ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
ทางหลวงพิเศษหมายเลข 91 หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 เป็นโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายหลัก มีระยะทางยาว 245 กิโลเมตร ทางสายนี้เป็นโครงข่ายทางหลวงที่มีความสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งกับพื้นที่บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก แก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดคับคั่งบนถนนกาญจนาภิเษก และในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล[2] ถนนสายนี้ได้รับการกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และ ทางหลวงเอเชียสาย 123 โดยผ่าน 7 จังหวัดดังนี้[3]
- กรุงเทพมหานคร ผ่านพื้นที่เขตหนองจอก เขตลาดกระบัง และเขตบางขุนเทียน
- สมุทรปราการ ผ่านพื้นที่อำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี อำเภอเมืองสมุทรปราการ และอำเภอพระสมุทรเจดีย์
- สมุทรสาคร ผ่านพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสาคร และอำเภอกระทุ่มแบน
- นครปฐม ผ่านพื้นที่อำเภอสามพราน และอำเภอพุทธมณฑล
- นนทบุรี ผ่านพื้นที่อำเภอไทรน้อย
- ปทุมธานี ผ่านพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอหนองเสือ อำเภอธัญบุรี และอำเภอลำลูกกา
- พระนครศรีอยุธยา ผ่านพื้นที่อำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน และอำเภอวังน้อย
รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]
ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 แบ่งออกเป็น 3 ส่วนต่อเนื่องกัน ได้แก่
- ด้านเหนือ (สุพรรณบุรี-ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (ทล.6)) ระยะทาง 68 กิโลเมตร [4]
- ด้านตะวันออก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 - ถนนเทพรัตน) ระยะทาง 121 กิโลเมตร (เริ่มดำเนินการจากถนนรังสิต-นครนายก - ถนนเทพรัตน ระยะทาง 55 กิโลเมตร เป็นส่วนแรก) [1] [4]
- ด้านใต้ (ถนนเทพรัตน - ถนนพระรามที่ 2) ระยะทาง 78 กิโลเมตร [4]
- ด้านตะวันตก (ถนนพระรามที่ 2 - สุพรรณบุรี]) ระยะทาง 97 กิโลเมตร (เริ่มดำเนินการจากถนนพระรามที่ 2 - ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ระยะทาง 30 กิโลเมตร เป็นส่วนแรก) [1] [4]
ด้านเหนือ[แก้]
ช่วงสุพรรณบุรี - ทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (ทล.6)[แก้]
ด้านตะวันออก[แก้]
ช่วงทางหลวงพิเศษหมายเลข 6 (ทล.6) - ถนนรังสิต-นครนายก[แก้]
ช่วงถนนรังสิต-นครนายก - ถนนเทพรัตน[แก้]
เป็นช่วงที่จะดำเนินการก่อนเป็นช่วงแรก โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นที่ถนนรังสิต-นครนายก ช่วงกิโลเมตรที่ 25+850 ในพื้นที่อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี มุ่งหน้าลงไปทางทิศใต้เข้าสู่พื้นที่อำเภอลำลูกกา ตัดกับถนนลำลูกกา จากนั้นข้ามคลองหกวาสายล่าง เข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานคร ที่เขตหนองจอก ข้ามถนนมิตรไมตรี คลองแสนแสบ ถนนเลียบวารี แล้วตัดกับถนนสุวินทวงศ์ จากนั้นข้ามถนนฉลองกรุง ผ่านพื้นที่ด้านตะวันตกของเคหะฉลองกรุง แล้วข้ามคลองลำพระองค์ เข้าสู่พื้นที่เขตลาดกระบัง จากนั้นข้ามทางรถไฟสายตะวันออก คลองประเวศบุรีรมย์ ถนนหลวงแพ่ง แล้วเข้าสู่พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ที่อำเภอบางเสาธง ก่อนที่จะตัดกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ แล้วสิ้นสุดเส้นทางที่ถนนเทพรัตน รวมระยะทางทั้งหมด 55 กิโลเมตร
โดยเส้นทางในช่วงนี้จะสร้างในรูปแบบสะพานบกทั้งหมด เนื่องจากก่อสร้างบนพื้นที่ลุ่มดินเหนียว[5]
ด้านใต้[แก้]
ถนนเทพรัตน - ถนนพระรามที่ 2[แก้]
ด้านตะวันตก[แก้]
ช่วงถนนพระรามที่ 2 - นครปฐม[แก้]
เป็นช่วงที่จะดำเนินการต่อจากด้านตะวันออก โดยมีจุดเริ่มต้นจากถนนพระรามที่ 2 ช่วงกิโลเมตรที่ 22+500 ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มุ่งหน้าขึ้นไปทางทิศเหนือเข้าสู่พื้นที่อำเภอกระทุ่มแบน ตัดกับถนนพุทธสาคร แล้วเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกตัดกับถนนเพชรเกษม จากนั้นจะก่อสร้างเป็นทางยกระดับซ้อนอยู่เหนือถนนพุทธมณฑล สาย 5 แล้วเข้าสู่พื้นที่จังหวัดนครปฐม ที่อำเภอสามพราน แล้วตัดกับถนนบรมราชชนนี หลังจากนั้นจะเข้าสู่พื้นที่อำเภอพุทธมณฑล ก่อนจะข้ามทางรถไฟสายใต้ ผ่านพื้นที่ด้านข้างสนามกอล์ฟรอยัลเจมส์ แล้วสิ้นสุดเส้นทางในช่วงนี้ที่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 รวมระยะทาง 30 กิโลเมตร
นครปฐม - สุพรรณบุรี[แก้]
มีจุดเริ่มต้นต่อจากช่วงก่อนหน้านี้ที่ทางแยกต่างระดับตัดกับทางหลวงพิเศษหมายเลข 81 ในพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเข้าสู่จังหวัดนนทบุรี ที่อำเภอไทรน้อย จากนั้นจะข้ามถนนบางกรวย-ไทรน้อย บริเวณใกล้กับโรงพยาบาลไทรน้อย แล้วไปตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 346 จากนั้นเบี่ยงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 จากนั้นข้ามคลองลากค้อน เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว แล้วเข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านอำเภอลาดบัวหลวง อำเภอบางไทร ก่อนที่จะตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3111 จากนั้นข้ามแม่น้ำน้อย แล้วเข้าสู่อำเภอบางปะอิน ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 จากนั้นข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและทางรถไฟสายเหนือ ก่อนจะสิ้นสุดเส้นทางที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "เวนคืนถนนวงแหวนใหม่ เชื่อม 7 จังหวัด-ผ่าม.พฤกษา". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-06-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-03. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ ":0" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ http://www.ring3west.com/ เก็บถาวร 2018-08-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 ด้านตะวันตก
- ↑ https://www.outerring3east.com/ เก็บถาวร 2019-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 เส้นทาง MR10 วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3 , แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองและระบบราง
- ↑ รายละเอียดมอเตอร์เวย์ วงแหวนกรุงเทพ รอบที่ 3 (M91) ด้านตะวันออก ช่วง ธัญบุรี จากถนน รังสิต-นครนายก (ทล. 305) - บางพลี ถนนบางนา-ตราด (ทล. 34) , โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
- ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
- ถนนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ถนนในจังหวัดปทุมธานี
- ถนนในกรุงเทพมหานคร
- ถนนในเขตหนองจอก
- ถนนในเขตลาดกระบัง
- ถนนในจังหวัดสมุทรปราการ
- ถนนในเขตบางขุนเทียน
- ถนนในจังหวัดสมุทรสาคร
- ถนนในจังหวัดนครปฐม
- ถนนในจังหวัดนนทบุรี
- ถนนวงแหวนและถนนเลี่ยงเมือง
- ทางพิเศษในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ทางพิเศษในจังหวัดปทุมธานี
- ทางพิเศษในจังหวัดนนทบุรี
- ทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร
- ทางพิเศษในจังหวัดสมุทรปราการ