทหาร.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]