ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106
![]() ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลของเส้นทาง | |
ความยาว: | 167.204 กิโลเมตร (103.896 ไมล์) |
ทางแยกที่สำคัญ | |
จาก: | บ.ดอนไชย อ.เถิน จ.ลำปาง |
ถึง: | บ.อุโมงค์ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน |
ระบบทางหลวง | |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 สายดอนไชย–อุโมงค์ เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีแนวเส้นทางเริ่มจากทางแยกถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง ผ่านอำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน และตัดเข้าตัวเมืองเชียงใหม่ สิ้นสุดที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เส้นทางนี้เป็นเส้นทางลัดจากถนนพหลโยธิน ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังสถานที่สำคัญ เช่น อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติออบหลวง โดยไม่ต้องผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ และสามารถใช้เป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 108 เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้โดยไม่ต้องเริ่มจากตัวเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่เป็นที่นิยมนักเนื่องจากช่วงอำเภอเถิน ถึงอำเภอลี้ (รอยต่อระหว่างจังหวัดลำปางและจังหวัดลำพูน) เป็นทางแคบ ตัดขึ้นภูเขาสูง และคดเคี้ยวมาก จึงไม่เหมาะในการสัญจรในเวลากลางคืน โดยส่วนที่แคบและคดเคี้ยวนั้นคือส่วนที่ตัดผ่านอุทยานแห่งชาติดอยจง
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 ช่วงจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่นั้น มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์คือ มีต้นขี้เหล็กและต้นยางนาสูงใหญ่ปลูกเรียงรายตลอดสองข้างทางตั้งแต่ลำพูนจนถึงเชียงใหม่ จนเรียกกันว่าเป็น "ถนนสายต้นยาง" หรือ "ถนนต้นยาง"
ประวัติ[แก้]
ถนนช่วงเชียงใหม่-ลำพูน เป็นเส้นทางที่ผูกพันกับปิงห่าง ต้นยาง และต้นขี้เหล็ก ในอดีตแม่น้ำปิงจะไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม เมืองหริภุญชัย และวัดอรัญญิกรัมการาม (วัดดอนแก้ว) ซึ่งเป็นสี่มุมเมืองในสมัยพระนางจามเทวี เมื่อคราวที่พญามังรายยึดครองเมืองหริภุญชัย และสร้างเมืองใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหริภุญชัย ชื่อว่า เมืองชะแว ได้เกิดน้ำท่วม จึงย้ายไปสร้างเมืองแห่งใหม่ คอื เวียงกุมกาม ทำให้แม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนทางไหลผ่านเข้าในตัวเมืองหริภุญชัย และไหลผ่านหน้าวัดพระธาตุหริภุญชัยในสมัยพญามังราย
ในราว พ.ศ. 2101 สมัยท้าวแม่กุ (พระเจ้าเมกุฏิ) แม่น้ำปิงยังไหลผ่านทางทิศตะวันออกของเวียงกุมกาม และตัวเมืองหริภุญชัยอยู่ ในระหว่างปี พ.ศ. 2101–2317 อาณาจักรบริเวณนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพม่า จนถึงราวปี พ.ศ. 2317 มีบันทึกว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ยกทัพตามแม่น้ำปิง (สายปัจจุบัน) ที่ไหลผ่านทิศตะวันตกของเวียงกุมกามและเมืองหริภุญชัย ซึ่งแสดงว่าแม่น้ำปิง เกิดการเปลี่ยนร่องน้ำ ในระหว่างที่พม่าปกครองพื้นที่ดังกล่าว
แม้ว่าแม่น้ำปิงจะมีการเปลี่ยนร่องน้ำ แต่ยังปรากฏว่ามีการตั้งถิ่นฐานของราษฎรตามแนวแม่น้ำปิงสายเดิม (ปิงห่าง) ทำให้เกิดเส้นทางคมนาคมทางบกเลียบตามแนวแม่น้ำสายดังกล่าว เป็นเส้นทางสายหลักในการติดต่อค้าขายระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่ และเมืองลำพูนมาจนปัจจุบัน
ถนนสายเลียบแม่น้ำปิงห่าง หรือถนนเชียงใหม่-ลำพูน มีการสร้างถนนอย่างเป็นทางการขึ้น โดยพระยาทรงสุรเดช (อั้น บุนนาค) ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวเฉียง ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2438 เริ่มสร้างตั้งแต่เชิงสะพานนวรัฐ (หน้าโรงเรียนเชียงใหม่คริสเตียนในปัจจุบัน) เลียบตามแนวแม่น้ำปิงห่างจนถึงเมืองลำพูน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ทางราชการได้นำต้นยางนามาให้ราษฎรช่วยกันปลูก เพื่อความร่มรื่น สวยงามตลอดสองข้างทางในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ส่วนในเขตจังหวัดลำพูน ได้ปลูกต้นขี้เหล็ก รวมจำนวนต้นไม้ตลอดเส้นทางสายนี้มีจำนวนกว่าสองพันต้น ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10 ถึง 20 วา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของถนนสายนี้จนถึงปัจจุบัน
รายชื่อทางแยก[แก้]
จังหวัด | กม.ที่ | ชื่อจุดตัด | ซ้าย | ขวา | |
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
ลำปาง | 0+000 | แยกดอนไชย | ![]() |
![]() | |
0+455 | สะพาน ข้ามแม่น้ำวัง | ||||
7+700 | – | ![]() |
ไม่มี | ||
ลำพูน | 46+900 | แยกโรงพยาบาลลี้ | ![]() |
ไม่มี | |
50+000 | แยกเมืองลี้ | ไม่มี | ![]() | ||
68+495 | แยกแม่เทย | ไม่มี | ![]() | ||
73+992 | แยกแม่ตืน | ![]() |
ไม่มี | ||
113+262 | สะพาน ข้ามแม่น้ำลี้ | ||||
118+533 | แยกม่วงโตน | ![]() |
ไม่มี | ||
128+802 | แยกแม่อาว | ไม่มี | ![]() | ||
133+300 | แยกสันห้างเสือ | ทล.1031 (เดิม) ไป อ.เวียงหนองล่อง, อ.จอมทอง | ไม่มี | ||
139+675 | แยกสะปุ๋ง | ![]() |
![]() | ||
145+848 | แยกสบทา | ![]() |
ไม่มี | ||
146+135 | สะพาน ข้ามแม่น้ำกวง | ||||
149+556 | แยกท่าจักร (แยกเลี่ยงเมืองลำพูนด้านใต้) |
ถนนเลี่ยงเมืองลำพูน ไปบรรจบ ทล.11, ลำปาง | ![]() | ||
153+903 | − | ตรงไป: ลพ.ถ 2-0003 ถนนลำพูน-ป่าซาง เข้าเมืองลำพูน | |||
![]() | |||||
ลำพูน | 158+556 | − | เชื่อมต่อจาก: ลพ.ถ 2-0002 ถนนเจริญราษฎร์ จากเมืองลำพูน | ||
160+085 | – (แยกเลี่ยงเมืองลำพูนด้านเหนือ) |
ถนนเลี่ยงเมืองลำพูน ไป อ.แม่ทา | ![]() | ||
แยกป่าเห็ว | ![]() |
ไม่มี | |||
เชียงใหม่ | แยกกองทราย | ![]() |
![]() | ||
– | ![]() |
![]() | |||
แยกหนองหอย | ![]() ![]() |
![]() | |||
ตรงไป: ชม.ถ 2-0030 ถนนเชียงใหม่–ลำพูน เข้าเมืองเชียงใหม่ (แยกสะพานนวรัฐ) | |||||
สะพาน กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต |
สิ่งสืบเนื่อง[แก้]
- เพลง เชียงใหม่ 106 ของวงซีจีเอ็มโฟร์ตีเอต
อ้างอิง[แก้]
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมาย เหตุในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ, วัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดลำพูน, 2542, หน้า 275-277.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม