ถนนพระราม 9

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถนนพระราม 9 ในเขตสวนหลวง

ถนนพระราม 9 (อักษรโรมัน: Thanon Rama IX) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่แยกพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงในพื้นที่เขตดินแดง มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ผ่านแยกถนนวัฒนธรรม ผ่านจุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม และตัดกับถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ในพื้นที่เขตสวนหลวง โดยจะยกระดับขึ้นมาบรรจบกับทางพิเศษศรีรัช และมีถนนที่ตรงต่อเนื่องไปคือทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 หรือมอเตอร์เวย์ ซึ่งถนนพระราม 9 ช่วงตั้งแต่ทางแยกรามคำแหงถึงทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ มีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 เดิมอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร

เหตุที่ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า "ที่" ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2539 ว่า ไม่มีพระราชประสงค์ให้มีคำ "ที่" ต่อท้ายคำ "พระราม" ซึ่งควรถือว่าเป็นพระราชนิยมของพระองค์[1]

ถนนพระราม 9 ถือเป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมสำหรับการเที่ยวกลางคืนในกรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกับถนนรัชดาภิเษกที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสต์ทศวรรษ 1990 (ก่อนวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540) ที่ไนท์คลับหลายแห่งเปิดดำเนินการบนถนนสายนี้ คนไทยรู้จักกันในนาม "คาเฟ่"[2][3]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ถนนพระราม 9 ทิศทาง: พระราม 9 - ศรีนครินทร์
จังหวัด กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
ถนนพระราม 9 (พระราม 9 - ศรีนครินทร์)
กรุงเทพมหานคร แยกพระราม 9 เชื่อมต่อจาก: Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนอโศก-ดินแดง จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนรัชดาภิเษก ไปห้วยขวาง, สุทธิสาร Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนอโศก-ดินแดง ไปถนนเพชรบุรี, คลองเตย
แยก อ.ส.ม.ท. Seal of Bangkok Metro Authority.png ซอยพระราม 9 ซอย 7 ไป อ.ส.ม.ท. Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนเพชรอุทัย ไปถนนเพชรบุรี, ทางพิเศษศรีรัช
แยกผังเมือง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนวัฒนธรรม ไป เทียมร่วมมิตร, ห้วยขวาง ไม่มี
ไม่มี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนจตุรทิศ ไปทางพิเศษศรีรัช, ถนนศรีอยุธยา
แยกวัดพระราม 9 (พระราม 9 - ประดิษฐ์มนูธรรม) Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปแยกประชาอุทิศ (เหม่งจ๋าย), รามอินทรา Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนประดิษฐ์มนูธรรม ไปเอกมัย
แยกรามคำแหง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนรามคำแหง ไปมหาวิทยาลัยรามคำแหง Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนรามคำแหง ไปคลองตัน
Seal of Bangkok Metro Authority.png ซอยพระราม 9 ซอย 39/1 ไปราชมังคลากีฬาสถาน, ซอยรามคำแหง 24 Seal of Bangkok Metro Authority.png ซอยพัฒนาการ 25 ไปถนนพัฒนาการ
ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ เชื่อมต่อจาก: Thailand road sign Expressway.svg ทางพิเศษศรีรัช (ช่องทางหลัก) จากดินแดง, ดาวคะนอง, แจ้งวัฒนะ
Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนศรีนครินทร์ ไปลำสาลี Seal of Bangkok Metro Authority.png ถนนศรีนครินทร์ ไปพัฒนาการ, อ่อนนุช, สมุทรปราการ
ตรงไป: Thai Motorway-t7.svg ทล.พ.7 ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ชลบุรี
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ[แก้]

  1. กรมโยธาธิการและผังเมือง (สำนักงานพระราม 9)
  2. บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (รวมไปถึงสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี)
  3. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่
  4. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  5. วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก
  6. โรงพยาบาลพระรามเก้า
  7. โรงพยาบาลปิยะเวท

อ้างอิง[แก้]

  1. บุญแต่ง, นฤมล. "ถนน สะพาน และเขื่อน ที่มีคำ "พระราม"". องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-31. สืบค้นเมื่อ 2018-05-01.
  2. "40 ปี "ตำนานคาเฟ่" เมืองหลวง จากศูนย์รวมบันเทิงถึงยุคเสื่อม นักร้องต้องขายตัวแลกพวงมาลัย". เอเอสทีวี. 2015-06-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "รู้จักย่านพระราม 9 แบบเจาะลึก". DDproperty. 2019-05-28.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°44′46″N 100°38′06″E / 13.746130°N 100.635030°E / 13.746130; 100.635030