ถนนมิตรภาพ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2
ถนนมิตรภาพ
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ
ความยาว509.1 กิโลเมตร (316.3 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อพ.ศ. 2500–ปัจจุบัน
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้ ถ.พหลโยธิน ใน อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี
 
ปลายทางทิศเหนือสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 ใน อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพจังหวัดหนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12

ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสหรัฐในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2508

ประวัติ[แก้]

ถนนมิตรภาพในอดีตเมื่อครั้งยังเป็นถนนแบบ 2 ช่องทางจราจร ช่วงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อถนนช่วงสระบุรี–ปากช่อง–นครราชสีมาว่า "ถนนสุดบรรทัด" และในช่วงนครราชสีมา–ขอนแก่น–อุดรธานี–หนองคายได้รับการตั้งชื่อถนนว่า "ถนนเจนจบทิศ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493[1] ก่อนที่จะได้รับการสนันสนุนการก่อสร้างจากสหรัฐ ซึ่งเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2498 จากสระบุรีจนถึงนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 148 กิโลเมตร ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี[2] เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐในการก่อสร้างถนนร่วมกัน จึงขนานนามถนนสายนี้เป็น ถนนมิตรภาพ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501[3]

ต่อมาได้สร้างช่วงต่อจากนครราชสีมาจนถึงหนองคายในปี พ.ศ. 2504 ระยะทาง 360 กิโลเมตร สายนี้รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ (USOM) พร้อมทั้งได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันมาช่วยให้คำแนะนำด้วย ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมทางหลวง ส่วนใหญ่สร้างทับแนวถนนที่มีอยู่เดิม ยกเว้นช่วงนครราชสีมาบ้านไผ่ ที่แนวถนนเดิมคดเคี้ยวและอยู่ในสภาพชำรุด จึงสร้างแนวถนนขึ้นใหม่ เพราะย่นระยะทางลงกว่า 30 กิโลเมตร (ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 และ 2440) สายนี้เริ่มเปิดใช้เมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2508 ในการประกอบพิธีเปิด จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า

ถนนหนทางมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ในท้องถิ่นใดก็ตามที่มีถนนไปถึง ความเจริญของท้องที่ การเพิ่มพูนขยายตัวของการทำมาหากินและรายได้ของประชาชนก็ย่อมจะบังเกิดเป็นเงาตามตัวมาด้วย

ทางหลวงสายนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อมวลชนและทรัพยากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมาก เพราะจะช่วยเชื่อมชุมนุมชน ไร่นา และตลาดในท้องที่สำคัญๆ หลายแห่ง ให้ใกล้ชิดติดต่อกัน และจะเปิดทางเพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ดังเช่นที่ประจักษ์อยู่แล้ว ในความเจริญทางเศรษฐกิจที่บังเกิดขึ้นกับอาณาบริเวณถนนมิตรภาพในเวลาอันไม่นานมานี้

--ถนอม กิตติขจร

การก่อสร้างถนนมิตรภาพก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นแก่ความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจและสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศลาวอีกด้วย

แต่เดิมกรมทางหลวงได้กำหนดหมายเลขทางหลวงสำหรับถนนมิตรภาพไว้เป็นหมายเลข 21 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ในภายหลัง และได้กำหนดให้ทางหลวงสายสามแยกพุแค–หล่มสักเป็นทางหลวงหมายเลข 21 แทน[4]

เดิมทีถนนมิตรภาพเป็นถนนแบบ 2 ช่องทางจราจรเท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นถนนแบบ 4-10 ช่องทางจราจร โดยเริ่มมีการขยายถนนเป็นถนนแบบ 4 ช่องทางจราจรเมื่อสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยในช่วงตั้งแต่ทางแยกต่างระดับมิตรภาพ-ทางรถไฟสายตะวันออก ทางแยกต่างระดับตาลเดี่ยว-ทับกวาง หน้าโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงบางช่วง ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว-ตัวเมืองนครราชสีมา ในเมืองนครราชสีมาบางช่วง และในเขตเทศบาลนครขอนแก่นบางช่วงเป็นถนนขนาด 10 ช่องจราจร

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ความยาว
  ไมล์ กิโลเมตร
จังหวัดสระบุรี 22.228 35.772
จังหวัดนครราชสีมา 133.922 215.527
จังหวัดขอนแก่น 85.750 138
จังหวัดอุดรธานี 60.584 97.5
จังหวัดหนองคาย 14.172 22.807
รวม 316.656 509.606
แผนที่เส้นทางถนนมิตรภาพ สายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2
ทางแยกเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 (ทางเข้าหนองคาย) เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2

ถนนมิตรภาพเป็นถนนสายหลักที่สามารถเดินทางไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทางหลวงสายประธานสายเดียวที่ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งแยกมาจากถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ 106+615 (กิโลเมตรที่ 107+350 เดิม) ที่ทางแยกต่างระดับมิตรภาพ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก เข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ผ่านอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จากนั้นเส้นทางออกจากเมืองขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโนนสูง อำเภอคง อำเภอโนนแดง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอสีดา และอำเภอบัวลาย

เมื่อเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น เส้นทางจะผ่านอำเภอพล อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านไผ่ อำเภอบ้านแฮด อำเภอเมืองขอนแก่น เข้าเขตเทศบาลนครขอนแก่น ผ่านอุโมงค์แยกขอนแก่น อำเภอน้ำพอง และอำเภอเขาสวนกวาง

เข้าสู่จังหวัดอุดรธานี ผ่านอำเภอโนนสะอาด อำเภอกุมภวาปี อำเภอเมืองอุดรธานี โดยชื่อถนนช่วงที่ผ่านเทศบาลนครอุดรธานีมีชื่อว่า "ถนนทหาร" (ช่วงแยกบ้านจั่น–วงเวียนห้าแยกน้ำพุ) และ "ถนนอุดรดุษฎี" (วงเวียนห้าแยกน้ำพุ–แยกเก่าน้อย) จากนั้นออกจากตัวเมือง และผ่านอำเภอเพ็ญเป็นอำเภอสุดท้ายของจังหวัด

ต่อมาเส้นทางได้เข้าสู่จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดสุดท้าย ผ่านอำเภอสระใคร แล้วสิ้นสุดที่อำเภอเมืองหนองคาย เมื่อใกล้ถึงเทศบาลเมืองหนองคาย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 จะแยกไปเป็นทางโททางด้านซ้าย ซึ่งเป็นถนนเลี่ยงเมืองที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ในชื่อถนนเฉลิมพระเกียรติ โดยไปสิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ในตำบลมีชัย ส่วนสายเข้าเมืองที่เป็นทางเอก ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 จะไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 หน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) ระยะทาง 7 กิโลเมตร

หลักกิโลเมตรของถนนมิตรภาพ ปัจจุบันเริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเดิมจะนับกิโลเมตรที่ 0 จากกรุงเทพมหานครตามหลักกิโลเมตรของถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพตลอดสาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร แต่ถ้าหากนับเลขหลักกิโลเมตรตามถนนพหลโยธินจากกรุงเทพมหานครขึ้นมา จะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 615 กิโลเมตร ปัจจุบันถนนมิตรภาพตลอดสาย (รวมทั้งส่วนที่ไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาวด้วย) ถูกกำหนดให้เป็นทางหลวงเอเชียสาย 12

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ทิศทาง: สระบุรี−หนองคาย
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
สระบุรี−นครราชสีมา
สระบุรี เมืองสระบุรี 0+000 ทางต่างระดับมิตรภาพ ถนนพหลโยธิน ไป ลพบุรี ถนนพหลโยธิน ไป กรุงเทพมหานคร
5+000 แยกตลิ่งชัน
(แยกโรบินสัน สระบุรี)
ถนนเลี่ยงเมืองสระบุรี ไป ลพบุรี ถนนเลี่ยงเมืองสระบุรี ไป กรุงเทพ
7+190 แยกเข้าแก่งคอย (ครั้งที่ 1) ถนนสุดบรรทัด (ทางเข้าแก่งคอย ครั้งที่ 1) ไป อ.แก่งคอย ไม่มี
แก่งคอย 10+000 ทางแยกต่างระดับแก่งคอย ไม่มี ถนนแก่งคอย-บ้านนา ไป อ.บ้านนา
13+950 แยกเข้าแก่งคอย (ครั้งที่ 2) ถนนสุดบรรทัด (ทางเข้าแก่งคอย ครั้งที่ 2) ไป อ.แก่งคอย ไม่มี
ไม่มี ทล.พ.62 (โครงการในอนาคต) ไปบรรจบ ถนนกาญจนาภิเษก, ดินแดง, พระราม 9, บางนา
มวกเหล็ก 31+100 ไม่มี ทล.พ.6 ไป อ.บางปะอิน, นครราชสีมา
34+248 ทล.2224 ไป อ.มวกเหล็ก ไม่มี
แยกมวกเหล็ก ทล.2089 ไป อ.มวกเหล็ก ไม่มี
นครราชสีมา ปากช่อง 56+015 ถนนมิตรภาพสายเก่า (ทางเข้าปากช่อง ครั้งที่ 1) ไป อ.ปากช่อง ไม่มี
58+000 ทางแยกต่างระดับปากช่อง ถนนธนะรัชต์ ไป อ.ปากช่อง ถนนธนะรัชต์ ไป อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
63+515 ทางแยกต่างระดับนิคมลำตะคอง ถนนนิคมลำตะคอง ไป อ.ปากช่อง ถนนนิคมลำตะคอง ไป อ.วังน้ำเขียว
74+890 ทางแยกต่างระดับหนองสาหร่าย ถนนมิตรภาพสายเก่า (ทางเข้าปากช่อง ครั้งที่ 2) ไป อ.ปากช่อง ไม่มี
สีคิ้ว 102+078 ทางต่างระดับสีคิ้ว ถนนสีคิ้ว-เชียงคาน ไป ชัยภูมิ ถนนสีคิ้ว-เดชอุดม ไป บุรีรัมย์
103+01 แยกสีคิ้ว ถนนสีคิ้ว-เชียงคานสายเก่า ไป อ.สีคิ้ว ไม่มี
สูงเนิน 115+09 แยกสูงเนิน ไป อ.สูงเนิน และ อ.ด่านขุนทด ไม่มี
126+962 ทางแยกต่างระดับวงแหวนนครราชสีมา ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ไป อ.ขามทะเลสอ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ไป อ.ปักธงชัย
เมืองนครราชสีมา 131+062 ทล.2068 ไป อ.ด่านขุนทด ไม่มี
142+062 ทางต่างระดับนครราชสีมา ถนนเลี่ยงเมืองนครราชสีมา ไป ขอนแก่น ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย ไป อ.กบินทร์บุรี
147+912 แยกนครราชสีมา (แยกบิ๊กซี นครราชสีมา) ถนนมิตรภาพ ไป ขอนแก่น ไม่มี
ตรงไป: ถนนราชสีมา–โชคชัย ไป นครราชสีมา
นครราชสีมา−ขอนแก่น
นครราชสีมา เมืองนครราชสีมา 155+417 ถนนสุรนารายณ์ ไป ชัยภูมิ ถนนสุรนารายณ์ ไป นครราชสีมา
159+932 ทางแยกต่างระดับจอหอ ทล.204 ไป สระบุรี ไม่มี
สะพาน ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางถนนจิระ–หนองคาย)
161 เลี่ยงเมืองนครราชสีมา ไม่มี ทางหลวงชนบท นม.1111 ไป อ.โชคชัย
โนนสูง 174+984 แยกโนนสูง ทล.2067 ไป อ.โนนสูง ไม่มี
197+012 แยกตลาดแค ไม่มี ทล.206 ไป อ.พิมาย
คง 207+733 แยกบ้านวัด ทล.2150 ไป อ.คง, อ.บ้านเหลื่อม ไม่มี
208+285 แยกบ้านวัด (เข้า อ.ประะทาย) ไม่มี ทล.207 (ถนนเจนจบทิศ) ไป อ.ประทาย
โนนแดง 222+050 แยกโนนตาเถร นม.1022 ทางหลวงชนบท นม.1022 ไป บ.หัวหนอง นม.1055 ทางหลวงชนบท นม.1055 ไป บ.โนนแดง
สีดา 232+934 แยกสีดา ทล.202 ไป อ.บัวใหญ่ ทล.202 ไป อ.ประทาย
บัวลาย 243+400 แยกหนองแวง นม.1001 ทางหลวงชนบท นม.1001 ไป อ.บัวลาย นม.1013 ทางหลวงชนบท นม.1013 ไป บ.ศิริรักษ์, อ.ประทาย
ขอนแก่น พล 257+645 ทล.2246 ไป อ.แก้งสนามนาง ไม่มี
แยกต้นตาล ถนนเมืองพล เข้าเมืองพล, เชื่อมต่อ ทล. 2065 ไป อ.แวงน้อย, ชัยภูมิ ไม่มี
263+050 แยกพล ถนนพาณิชย์เจริญ เข้าเมืองพล ทล.2440 (ถนนเจนจบทิศ) ไป อ.หนองสองห้อง
265+053 สะพาน ข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ (ชุมทางถนนจิระ–หนองคาย)
บ้านไผ่ 291+142 ไม่มี ถนนแจ้งสนิท ไป มหาสารคาม, ยโสธร
292+914 แยกบ้านไผ่ ทล.229 ถนนแจ้งสนิท,ถนนเกษตรวัฒนา ไป อ.ชนบท, ชัยภูมิ ทล.2430 ถนนแจ้งสนิท เข้าเมืองบ้านไผ่, เชื่อมต่อ ถนนจันทร์ประสิทธิ์
เมืองขอนแก่น 325+083 แยกท่าพระ ไม่มี ทล.208 ไป อ.โกสุมพิสัย, มหาสารคาม
327+650 สะพาน ข้ามแม่น้ำชี
331+709 ถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่น ไป อุดรธานี ถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่น ไป กาฬสินธุ์
334+181 แยกเหล่านาดี ทล.2131 (ถนนเหล่านาดี) ไป ชัยภูมิ ถนนเหล่านาดี เข้าเมืองขอนแก่น
336+171 แยกประตูเมือง
(แยกเซ็นทรัลพลาซา ขอนแก่น)
ขก.1062 ขก.1062 (ถนนศรีจันทร์) ไป เทศบาลตำบลบ้านเป็ด, บึงหนองโคตร ถนนศรีจันทร์ ไป กาฬสินธุ์
337+581 แยกสามเหลี่ยม (ทางลอด) ถนนมลิวรรณ ไป อ.ชุมแพ ถนนประชาสโมสร เข้าเมืองขอนแก่น, ศูนย์ราชการเมืองขอนแก่น
340+660 แยกถนนกัลปพฤกษ์ ถนนกัลปพฤกษ์ ไป โรงพยาบาลศรีนครินทร์,
ศูนย์ประชุมกาญจนาภิเษก
ไม่มี
342+000 แยกประตูมอดินแดง ถนนมอดินแดง ไปทางเข้ามหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่มี
345+000 แยกต่างระดับสำราญ ถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่น ไป อำเภอชุมแพ ถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่น ไป กาฬสินธุ์
ขอนแก่น−อุดรธานี
ขอนแก่น เมืองขอนแก่น 345+581 ทล.230 ไป นครราชสีมา ทล.230 ไป กาฬสินธุ์
น้ำพอง 364+765 แยกม่วงหวาน ทล.2109 ไป อ.อุบลรัตน์ อำเภอโนนสัง หนองบัวลำภู ไม่มี
370+980 แยกน้ำพองเก่า ไม่มี ทล.2039 ไป อ.น้ำพอง อำเภอกระนวน อำเภอห้วยเม็ก กาฬสินธุ์
อุดรธานี โนนสะอาด 399+800 แยกโนนสะอาด ทางหลวงชนบท อด.1065 ไป อ.หนองแสง ถนนสุขาภิบาล 2 ไป สถานีรถไฟโนนสะอาด
กุมภวาปี 410+785 แยกห้วยเกิ้ง ทล.2316 ไป หนองบัวลำภู ทล.2025 ไป อ.กุมภวาปี
419+636 แยกน้ำฆ้อง ไม่มี ทล.2023 ไป อ.กุมภวาปี
เมืองอุดรธานี 449+931 แยกบ้านจั่น ทล.216 ไป หนองบัวลำภู ทล.216 ไป หนองคาย
450+455 ตรงไป: ถนนทหาร เข้าเมืองอุดรธานี
ถนนทหาร (ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี)
อุดรธานี เมืองอุดรธานี 450+290 แยกกองบิน 23 (1) ทางเข้ากองบิน 23 ไม่มี
452+890 แยกกองบิน 23 (2) ทางเข้ากองบิน 23 ซอยศรีพินิจ ไปบรรจบถนนนิตโย
453+870 แยกจินตคาม ซอยจินตคาม ไปบรรจบถนนอำเภอ ไม่มี
454+572 วงเวียนอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ถนนศรีสุข ไป ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ถนนโภคานุสรณ์ ไป สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ 1
455+000 วงเวียนน้ำพุ ถนนโพศรี ไป โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ถนนโพศรี ไป สกลนคร, เชื่อมต่อ ถนนนิตโย
455+340 วงเวียนหอนาฬิกา ถนนประจักษ์ศิลปาคม ไป ทุ่งศรีเมือง ถนนประจักษ์ศิลปาคม ไป สถานีรถไฟอุดรธานี
455+784 แยกสี่ศรัทธา ถนนสี่ศรัทธา ไปบรรจบถนนโพศรี ไม่มี
456+054 แยกชลประทาน ถนนวัฒนานุวงศ์ ไป ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ถนนวัฒนานุวงศ์ ไป สถานีรถไฟอุดรธานี
456+363 แยกตลาดบ้านห้วย ไม่มี ถนนโพนพิสัย ไป สวนสาธารณะหนองสิม
456+879 แยกเบญจางค์ ถนนเบญจางค์ ไป ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี ไม่มี
457+185 ซอยอุดรดุษฎี 5 ไปบรรจบถนนพิบูลย์ ซอยอุดรดุษฎี 6 ไปบรรจบถนนโพนพิสัย
อุดรธานี−หนองคาย
อุดรธานี เมืองอุดรธานี 457+355 เชื่อมต่อจาก: ถนนอุดรดุษฎี จากเมืองอุดรธานี
458+359 แยกเก่าน้อย (ทางลอด) ทล.216 ไป หนองบัวลำภู ทล.216 ไป ขอนแก่น
468+341 แยกบ้านผือ ทล.2021 ไป บ้านผือ โครงการถนนเลี่ยงเมืองรอบที่ 2
471+400 แยกนาข่า ไม่มี ทล.2255 ไป อ.บ้านดุง
เพ็ญ 484+245 ไม่มี ทล.2022 ไป อ.เพ็ญ
หนองคาย เมืองหนองคาย 496+519 แยกหนองสองห้อง ทล.211 ไป อ.ท่าบ่อ ไม่มี
501+006 แยกการเคหะแห่งขาดิ ถนนมิตรภาพ ไป สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 ถนนเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก ไป บึงกาฬ
ตรงไป: ทล.233 ไป หนองคาย
508+448 แยกด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไม่มี ทล.243 ไป หนองคาย
509+113 สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) ข้ามแม่น้ำโขง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม[แก้]

ถนนมิตรภาพ แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 22 ตอน ได้แก่

หมายเหตุ: ช่วงเขตการควบคุมของแขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 1 ช่วงที่ 17 และ 18 ตอนที่ 0502 ตอน ขอนแก่น - หินลาด จะใช้เลขตอนที่ 0502 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง เนื่องจากระยะทางของถนนมิตรภาพช่วงนั้นเป็นระยะทางยาว และอยู่ในเทศบาลนครขอนแก่น และไม่รวมเส้นทางสายเก่า, ถนนสุดบรรทัด, ถนนเจนจบทิศ, ทางหลวงเอเชีย, และทางเลี่ยงเมือง

ถนนมิตรภาพ, ถนนทหาร (ทน.อุดรธานี) , ถนนอุดรดุษฎี (ทน.อุดรธานี)
ช่วงที่ ตอน ชื่อตอน หลัก กม. ระยะทาง (กม.) หมวดทางหลวง แขวงทางหลวง จังหวัด
1 0101 สระบุรี - ตาลเดี่ยว 0+000 - 8+100 8.100 หมวดทางหลวงสระบุรี สระบุรี สระบุรี
2 0102 ตาลเดี่ยว - ซับบอน 8+100 - 24+700 16.600 หมวดทางหลวงแก่งคอย
3 0103 ซับบอน - มวกเหล็ก 24+700 - 35+772 11.072 หมวดทางหลวงมวกเหล็ก
4 0201 มวกเหล็ก - บ่อทอง 35+772 - 72+015 36.243 หมวดทางหลวงกลางดง นครราชสีมาที่ 2 นครราชสีมา
5 0202 บ่อทอง - มอจะบก 72+015 - 100+962 28.947 หมวดทางหลวงปากช่องที่ 1
6 0203 มอจะบก - ไร่โคกสูง 100+962 - 110+362 9.400 หมวดทางหลวงสีคิ้ว
7 0204 ไร่โคกสูง - โคกกรวด 110+362 - 129+962 19+600 หมวดทางหลวงสูงเนิน
8 0205 โคกกรวด - นครราชสีมา 129+962 - 148+565 18.603 หมวดทางหลวงนครราชสีมาที่ 2
9 0301 นครราชสีมา - ดอนหวาย 148+565 - 174+412 25.847 หมวดทางหลวงนครราชสีมาที่ 1 นครราชสีมาที่ 1
10 0302 ดอนหวาย - บ้านวัด 174+412 - 207+412 33.000 หมวดทางหลวงโนนสูง
11 0303 บ้านวัด - ตาลาด 207+412 - 223+912 16.500 หมวดทางหลวงโนนแดง
12 0304 ตาลาด - หนองแวงโสกพระ 223+912 - 251+299 27.387 หมวดทางหลวงสีดา
13 0401 หนองแวงโสกพระ - พล 251+299 - 267+000 15.701 หมวดทางหลวงพล ขอนแก่นที่ 3 (บ้านไผ่) ขอนแก่น
14 0402 พล - บ้านไผ่ 267+000 - 295+500 28.500
15 0403 บ้านไผ่ - ท่าพระ 295+500 - 327+771 32.271 หมวดทางหลวงบ้านแฮด
16 0501 ท่าพระ - ขอนแก่น 327+771 - 334+181 6.410 หมวดทางหลวงพระลับ ขอนแก่นที่ 1
17 0502 ขอนแก่น - หินลาด 336+786 - 338+261 1.475 หมวดทางหลวงศิลา
18 342+460 - 360+828 18.368
19 0503 หินลาด - โนนสะอาด 360+828 - 398+534 37.706 หมวดทางหลวงน้ำพอง
20 0601 โนนสะอาด - อุดรธานี 398+534 - 450+455 51.921 หมวดทางหลวงชัยพร อุดรธานีที่ 1 อุดรธานี
เข้าเขตเทศบาลนครอุดรธานี (ถนนทหาร)
ออกเขตเขตเทศบาลนครอุดรธานี (ถนนอุดรดุษฎี)
21 0602 อุดรธานี - น้ำสวย 457+355 - 486+306 28.951 หมวดทางหลวงเก่าน้อย อุดรธานีที่ 1 อุดรธานี
22 0700 น้ำสวย - กลางสะพานมิตรภาพที่หนองคาย(เขตแดนไทย/ลาว) 486+306 - 509+113 22.807 หมวดทางหลวงหนองคาย หนองคาย หนองคาย
รวม 22 ตอนควบคุม รวมระยะทาง 495.409 กม.

ทางหลวงที่เกี่ยวข้อง[แก้]

ถนนสุดบรรทัด (ในเทศบาลเมืองสระบุรี)[แก้]

สบ.ถ 3-0000
ถนนสุดบรรทัด
ที่ตั้งต.ปากเพรียว อ.เมืองสระบุรี จ.สระบุรี
ความยาว2 กิโลเมตร (1 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อสร้าง พ.ศ. 2493 – ปัจจุบัน

ในเทศบาลเมืองสระบุรี มีถนนสายหนึ่งคือ ถนนสุดบรรทัด เป็นถนนเส้นตรงตลอดทั้งสาย เริ่มจากบริเวณถนนพหลโยธิน เชิงหอนาฬิกาเมืองสระบุรี ในเทศบาลเมืองสระบุรี ขนานไปกับถนนมิตรภาพ ด้านทางทิศเหนือ แล้วไปบรรจบกับถนนมิตรภาพ บริเวณตำบลปากเพรียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี

เดิมเป็นถนนสุดบรรทัด ซึ่งเป็นถนนมิตรภาพเก่าแก่ก่อนที่จะสร้างถึงนครราชสีมา แต่เนื่องจากถนนสายนี้ตัดเข้าใจกลางเมืองสระบุรี ทำให้กรมทางหลวงที่สร้างถนนมิตรภาพในสมัยนั้นต้องตัดโค้งไปทางทิศใต้ เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรแออัด ถือเป็นถนนเลี่ยงเมืองสระบุรีสายแรกก่อนที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 362 มีจุดเริ่มต้นจากบริเวณทางแยกต่างระดับมิตรภาพ ของถนนพหลโยธิน แล้วอ้อมขนานไปกับถนนสุดบรรทัดเดิมทางทิศใต้ แล้วไปบรรจบกับถนนสุดบรรทัดสายเดิม ถ้าเป็นโค้งไปทางขวามือก็จะเป็นแนวถนนสุดบรรทัดซึ่งเป็นถนนมิตรภาพสายปัจจุบัน ต่อมาเมื่อสร้างถนนมิตรภาพเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อปี พ.ศ. 2501 แล้วนั้น ทำให้ถนนสายดังกล่าวกลายมาเป็นถนนมิตรภาพสายปัจจุบันนั่นเอง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3188[แก้]

ถนนสุดบรรทัด
ที่ตั้งอ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ความยาว7.397 กิโลเมตร (4.596 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อสร้าง พ.ศ. 2493 – ปัจจุบัน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3188 สายท่าเยี่ยม - บ้านเหนือ เป็นถนนที่แยกออกมาจากถนนมิตรภาพ เข้าไปยังตัวอำเภอแก่งคอย เป็นแนวเส้นทางของถนนสุดบรรทัดสายเดิม เริ่มต้นบริเวณถนนมิตรภาพหลักกิโลเมตรที่ 7+190 เข้าไปยังอำเภอแก่งคอย และมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3224 (บ้านป่า - แสลงพัน) แยกออกไปทางซ้าย ก่อนที่จะกลับมาบรรจบที่ถนนมิตรภาพหลักกิโลเมตรที่ 13+950 ระยะทางรวม 9.810 กิโลเมตร (เป็นของกรมทางหลวง 7.397 กิโลเมตร)

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2422[แก้]

ถนนมิตรภาพสายเก่า
ที่ตั้งอ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
ความยาว19.447 กิโลเมตร (12.084 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อสร้าง พ.ศ. 2498 – ปัจจุบัน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2422 สายทางเข้าปากช่อง เป็นถนนมิตรภาพสายเก่าที่แยกออกมาจากสายใหม่ที่หลักกิโลเมตรที่ 56+015 เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเข้าไปในพื้นที่เทศบาลเมืองปากช่อง ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2090 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2243 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2235 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2247 จากนั้นแนวเส้นทางจะออกจากเขตเทศบาลเมืองปากช่อง แล้วโค้งไปทางขวาเพื่อกลับเข้าสู่ถนนมิตรภาพสายใหม่ ที่ทางแยกต่างระดับหนองสาหร่าย หลักกิโลเมตรที่ 74+890 มีระยะทางรวม 19.447 กิโลเมตร เป็นของกรมทางหลวง 10.847 กิโลเมตร

แต่เดิมถนนสุดบรรทัดมิได้มีการเลี้ยวโค้งเพื่อกลับเข้าสู่ถนนมิตรภาพสายใหม่บริเวณชุมชนท่างอย แต่จะตัดตรงไปในเส้นทางราบ และเลียบเขายายเที่ยง ในปัจจุบัน ถนนบางส่วนจมอยู่ใต้อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง จากนั้นเส้นทางจะทับซ้อนกับถนนสายใหม่ใกล้กับเรือนจำกลางคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว ซึ่งแต่เดิมก่อนที่จะมีถนนมิตรภาพสายใหม่จากบ้านหนองคูไปจนถึงบ้านน้อยหน่านั้น แนวถนนมิตรภาพสายเก่าจะโค้งออกจากถนนสายใหม่แล้วอ้อมถนนสายเก่าที่จมเขื่อนลำตะคองบริเวณเขายายเที่ยงแล้วไปสิ้นสุดที่บริเวณใกล้กับเรือนจำกลางคลองไผ่ ต่อมาเมื่อมีการขยายเส้นทางในยุคพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นั้น ทำให้เส้นทางสายใหม่นั้นอ้อมเมืองปากช่องทางทิศใต้ แล้วไปบรรจบกับถนนมิตรภาพสายเก่าที่โค้งเดิมบริเวณบ้านหนองคู จึงทำให้ถนนมิตรภาพสายปัจจุบันกลายมาเป็นถนนเลี่ยงเมืองปากช่อง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 (ช่วงหินดาด–นครราชสีมา)[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2440[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2440 สายบ้านใหม่ไชยพจน์ - พล หรือ ถนนเจนจบทิศ เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 2 ช่องจราจร เป็นแนวถนนมิตรภาพสายเก่าก่อนที่จะมีการตัดถนนมิตรภาพสายปัจจุบัน แต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 เริ่มต้นที่สามแยกกิโลเมตรที่ 0 อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 ผ่านอำเภอหนองสองห้อง และสิ้นสุดที่ถนนมิตรภาพ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ถนนเจนจบทิศ (เข้าเมืองบ้านไผ่)[แก้]

ถนนเจนจบทิศ
ที่ตั้งอ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น
ความยาว13 กิโลเมตร (8 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อสร้าง พ.ศ. 2508 – ???

ถนนเจนจบทิศ ซึ่งเดิมมีชื่ออยู่ในระบบทางหลวงของกรมทางหลวงว่า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2228 สายบ้านไผ่–บรรจบทางหลวงหมายเลข 2 (ทางรถไฟ) เป็นถนนขนาด 2–4 ช่องจราจร เริ่มต้นจากบริเวณแยกถนนมิตรภาพ (ถนนเจนจบทิศ) สายปัจจุบัน ในบ้านพานหนองแวงโอง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น แล้วข้ามทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตรงหน้าโรงเรียนบ้านพานหนองแวงโอง จากนั้นเข้าตัวเมืองบ้านไผ่ ไปบรรจบกับถนนแจ้งสนิทสายเก่า หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2430 ตรงวงเวียนหอนาฬิกาบ้านไผ่

เดิมถนนเจนจบทิศสายนี้เป็นถนนสายหลักก่อนที่จะสร้างถนนมิตรภาพ แต่เนื่องจากถนนสายนี้มีสภาพคดเคิ้ยวไปเข้าตัวเมืองบ้านไผ่ บรรจบกับถนนแจ้งสนิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 และ 2430 ในปัจจุบัน) แล้วเส้นทางจะซ้อนทับถนนแจ้งสนิทสายดังกล่าวแล้วไปบรรจบกับถนนเจนจบทิศสายปัจจุบัน บริเวณสี่แยกบ้านไผ่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 หลังจากสร้างถนนมิตรภาพต่อจากนครราชสีมาไปจนถึงบ้านไผ่ และ หนองคายแล้วเสร็จ (ถนนมิตรภาพสายปัจจุบันจะเลี่ยงตัวเมืองบ้านไผ่ไปทางทิศตะวันตก) กรมทางหลวงจึงได้กำหนดให้ถนนเจนจบทิศสายดังกล่าวเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2228 แต่ต่อมากรมทางหลวงก็ได้ยุบถนนสายดังกล่าวแล้วโอนให้เทศบาลเมืองบ้านไผ่ดูแลมาจนถึงปัจจุบัน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2424[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2424 สายกุดกว้าง - เมืองเก่า เป็นทางหลวงที่แยกออกมาจากถนนมิตรภาพ แต่เดิมเป็นถนนสายหลักในการเข้าออกเมืองขอนแก่น ในเวลาต่อมามีการสร้างถนนสายใหม่เพื่อตัดเลี่ยงใจกลางเมืองออกมาทางทิศตะวันตก เป็นถนนมิตรภาพสายปัจจุบัน โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2424 สามารถเชื่อมต่อกับถนนกลางเมืองภายในเขตเทศบาลนครขอนแก่นได้

ถนนเจนจบทิศ (ทางเข้าบ้านท่าพระจันทร์)[แก้]

ถนนเจนจบทิศ สายแยกทางหลวงหมายเลข 2 (ท่าพระ)–ท่าพระจันทร์ หรือ ทางเข้าบ้านท่าพระจันทร์ เป็นถนนสายหลักของจังหวัดขอนแก่นในอดีต เริ่มจากบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 326+270 ของถนนมิตรภาพ แล้วเข้าบ้านท่าพระจันทร์ จากนั้นก็เลี้ยวขวา ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำชี แล้วไปสิ้นสุดที่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 329+350 ของถนนมิตรภาพสายปัจจุบัน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233[แก้]

ถนนมิตรภาพสายเก่า
ที่ตั้งอ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ความยาว7.306 กิโลเมตร (4.540 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อสร้าง พ.ศ. 2500 – ปัจจุบัน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 สายการเคหะแห่งชาติ–หนองคาย หรือ ถนนเข้าเมืองหนองคาย, ถนนมิตรภาพสายเก่า เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 6 ช่องจราจร ไปกลับช่องละ 3 ช่องจราจร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ต่อมาได้กำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 เส้นทางเริ่มต้นบนทางแยกบริเวณกิโลเมตรที่ 501 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ในอำเภอเมืองหนองคาย โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 จะแยกเป็นทางโทไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ส่วนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 เป็นทางเอกมุ่งไปทางทิศเหนือ ไปสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 243 และถนนเจนจบทิศ ที่สี่แยกหนองคาย ในเมืองหนองคาย

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 ทิศทาง: การเคหะแห่งชาติ–หนองคาย
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
การเคหะแห่งชาติ–หนองคาย
หนองคาย เมืองหนองคาย 0.000 แยกการเคหะแห่งชาติ เชื่อมต่อจาก: ถนนมิตรภาพ จาก จังหวัดอุดรธานี
ถนนมิตรภาพ ไป สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) ทล.247 (ถนนเลี่ยงเมืองหนองคายด้านตะวันออก) ไป บึงกาฬ
5.120 ไม่มี นค.3045 ทางหลวงชนบท นค.3045 ไป อำเภอโพนพิสัย, จังหวัดบึงกาฬ
5.800 แยกหลักเมือง ถนนหลักเมือง ไป ศูนย์ราชการจังหวัดหนองคาย ไม่มี
7.000 แยกหนองคาย ทล.243 ไป สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) ทล.212 ไป อำเภอโพนพิสัย, จังหวัดบึงกาฬ
ตรงไป: นค.ถ 3-0009 ถนนเจนจบทิศ เข้าเมืองหนองคาย
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

เขตการควบคุม[แก้]

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 สายการเคหะแห่งชาติ–หนองคาย (ถนนเข้าเมืองหนองคาย, ถนนมิตรภาพสายเก่า)
ช่วงที่ ตอน ชื่อตอน หลัก กม. ระยะทาง หมวดทางหลวง แขวงทางหลวง จังหวัด
1 0101 การเคหะแห่งชาติ - หนองคาย 0+000 - 7+310 7.310 หมวดทางหลวงหนองคาย หนองคาย หนองคาย
รวม 1 ตอนควบคุม รวมระยะทาง 7.310 กม.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 243[แก้]

ถนนเจนจบทิศ (เข้าเมืองหนองคาย)[แก้]

นค.ถ 3-0009
ถนนเจนจบทิศ; ถนนมิตรภาพสายเก่า
ที่ตั้งอ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ความยาว0.280 กิโลเมตร (0.174 ไมล์)
มีขึ้นเมื่อสร้าง พ.ศ. 2508 – ปัจจุบัน

ทางหลวงท้องถิ่น นค.ถ 3+0009 หรือ ถนนเจนจบทิศ เป็นถนนของเทศบาลเมืองหนองคาย เริ่มจากบริเวณสี่แยกหนองคาย ใน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ไปสิ้นสุดที่วงเวียนน้ำพุพญานาค หน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) รวมระยะทางทั้งสิ้น 280 ม. เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2

ก่อนที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 (ถนนมิตรภาพสายเก่า) จะสิ้นสุดที่แยกหนองคายนั้น เดิมทีถนนมิตรภาพหรือถนนเจนจบทิศสายเก่านั้นจะใช้ทางหลวงเส้นนี้ไปจนถึงหน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) ต่อมาเมื่อมีการสร้างถนนมิตรภาพอีกสายหนึ่งไปทางด้านตะวันตก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) (ปัจจุบันคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 243) นั้น กรมทางหลวงจึงได้ลดระยะทางลงเพื่อให้ถนนมิตรภาพสายเก่านั้นไปสิ้นสุดที่บริเวณสี่แยกหนองคายจนถึงปัจจุบัน ส่วนถนนมิตรภาพสายเก่าช่วงสี่แยกหนองคาย–วงเวียนน้ำพุพญานาคนั้น กรมทางหลวงจึงได้โอนให้กับเทศบาลเมืองหนองคายดูแลจนถึงปัจจุบัน

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]