ถนนแสงชูโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323
ถนนแสงชูโต, ทางเลี่ยงเมืองบ้านโป่ง
ข้อมูลของเส้นทาง
ส่วนหนึ่งของ (ทางแยกต่างระดับหนองตะแคง-บ้านเก่า)
ความยาว287.167 กิโลเมตร (178.437 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถ.เพชรเกษม ใน อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
 
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ด่านเจดีย์สามองค์ ใน อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ถนนแสงชูโต หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 สายหนองตะแคง–เจดีย์สามองค์ บ้างก็เรียก 323 ทางเลี่ยงเมืองบ้านโป่ง เป็นทางหลวงแผ่นดินในภาคตะวันตกของประเทศไทย เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ผ่านจังหวัดราชบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เชื่อมต่อกับประเทศพม่า ที่ด่านเจดีย์สามองค์ ระยะทางรวม 287.167 กิโลเมตร (อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 276.991 กิโลเมตร) ก่อสร้างขึ้นเพื่อรองรับการคมนาคมทางบกนอกเหนือจากทางรถไฟสายธนบุรี–น้ำตก ซึ่งเป็นทางรถไฟเก่าแก่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และทางเรือผ่านแม่น้ำแคว[ต้องการอ้างอิง] เป็นเส้นทางในความผิดชอบของแขวงทางหลวงราชบุรี และ แขวงทางหลวงกาญจนบุรี

รายละเอียดของเส้นทาง[แก้]

ความยาว
  ไมล์ กิโลเมตร
จังหวัดราชบุรี 11.552 18.592
จังหวัดกาญจนบุรี 166.885 268.575
รวม 178.437 287.167

ถนนแสงชูโตเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรในช่วงแรก (ช่วงเลี่ยงเมืองบ้านโป่งมีขนาด 8 ช่องการจราจร) มีจุดเริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 67+727 (กิโลเมตรที่ 68+640 เดิม) ของถนนเพชรเกษม บริเวณทางแยกต่างระดับหนองตะแคง หรือทางแยกต่างระดับเพชร-บ้านโป่ง ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มุ่งหน้าไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านเทศบาลเมืองบ้านโป่ง แล้วเข้าสู่จังหวัดกาญจนบุรี ผ่านอำเภอท่ามะกา อำเภอท่าม่วง ผ่านเทศบาลเมืองกาญจนบุรีและข้ามแม่น้ำแควใหญ่ ในอำเภอเมืองกาญจนบุรี เมื่อพ้นวัดถ้ำเสือดาวจะลดเหลือ 2 ช่องจราจร ผ่านอำเภอไทรโยค และถนนจะขยายเป็น 4 ข่องจราจรในช่วงเทศบาลตำบลน้ำตกไทรโยคน้อย จากนั้นจะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรตลอดสาย ผ่านอำเภอทองผาภูมิ และสิ้นสุดที่ด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรี เชื่อมต่อกับเมืองพะย่าโต้นซู รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ทั้งนี้ ถนนในช่วงด่านเจดีย์สามองค์ได้รับการปรับปรุงให้เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจร

ประวัติ[แก้]

ถนนแสงชูโตในสมัยก่อนเริ่มต้นที่วงเวียนช้าง หลังสถานีรถไฟบ้านโป่ง จากนั้นตัดกับถนนทรงพลที่วงเวียนหอนาฬิกาบ้านโป่ง ทอดยาวไปจนถึงเมืองกาญจนบุรี แต่เดิมถนนทรงพลเป็นถนนที่เชื่อมเมืองนครปฐมกับบ้านโป่ง ต่อมาปรับเปลี่ยนถนนแสงชูโตให้มีแนวเส้นทางจากทางแยกหนองตะแคงผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ถึงทางแยกปิล๊อก อำเภอทองผาภูมิ โดยในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ให้ขนานนามว่า "ถนนแสงชูโต" เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงอุปกรณ์รัฐวิถี (ษระ แสง-ชูโต) อดีตนายช่างใหญ่กรมทาง เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 [1]

ก่อนหน้านี้ได้กำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินสายที่ 18 หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2509 ซึ่งมีการปรับปรุงระบบหมายเลขทางหลวง มาเป็นแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จึงได้กำหนดให้ถนนทางแยกจากเพชรเกษม-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี-ลาดหญ้า ให้ใช้หมายเลข 323 จนถึงปัจจุบัน[2]

ระหว่างเส้นทางได้แบ่งตอนควบคุมออกเป็นช่วง ๆ โดยช่วงตั้งแต่ทางแยกกระจับถึงจังหวัดกาญจนบุรี ได้วัดระยะทางนับต่อเนื่องจากถนนเพชรเกษมตั้งแต่กิโลเมตรที่ 72+180 เป็นต้นมา และสิ้นสุดบริเวณทางแยกหอนาฬิกาเมืองกาญจนบุรี คือกิโลเมตรที่ 127+090

ระหว่างทางตั้งแต่ทางแยกกระจับถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ได้เปลี่ยนแปลงแนวเส้นทางตั้งแต่ทางเข้าอำเภอท่ามะกา บริเวณกิโลเมตรที่ 96+716 เป็นถนนเลี่ยงตัวอำเภอท่ามะกาและตำบลท่าเรือ โดยบรรจบกันที่ทางแยกพระแท่นดงรัง กิโลเมตรที่ 115+476 (หรือกิโลเมตรที่ 117+463 ของทางหลวงเส้นเดิม)

นอกจากนี้ยังได้ก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองกาญจนบุรี ระยะทาง 13.154 กิโลเมตร บรรจบกับทางแยกแก่งเสี้ยน เพื่อมุ่งหน้าไปยังอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละบุรีโดยไม่ต้องเข้าตัวเมือง ซึ่งที่มีการจราจรหนาแน่น สำหรับถนนช่วงตั้งแต่ทางแยกแก่งเสี้ยน ถึงด่านเจดีย์สามองค์ มีระยะทางรวมกัน 222.317 กิโลเมตร ปัจจุบันกรมทางหลวงได้กำหนดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 367

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2556 กรมทางหลวงมีการปรับเปลี่ยนบัญชีรายชื่อสายทางและหลักกิโลเมตร ทำให้ถนนสายนี้นับกิโลเมตรต่อเนื่องกันไปตลอดจนสุดสาย และนับหลักกิโลเมตรที่ 0 ที่ทางแยกต่างระดับหนองตะแคงแทน [3][4]

รายชื่อทางแยก[แก้]

รายชื่อทางแยกบน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 ทิศทาง: หนองตะแครง–เจดีย์สามองค์
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
หนองตะแครง–เจดีย์สามองค์
ราชบุรี บ้านโป่ง 0+000 ทางต่างระดับหนองตะแคง ถนนเพชรเกษม ไป ราชบุรี ถนนเพชรเกษม ไป นครปฐม
3+300 แยกกระจับ ทล.3525 ไป ราชบุรี ไม่มี
7+600 - รบ.3123 ทางหลวงชนบท รบ.3123 ไป สถานีรถไฟบ้านโป่ง ไม่มี
7+600 สะพาน ข้ามทางรถไฟสายใต้
7+850 ทางต่างระดับโคกหม้อ ถนนบ้านดอนตูม ไป อ.บ้านโป่ง ทางหลวงท้องถิ่น ไป ต.ปากแรด
9+300 แยกโพธิ์คู่ ถนนไม่ทราบชื่อ ไป อ.บ้านโป่ง รบ.3012 ทางหลวงชนบท รบ.3012 ไป ตำบลกรับใหญ่
10+450 สะพาน ข้ามทางรถไฟสายมรณะ
11+020 แยกแสงชูโต ถนนบ้านปากแรด ไป อ.บ้านโป่ง ถนนแสงชูโต ไป กาญจนบุรี
ตรงไป: ทล.3291 ไป เขาช่องพราน
กาญจนบุรี ท่ามะกา 18+600 แยกลูกแก ไม่มี ทล.3394 ไป ต.กรับใหญ่
21+200 ไม่มี ทล.3453 ไป ต.สนามแย้
26+420 แยกท่ามะกา ถนนแสงชูโตสายเก่า ไป อ.ท่าม่วง ไม่มี
27+700 แยกบริหาร ทล.3209 ไป บ.หนองตากยา ไม่มี
31+920 แยกท่าเรือ ทล.3081 ไป ต.ท่าเรือ ทล.3081 ไป ต.พระแท่น
34+900 จุดตัดทางรถไฟสายมรณะ
ท่าม่วง 38+950 แยกหนองเสือ ไป ถนนแสงชูโตสายเก่า ไป เทศบาลตำบลวังศาลา
ท่ามะกา 44+500 แยกมิราเคิล ออฟ ไลฟ์ ถนนเทศบาล 12 ไป อ.ท่าม่วง ทล.3084 ไป อ.พนมทวน
45+622 สะพาน ข้ามคลองหนองปลวก
46+550 แยกท่าม่วง ถนนแสงชูโตสายเก่า ไป อ.ท่าม่วง ไม่มี
52+950 แยกท่าล้อ ไม่มี ถนนเลี่ยงเมืองกาญจนบุรี ไป สุพรรณบุรี
เมืองกาญจนบุรี 55+450 วงเวียนศาลากลางจังหวัด ทล.3209 ไป อ.ด่านมะขามเตี้ย ไม่มี
58+350 หอนาฬิกากาญจนบุรี ไม่มี ทล.324 ไป สุพรรณบุรี
61+950 จุดตัดทางรถไฟสายมรณะ
64+500 แยกแก่งเสี้ยน ถนนแสงชูโต ไป อ.ไทรโยค, อ.ทองผาภูมิ, อ.สังขละบุรี ถนนเลี่ยงเมืองกาญจนบุรี ไป สุพรรณบุรี
ตรงไป: ทล.3199 ไป อ.บ่อพลอย, อ.ศรีสวัสดิ์
66+500 ทล.3305 ไป บ.เขาปูน ไม่มี
77+900 ทล.3229 ไป ต.บ้านเก่า ทล.3500 ไป ต.ลาดหญ้า
ไทรโยค 104+800 ทล.3343 ไป อ.ไทรโยค ไม่มี
112+200 แยกทับศิลา ไม่มี ทล.3457 ไป ต.ช่องสะเดา
ทองผาภูมิ 199+826 แยกทองผาภูมิ ไม่มี ถนนแสงชูโต ไป อ.สังขละบุรี
ตรงไป: ทล.3272 ไป อ.ทองผาภูมิ
สังขละบุรี 268+500 แยกซองกาเรีย ไม่มี ถนนแสงชูโต ไป ด่านเจดีย์สามองค์
ตรงไป: ทล.3549 ไป อ.สังขละบุรี
287+167 ด่านเจดีย์สามองค์ ตรงไป: ไป เมาะลำเลิง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งชื่อทางหลวงแผ่นดินและสะพานขนาดใหญ่
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระบบหมายเลขทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงจังหวัดแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2509
  3. ป้ายทางหลวง หลักกิโลเมตร มีการเปลี่ยนแปลงเลขทางหลวงเลขหลักกิโลเมตร ไม่ตรงกับแผนที่ ไม่ตรงกับของเดิม
  4. "ระบบสารสนเทศโครงข่ายทางหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.