ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทวัญ ลิปตพัลลภ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = เทวัญ ลิปตพัลลภ
| name = เทวัญ ลิปตพัลลภ
| image = Tewan Liptapanlop.jpg
| image = เทวัญ ลิปตพัลลภ.jpg
| honorific-suffix = <br>[[มหาวชิรมงกุฎ|ม.ว.ม.]], [[ประถมาภรณ์ช้างเผือก|ป.ช.]]
| honorific-suffix = <br>[[มหาวชิรมงกุฎ|ม.ว.ม.]], [[ประถมาภรณ์ช้างเผือก|ป.ช.]]
| order = [[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย|รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]]
| order = [[รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทย|รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:42, 23 ธันวาคม 2563

เทวัญ ลิปตพัลลภ
ไฟล์:เทวัญ ลิปตพัลลภ.jpg
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม 2562 – 20 กรกฎาคม 2563[1]
ก่อนหน้ากอบศักดิ์ ภูตระกูล
ถัดไปอนุชา นาคาศัย
หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา
เริ่มดำรงตำแหน่ง
21 พฤศจิกายน 2561
ก่อนหน้าวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 ธันวาคม พ.ศ. 2502 (64 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
พรรคการเมืองชาติพัฒนา

เทวัญ ลิปตพัลลภ (เกิด 29 ธันวาคม 2502) เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] ที่ปรึกษาและกรรมการในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หัวหน้าพรรคชาติพัฒนา และ เป็นประธานสโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา[3]เป็นอดีตกรรมการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดต่อ​ไวรัสโคโรนา​ 2019 (โควิด-19) และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา 3 สมัย

ประวัติ

เทวัญ ลิปตพัลลภ เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2502 เป็นบุตรของนายวิศว์ และนางจรัสพิมพ์ ลิปตพัลลภ และเป็นน้องชายของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ สำเร็จการศึกษา นิติศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[4]

งานการเมือง

เทวัญ เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม และได้รับเลือกเรื่อยมา รวม 3 สมัย

ในปี 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย

ในปี 2561 นายเทวัญได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา[5] และลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. สมัยที่ 4

ต่อมาได้เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กระทั่งในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 นายเทวัญ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เทวัญ ลิปตพัลลภ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคสามัคคีธรรม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2535)พรรคไทยรักไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดนครราชสีมา สังกัดพรรคไทยรักไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติพัฒนา (พ.ศ. 2550)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง รัฐมนตรีลาออก" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี. 2563-07-30. สืบค้นเมื่อ 2563-07-30. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  3. วางระบบไว้แล้ว! เทวัญ ลา ปธ.โคราช ลุยเลือกตั้ง
  4. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2548. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2548
  5. ชาติพัฒนาเลือก 'เทวัญ ลิปตพัลลภ'หัวหน้าพรรค - ชูสโลแกน 'No problem' สู้ศึกเลือกตั้ง